Explainer

ฝีดาษลิง: ใครมีสิทธิ์รับวัคซีน และการรณรงค์ที่มุ่งเป้ากลุ่มเสี่ยงสูง

รัฐและมณฑลต่าง ๆ ในออสเตรเลีย กำลังทำให้มีวัคซีนฝีดาษลิงเพื่อฉีดให้ผู้ที่ได้รับการระบุว่า ‘มีความเสี่ยงสูง’

ชายคนหนึ่งนั่งบนเก้าอี้หลังฉากกั้นขณะกำลังได้รับการฉีดวัคซีน

โรคฝีดาษลิงได้รับการประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขแล้วในสหรัฐฯ Source: AAP / CAROLINE BREHMAN/EPA

ออสเตรเลียได้เริ่มเปิดตัววัคซีนฝีดาษลิงในออสเตรเลียแล้ว โดยได้ให้ความสำคัญในกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อมากที่สุด

รัฐบาลสหพันธรัฐได้จองสิทธิ์เข้าถึงวัคซีนฝีดาษ “จินนีออส (Jynneos)” เกือบครึ่งล้านโดส โดยวัคซีนชุดแรก 22,000 โดสจะมีให้ฉีดได้ที่คลินิกสุขภาพทางเพศส่วนใหญ่ในทุกรัฐและมณฑล

วัคซีนฝีดาษลิงจะใช้งานอย่างไร

วัคซีนนี้สามารถใช้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสฝีดาษลิง หรือใช้เป็นการรักษาหลังสัมผัสความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ เพื่อให้ผู้ที่อาจสัมผัสไวรัสได้รับการปกป้องบางส่วน

แนวทางที่กำหนดว่าใครจะมีสิทธิ์ได้รับวัคซีนซึ่งมีจำนวนจำกัด ได้รับการจัดทำโดยกลุ่มที่ปรึกษาด้านเทคนิคเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคแห่งออสเตรเลีย (ATAGI) ซึ่งระบุว่า ประชาชนในกลุ่มเหล่านี้จะได้รับการจัดลำดับความสำคัญในการเข้าถึงวัคซีนเป็นอันดับแรก
  • คู่ครองมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้ง
  • ผู้ที่อยู่กับบุคคลที่รับการยืนยันว่ามีไวรัส หรือเคยสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ
เนื่องด้วยร้อยละ 98 ของผู้ที่ได้รับการบันทึกว่าได้รับเชื้อไวรัสในการระบาดครั้งล่าสุดของออสเตรเลียคือเกย์และไบเซ็กชวล จึงมีความเข้าใจว่าประชาชนในกลุ่มดังกล่าวจะมีความเสี่ยงสูงกว่าในการสัมผัสกับเชื้อฝีดาษลิง และจะได้รับการจัดอันดับความสำคัญให้เข้าถึงวัคซีนเป็นอันดับแรก

มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในออสเตรเลียกี่รายแล้ว

แม้หน่วยงานสาธารณสุขจะยังไม่มีรายละเอียดว่าวัคซีนดังกล่าวจะได้รับการแจกจ่ายไปยังรัฐและมณฑลต่าง ๆ อย่างไร เบื้องต้นทราบว่ารัฐนิวเซาท์เวลส์ได้รับการส่งมอบวัคซีนจำนวน 5,500 โดส จากจำนวน 22,000 โดสแรกที่มาถึงออสเตรเลีย

ทั้งนี้ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งได้บันทึกการติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 31 รายจาก 57 รายทั่วประเทศ ได้เริ่มต้นการเปิดตัววัคซีนแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา

ออสเตรเลียมีสต็อกวัคซีนฝีดาษลิงพอหรือไม่

ศาสตราจารย์แอนดรูว์ กรูลิช (Andrew Grulich) หัวหน้าด้านระบาดวิทยาและโครงการป้องกันโรคติดเชื้อเอชไอวี จากสถาบันเคอร์บีย์ของมหาวิทยาลัยรัฐนิวเซาท์เวลส์ ระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่ออสเตรเลียจะมุ่งฉีดวัคซีนให้กับประชากรเกย์และไบเซ็กชวลส่วนใหญ่ในประเทศ

จากประเด็นดังกล่าว ศาสตราจารย์กรูลิชระบุว่า วัคซีนจำนวน 450,000 โดสคือ “ปริมาณที่ดีมาก” แต่สถานการณ์ยังคงต้องได้รับการจับตา เพราะหากไวรัสเริ่มที่จะแพร่กระจายไปเป็นวงกว้างขึ้นก็อาจจำเป็นจะต้องใช้วัคซีนหลายโดส

“เราจำเป็นต้องจับตาการแพร่ระบาดใหญ่นี้ เพียงเพื่อให้แน่ใจว่ามันไม่แพร่ออกไปเกินกว่ากลุ่มประชากรที่กำลังได้รับผลกระทบในขณะนี้” ศาสตราจารย์กรูลิช กล่าว
Hand in a blue medical glove holds a small bottle with the label vaccine Monkeypox and Smallpox.
Australia has secured access to 450,000 doses of the 'third generation' monkeypox vaccine. Source: Getty / SyhinStas
แคเรน ไพรซ์ (Karen Price) รักษาการประธานของ เอคอน เฮลธ์ (ACON Health) กล่าวว่า การได้มีวัคซีนดังกล่าวคือ “จุดเริ่มต้นที่ดี” แต่ก็ได้ชี้ให้เห็นถึงธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงของการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ซึ่งเป็นตัวอย่างของความไม่แน่นอนในการแพร่ระบาดที่อาจสร้างความท้าทาย

“เราไม่รู้ว่าวิถีของไวรัสตัวนี้จะเป็นอย่างไร” คุณไพรซ์ กล่าว

“โดยพื้นฐานแล้ว เราเข้าใจว่าจำเป็นต้องให้วัคซีน 2 โดสเพื่อการปกป้องสูงสุด แต่ยังมีอีกเล็กน้อยที่ยังไม่รู้ในแง่ที่ว่า (การปกป้อง) จะอยู่ได้นานแค่ไหน จะต้องกระตุ้นบ่อยแค่ไหน และความบ่อยครั้งในการฉีดวัคซีนจะเป็นอย่างไร”
“มันสำคัญที่จะมีความพยายามทำให้แน่ใจว่ามีวัคซีนเพียงพอต่อความต้องการ”

‘ไม่มีทาง’ ที่วัคซีนฝีดาษลิงจะทำให้เกิดโรคติดต่อ

วัคซีนไข้ทรพิษซึ่งป้องกันโรคฝีดาษลิงด้วยเช่นกัน (ACAM2000) มีให้ฉีดอยู่แล้วในออสเตรเลีย ทว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ยากแต่มีอาการรุนแรงทำให้วัคซีนตัวนี้ไม่ได้รับการแนะนำให้ฉีดในประชากรหมู่มาก เนื่องจากวัคซีนถูกผลิตโดยการใช้ไวรัสที่ยังมีชีวิตซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

ศาสตราจารย์กรูลิช กล่าวว่า ผลข้างเคียงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลสำหรับวัคซีนจินนีออส (Jynneos) ซึ่งผลิตโดย บาวาเรียน นอร์ดิก (Bavarian Nordic) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพจากเดนมาร์ก

“วัคซีนรุ่นที่ 3 นี้มีพื้นฐานจากไวรัสที่ไม่สามารถคัดลอกตนเองได้ จึงไม่มีทางที่จะทำให้เกิดโรคติดต่อแม้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และด้วยเหตุผลนี้เองจึงปลอดภัยที่จะฉีดให้กับประชากรทั้งหมด” ศาสตราจารย์กรูลิช กล่าวว่า
Hand with blue glove holding blood test tube labelled MONKEYPOX (MPXV) TEST
NSW has recorded the majority of the cases of the virus so far. Source: iStockphoto / angelp/Getty Images

ควรเปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิง เพื่อป้องกันความน่าอับอายหรือไม่

คุณไพรซ์กล่าวว่า ไม่เพียงแต่จะมีความน่าอับอายที่เกี่ยวกับฝีดาษลิงเท่านั้น แต่การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสนี้ในชุมชนเกย์ก็อาจเป็นสิ่งที่กระตุ้นความน่าอับอายได้สำหรับบางคน

“มันเป็นไวรัสที่เราไม่รู้เกี่ยวกับมันมากนัก มันมีตุ่มพองบนผิวหนัง และสามารถแบ่งออกไปได้ในระดับหนึ่ง และไวรัสนี้ยังได้แพร่กระจายผ่านเครือข่ายทางเพศด้วย” คุณไพรซ์ จาก ACON Health กล่าว

“สิ่งเหล่านี้ได้เผยให้เห็นเงามืดในช่วงแรก ๆ (ที่เชื้ออุบัติขึ้น) ของเชื้อเอชไอวี และประสบการณ์เกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีสำหรับบางคน ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะสร้างแรงกระตุ้น (ความอับอาย) และเพิ่มระดับความตึงเครียดให้กับโรคฝีดาษลิง”

โดยคุณไพรซ์แนะนำว่า การเปลี่ยนมาใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์สำหรับโรคฝีดาษลิงในมนุษย์ อาจช่วยลดความน่าอับอายเกี่ยวกับไวรัสนี้ลงได้
นี่ไม่ใช่โรคติดต่อของเกย์ ใครก็ติดเชื้อได้ทั้งนั้น
แคเรน ไพรซ์ (Karen Price) รักษาการประธานของเอคอน (ACON)
“โรคฝีดาษลิงเป็นชื่อที่ค่อนข้างน่าตกใจ มันฟังดูเจ็บปวด”

“สิ่งที่ดีที่สุดที่เราทำได้เพื่อปกป้อง ไม่เพียงแต่สุขภาพของผู้ที่ตกอยู่ในความเสี่ยงมากที่สุดในตอนนี้ แต่ยังรวมถึงผู้ที่อาจอยู่ในความเสี่ยงได้ในอนาคต คือการเริ่มปฏิบัติกับไวรัสนี้ให้เหมือนกับอีกหลายสิ่งอื่น ๆ เช่นเมื่อเราเริ่มพูดถึงไวรัสโคโรนาในตอนแรก และก็เปลี่ยนมาเป็นโควิด-19”

“อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางภาษาที่จำเป็น จากคำว่ามังกี้พ็อกซ์ (monkeypox) ไปเป็นภาษารูปแบบอื่น ๆ ที่แตกต่าง อย่าง MPX หรือ MPX-V”

“นี่ไม่ใช่โรคติดต่อของเกย์ ใครก็ติดเชื้อได้ทั้งนั้น”

“ความน่าอับอายมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งในวิธีการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้คน และสำหรับบางคน มันอาจกีดกั้นพวกเขาในการพยายามที่จะออกมา และเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่พวกเขาต้องการ”



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 10 August 2022 5:52pm
By Aleisha Orr
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand