Explainer

ผู้คนในออสเตรเลียควรกังวลหรือไม่กับไวรัสตัวใหม่ที่พบในจีน

นักวิทย์ฯ ติดตามไวรัสตัวใหม่ ‘โนเวล แลงยา (Novel Langya)’ หลังพบแพร่กระจายสู่มนุษย์แล้ว 35 รายในจีน นี่คือสิ่งที่เรารู้ล่าสุด

Person wearing gloves holding a small pot of liquid, with a hospital corridor in the background.

Scientists have been tracking the new virus since it was first detected in 2018. Source: SBS

เกิดการอุบัติใหม่ไวรัสในประเทศจีนที่มีชื่อว่า 'แลงยา เฮนิปาไวรัส (Langya henipavirus หรือ LayV)' ซึ่งมีการติดเชื้อในมนุษย์เกิดขึ้นแล้วอย่างน้อย 35 รายจนถึงขณะนี้ โดยเชื่อว่าน่าจะมีต้นกำเนิดจากสัตว์ซึ่งคาดว่าจ่าจะเป็นหนูผี ขณะที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าชาวออสเตรเลีย ‘ไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนก’ ต่อไวรัสดังกล่าว

ศาสตราจารย์เอเดรียน เอสเทอร์แมน (Adrian Esterman) ประธานภาควิชาชีวสถิติและระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย กล่าวว่า แม้การจับตาไวรัสดังกล่าวจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่ปัจจุบันยังคงไม่มีสาเหตุที่สร้างความกังวลขึ้นในออสเตรเลีย

“ผมไม่คิดว่ามีความจำเป็นใด ๆ ที่จะตื่นตระหนกหรือวิตกกังวลในเวลา ณ จุดนี้” ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมนกล่าว

“ผู้ป่วยทั้งหมดในจีนทำงานกับสัตว์ ส่วนมากเป็นเกษตรกร และยังคงไม่มีการรายงานการแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คน ... ดังนั้น ผมคิดว่าเราเพียงจับตาดูและไม่กังวลมากจนเกินไปสำหรับสิ่งนี้”

เรารู้อะไรเกี่ยวกับ LayV

ศาสตราจารย์เอดดี โฮล์มส์ (Eddie Holmes) จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ กล่าวว่า LayV เป็นญาติของไวรัสเฮนดรา (Hendra virus) ซึ่งในออสเตรเลียพบได้ทั่วไปจากค้างคาวและม้า

“มันไม่ใช่ไวรัสที่ใหม่นัก มันได้รับการอธิบายครั้งแรกเมื่อปี 2018” ศาสตราจารย์โฮล์มส์กล่าวเสริม

“ไม่เคยมีผู้เสียชีวิต ไม่เคยมีผู้ที่ป่วยอาการสาหัส และที่สำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใดก็คือไม่มีการแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คน ดังนั้นจึงไม่มีอะไรต้องกังวลในเวลานี้ แต่ก็ยังเป็นบางสิ่งที่เรายังต้องจับตา”

จากรายงานของ ไวรัสดังกล่าวถูกตรวจพบระหว่างการตรวจผู้ป่วยซึ่งมีประวัติล่าสุดในการสัมผัสกับสัตว์ในพื้นที่ทางตะวันออกของจีน ซึ่งในช่วงแรกพบจากวิธีเก็บตัวอย่างด้วยการกวาดไม้พันสำลีที่ผนังช่องคอ ซึ่งต่อมามีผู้ป่วย 35 รายที่ได้รับการระบุว่ามีการติดเชื้อเฉียบพลันในมณฑลชานตง และมณฑลเหอหนาน ทางตะวันออกของจีน

โดยผู้ป่วยดังกล่าวได้แสดงอาการต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงมีไข้ อ่อนเพลีย ไอ คลื่นไส้ และปวดศีรษะ ขณะที่รายงานดังกล่าวระบุอีกว่า ไม่พบประวัติการสัมผัสใกล้ชิดหรือการสัมผัสร่วมในบรรดาผู้ป่วย

ในบรรดาสัตว์ป่าขนาดเล็กจำนวน 25 สปีชีส์ที่ได้รับการสำรวจ มีการตรวจพบกรดไรโบนิวคลีอิก (RNA) ของไวรัส LayV ในหนูผีเป็นส่วนมาก
ภาพหนูผี
จากสัตว์ 25 สปีชีส์ที่นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการสำรวจ พบว่า RNA ของไวรัส LayB นั้นอยู่ในหนูผีเป็นส่วนมาก Source: AAP / Mary Evans/Ardea/Duncan Usher

ออสเตรเลียควรที่จะกังวลหรือไม่

ทั้งศาสตราจารย์เอสเทอร์แมน และศาสตราจารย์โฮล์มส์ กล่าวว่า ไม่มีเหตุผลใดสำหรับออสเตรเลียที่จะต้องกังวลกับไวรัส LaV

ศาสตราจารย์โฮล์มส์ กล่าวว่า สิ่งที่ดีที่สุดในตอนนี้คือเพียงแค่ “จับตามอง

“สัญญาณอันตรายคือการแพร่เชื้อจากคนสู่คน ถ้าสิ่งนั้นเกิดขึ้น ผมก็คิดว่ามันจะมีความกังวลมากขึ้นในระดับโลก องค์การอนามัยโลกจะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง และรัฐบาลจะตอบสนอง แต่ในตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานใด ๆ ว่ามันจะเป็นเช่นนั้น” ศาสตราจารย์โฮล์มส์กล่าว

“ดังนั้น สิ่งสำคัญก็คือการที่ทางการจีนจับตาอย่างต่อเนื่อง เฝ้าระวัง และแจ้งกับเราว่าเกิดอะไรขึ้น นั่นเป็นเรื่องสำคัญมาก ผมคิดว่าเรายังอยู่ในจุดที่ดีตราบใดที่เรายังคงเฝ้าระวัง”

ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมน เห็นพ้องในประเด็นนี้

“ในตอนนี้เราตระหนักถึงเรื่องไวรัสมากขึ้นจากโควิด-19” ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมนกล่าว

“ประเด็นก็คือ..มีไวรัสมากกว่า 200 ชนิดที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ และเรากำลังพบไวรัสตัวใหม่ 3-4 ชนิดต่อปี จีงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะมีไวรัสตัวใหม่ที่ถูกค้นพบ”

LayV เหมือนกับ COVID-19 หรือไม่

นอกจากจะเป็นไวรัสคนละสายพันธุ์แล้ว ศาสตราจารย์โฮล์มส์ กล่าวว่า ไวรัส LayV นั้นต่างจากโควิด-19 ในเรื่องของการแพร่กระจายเชื้อ

“โควิด-19 นั้นน่าทึ่งมาก เพราะสิ่งแรกที่เราได้ยินเกี่ยวกับมันก็คือการแพร่กระจายในหมู่ผู้คนได้อย่างง่ายดาย” ศาสตราจารย์โฮล์มส์กล่าว

“ในกรณีของไวรัสตัวนี้ ไม่มีหลักฐานเลยว่ามันสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ ... ในแต่ละกรณีของผู้ป่วยในจีนทั้ง 35 รายน่าจะได้รับเชื้อมาจากสัตว์โดยตรง ซึ่งต่างจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เราพบเห็นอย่างมาก”



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 16 August 2022 4:55pm
Updated 16 August 2022 5:14pm
By Jessica Bahr
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand