สยบข่าวลือไวรัสโคโรนา

เมื่อองค์การอนามัยโลก ยกระดับความเสี่ยงของเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกขึ้นให้อยู่ในขั้น “สูงมาก” ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกระบุว่าความท้าทายเรื่องใหญ่ที่สุดที่องค์กรต้องเอาชนะให้ได้คือ ความหวาดกลัวและข้อมูลที่ผิดๆ

Misinformation surrounding the coronavirus, also known as Covid-19, has spread rapidly online.

Misinformation surrounding the coronavirus, also known as Covid-19, has spread rapidly online. Source: Getty Images

เพียง 2 เดือนกว่าๆ หลังจากองค์การอนามัยโลก ได้ประกาศเตือนครั้งแรกเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าเชื้อโควิด-19 จนถึงขณะนี้ มีการพบผู้ติดเชื้อใน 79 ประเทศ โดยมีรายงานผู้ติดเชื้อว่า 95,000 ราย และผู้เสียชีวิตจากเชื้อนี้ 3,280 ราย

แต่สิ่งที่น่าวิตกพอๆ กันสำหรับเจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกคือการแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิดๆ ซึ่งก่อให้เกิดความหวาดกลัวและส่งผลให้เกิดเหตุการณ์การคว้านซื้ออย่างตื่นตระหนกในออสเตรเลีย

เมื่อองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศยกระดับความเสี่ยงของเชื้อไวรัสชนิดนี้ให้อยู่ในขั้นสูงสุด นายแพทย์ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก เตือนให้ระวังความตื่นตระหนกจนเกินความจำเป็น และข้อมูลที่ผิดๆ

“ศัตรูที่ใหญ่ที่สุดของเราขณะนี้ไม่ใช่เชื้อไวรัสเอง แต่เป็นความหวาดกลัว ข่าวลือ และตราบาป และสินทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเราคือข้อเท็จจริง เหตุผล และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา

แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ อย่างเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ กล่าวว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทจะช่วยเหลือในส่วนที่บริษัททำได้ ในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของ “ข้อกล่าวอ้างที่ไม่เป็นความจริงและทฤษฎีการสมคบคิด”

แต่ข้อกล่าวอ้างบางอย่างที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ขณะนี้มีอะไรบ้าง?

มายาคติ: ไวรัสโคโรนาเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

ทฤษฎีสุดขั้วที่โผล่ขึ้นมาคือ ไวรัสโคโรนาถือกำเนิดขึ้นมาจากห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ในประเทศจีน และเชื่อมโยงกับการวิจัยอาวุธทางชีววิทยา ข้อกล่าวอ้างที่ไม่ใช่เรื่องจริงนี้ปรากฎอยู่ในสิ่งพิมพ์อย่างน้อย 2 ฉบับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ เดลิ เมล์ (Daily Mail) และ วอชิงตัน ไทมส์ (Washington Times) และยังได้รับการเผยแพร่ต่อโดยวุฒิสมาชิกสหรัฐ คือนายทอม คอตตอน เมื่อเขาเสนอทฤษฎีว่าเชื้อไวรัสโคโรนามีต้นกำเนิดจากห้องทดลองทางชีววิทยาที่มีการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นศูนย์กลางการระบาดของเชื้อนี้

“เราไม่รู้ว่ามันมีต้นกำเนิดจากไหน และเราต้องค้นหาความจริงให้ได้” เขาบอกกับ ฟ๊อกซ์ นิวส์ “เรายังรู้ด้วยว่าเพียงไม่กี่ไมล์จากตลาดอาหารที่ว่า คือห้องแล็บทางชีววิทยาที่มีการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงระดับ 4 เพียงแห่งเดียวของจีน ที่ทำการวิจัยโรคระบาดของมนุษย์”
Republican senator Tom Cotton
Republican senator Tom Cotton Source: Getty Images North America
แต่ต่อมานายคอตตอน อธิบายถึงจุดยืนในเรื่องนี้ของตน แต่ผู้เชี่ยวชาญต่างพากันโต้แย้งว่าทฤษฎีเกี่ยวกับอาวุธชีวภาพนี้ไม่ใช่เรื่องจริง

ขณะที่ยังมีหลายอย่างที่ไม่มีใครรู้แน่ชัดเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเชื้อไวรัสโคโรนานี้ แต่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า เชื้อโควิด-19 ตัวปัจจุบันเชื่อมโยงกับตลาดค้าสัตว์เป็นๆ ในมณฑลหูเป่ย ซึ่งชี้ว่าในระยะแรกเป็นการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน กรณีที่เกิดขึ้นภายหลังจากนั้นเป็นการติดเชื้อจากคนสู่คน

มายาคติ: หลายอย่างรักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้

ขณะที่ มีการแชร์ทฤษฎีตามโซเชียลมีเดีย ที่ว่ายาสามัญประจำบ้านหลายอย่างอาจรักษาผู้ป่วยให้หายการติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ แต่ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชี้ว่ามียาตัวใดที่สามารถป้องกัน หรือรักษาเชื้อโควิด-19 ได้ องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า กำลังมีการตรวจสอบข้อมูลของการรักษาด้วยตัวยาบางอย่างอยู่ และจะมีการทดสอบต่อไปผ่านการทดลองกับคนไข้ แต่องค์กรแนะนำว่า แม้กระเทียมจะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่ไม่สามารถช่วยป้องกันประชาชนจากเชื้อไวรัสโคโรนาได้
Information graphic from the WHO
Information graphic by the WHO Source: World Health Organisation
เช่นเดียวกันกับวัคซีนที่มีอยู่ขณะนี้ จะไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ เนื่องจากเชื้อนี้เป็นไวรัสที่ใหม่มากและแตกต่างจากไวรัสตัวอื่น จึงจำเป็นต้องมีวัคซีนตัวใหม่

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประชาชนยึดมั่นในมาตรการป้องกันที่สมเหตุสมผล เช่นการล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าโดยไม่จำเป็น และการปฏิบัติตามหลักที่ถูกสุขอนามัยเกี่ยวกับการไอและจาม

คำแนะนำขององค์การอนามัยโลกเรื่องการใช้หน้ากากอนามัย

เจ้าหน้าที่องค์การด้านสุขภาพหลากหลายแห่งได้ออกคำแนะนำที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหน้ากากอนามัย โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centre for Disease Control and Protection) ในสหรัฐแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการสวมหน้ากากอนามัย ขณะที่รัฐบาลของประเทศในเอเชีย เช่น มาเลเซีย ประเทศไทย และเวียดนาม ขอให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยให้เป็นนิสัย

ในออสเตรเลียนั้น เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพแนะนำว่า “คุณไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยหากคุณไม่ได้ป่วย” โดยเป็นคำแนะนำที่ให้ข้อมูลตาม
จากปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยที่กำลังเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพโลก ไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่งในการใช้หน้ากากอนามัยทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวันโดยไม่จำเป็น

“ให้สวมหน้ากากอนามัย ก็ต่อเมื่อคุณป่วยมีอาการของเชื้อไวรัสโควิด-19 (โดยเฉพาะมีอาการไอ) หรือต้องดูแลบุคคลอื่นที่มีเชื้อไวรัสโควิด-19... หากคุณไม่ได้ป่วย หรือไม่ได้ดูแลบุคคลที่ป่วย คุณก็กำลังใช้หน้ากากอนามัยไปอย่างไร้ประโยชน์ ขณะนี้ มีปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยไปทั่วโลก ดังนั้น องค์การอนามัยโลกจึงขอร้องให้ประชาชนใช้หน้ากากอนามัยอย่างชาญฉลาด”


ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 10 March 2020 10:51am
By SBS News
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand