ลูกจ้างวีซ่าชั่วคราวทั้งถูกนายจ้างเอาเปรียบ ถูกโกงค่าจ้าง: การสำรวจชี้

รายงานล่าสุดระบุ ลูกจ้างที่ถือวีซ่าชั่วคราวในออสเตรเลียกำลังได้รับค่าแรงต่ำกว่ามาตรฐานมากและถูกใช้ให้ทำงานหนักเกินกำลัง ขณะที่พวกเขาพบความยากลำบากที่จะได้วีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวร

A stock image of a woman carrying laptop, purse and a reusable coffee cup to work.

Source: Getty

รายงานฉบับใหม่โดยศูนย์ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐาน (Migrant Workers Centre) เผยว่าผู้ถือวีซ่าชั่วคราวร้อยละ 65 มีเคยถูกนายจ้างขโมยค่าจ้าง (wage theft) และ 1 ใน 4 ต้องเผชิญกับการถูกเอารัดเอาเปรียบในการทำงานในรูปแบบอื่นๆ

เผยให้เห็นความเชื่อมโยงที่แน่นแฟ้นระหว่างการถูกเอารัดเอาเปรียบที่ทำงานและสถานะวีซ่าชั่วคราว

รายงานดังกล่าวพบว่า ลูกจ้างที่เข้าร่วมการสำรวจ มีร้อยละ 91 ที่เคยถูกนายจ้างขโมยค่าจ้าง (wage theft) เดินทางเข้ามายังออสเตรเลียด้วยวีซ่าที่ไม่มีหนทางสู่การเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร

รายงานฉบับนี้พบว่า ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นต้องใช้เวลาโดยเฉลี่ยมากกว่า 5 ปีกว่าจะได้สถานะผู้อยู่อาศัยถาวร โดยใช้เวลารอนานที่สุด 13 ปี

ระยะเวลารอคอยกว่าจะได้เป็นผู้อยู่อาศัยถาวรและช่องโหว่ในโครงการวีซ่า เช่น วีซ่าที่มีนายจ้างเป็นสปอนเซอร์ ส่งผลให้ลูกจ้างมีความเสี่ยงที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้านายและเสี่ยงตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงเรื่องวีซ่า จากการค้นพบของรายงานฉบับนี้

ฮวน* ซึ่งเป็นหนึ่งในลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐาน 700 คนที่ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เพื่อจัดทำรายงานฉบับนี้ กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพบหนทางสู่การเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร

เมื่อฮวนและภรรยาของเขาเดินทางมายังออสเตรเลียในปี 2008 ครอบครัวของเขาที่ประเทศบ้านเกิดได้กู้เงินเพื่อช่วยให้เขาและภรรยาการเดินทางมาศึกษาต่อในออสเตรเลีย

เขาใช้วิธียืดเวลาการอาศัยอยู่ในออสเตรเลียด้วยการต่อวีซ่านักเรียนหลายต่อหลายครั้ง และได้งานทำหลังเรียนจบได้ประกาศนียบัตร 2 ใบ ประกาศนียบัตรระดับอนุปริญญา 2 ใบ และประกาศนียบัตรขั้นสูง 2 ใบในด้านการทำอาหารและการบริหารธุรกิจ

ฮวนจ่ายเงินให้กับตัวแทนดำเนินการด้านวีซ่าหลายพันดอลลาร์เพื่อให้สมัครงานให้ นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอวีซ่า

ระหว่างที่ฮวนกำลังรอการอนุมัติวีซ่า นายจ้างขอให้เขาจ่ายเงินให้ 35,000 ดอลลาร์เพื่อแลกกับการเป็นสปอนเซอร์วีซ่า

ฮวนไม่รับข้อเสนอดังกล่าว และในขณะที่เขาถือบริดจิงวีซ่าอยู่ เขาก็พบนายจ้างอีกคนหนึ่งที่เสนอจะสปอนเซอร์วีซ่าให้เขาไปทำงานเป็นเชฟที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในพื้นที่ส่วนภูมิภาค

แต่นายจ้างคนใหม่ไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้ฮวน และบอกให้เขารอจนกว่าเขาจะได้รับอนุมัติวีซ่าก่อน แต่เมื่อได้รับวีซ่า เจ้านายของฮวนกลับไม่จ่ายค่าจ้างตามที่ได้สัญญาไว้และเลิกจ้างฮวน ส่งผลให้วีซ่าของเขาถูกยกเลิก
ฮวนได้รับความช่วยเหลือจากทนายความมืออาชีพที่ให้บริการฟรีผ่านศูนย์ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐาน (Migrant Workers Centre) และในที่สุดศาลก็มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างที่ค้างชำระทั้งหมดให้ฮวน

แต่หนึ่งปีผ่านไปฮวนยังคงรอให้นายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งศาล

รายงานฉบับนี้ยังบอกเล่าเรื่องราวของโทนี* ช่างเชื่อมที่ผ่านการรับรองคุณวุฒิ ซึ่งได้รับการสปอนเซอร์วีซ่าชั่วคราวสำหรับแรงงานทักษะในสาขาที่ขาดแคลน

แม้ว่าเขาจะทำงานหนัก แต่ดูเหมือนว่านายจ้างของเขาไม่เคยพอใจ และมอบหมายงานให้เขามากขึ้น ทำให้เขามีเวลาน้อยมากในการรับประทานอาหารกลางวันหรือแม้แต่พักห้องน้ำ รายงานดังกล่าวระบุ

โทนีมักรู้สึกว่าเขาคนเดียวทำงานเหมือนลูกจ้างสองคน และแทบไม่มีเวลาดูแลลูกทารกแรกเกิดของเขาเลย เพราะโดยเฉลี่ยเขาทำงานมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รวมถึงกะช่วงสุดสัปดาห์ด้วย

อยู่มาวันหนึ่ง เขาได้ยินเพื่อนร่วมงานชาวออสเตรเลียพูดถึงอัตราค่าล่วงเวลา (overtime) และค่าจ้างเพิ่มพิเศษสำหรับการทำงานนอกเวลาปกติ (penalty rates) และพากันสงสัยว่านายจ้างมีเงินจ่ายสำหรับการทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์และการทำงานล่วงเวลาให้แก่โทนีและคนงานคนอื่นๆ ที่ถือวีซ่าชั่วคราวได้อย่างไร

ตอนนั้นเองที่โทนีตระหนักว่านายจ้างได้จ่ายเงินให้เขาและเพื่อนร่วมงานที่เป็นลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานต่ำกว่าที่พวกเขาพึงได้รับ
คุณแมตต์ คันเคิล ผู้บริหารของศูนย์ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐาน (Migrant Workers Centre) กล่าวว่าโครงการย้ายถิ่นฐานของออสเตรเลียได้ "ก่อให้เกิดประชากรซึ่งเป็นลูกจ้างที่ตกอยู่ในความหมิ่นเหม่" โดยปัญหาจากระดับโครงสร้างของโครงการ

“การเสริมสร้างทางเส้นทางสู่การเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรจะเป็นประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจแก่คนงานทุกคนในออสเตรเลีย” คุณคันเคิล กล่าว

เขาระบุอีกว่า ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวมักอาศัยอยู่ในออสเตรเลียเป็นเวลาหลายปีหรือบางครั้งก็เป็นเวลาหลายสิบปี โดยหวังว่าจะได้เป็นผู้อยู่อาศัยถาวรในออสเตรเลียในอนาคต

“คนงานที่ถือวีซ่าชั่วคราวประสบกับการถูกเอารัดเอาเปรียบในสถานที่ทำงาน เพราะระบบได้สร้างอุปสรรคในการรายงานการกระทำผิดในอุตสาหกรรม” คุณคันเคิล กล่าว

“วีซ่าหมดอายุก่อนที่กระบวนการศาลที่ยืดเยื้อจะเสร็จสิ้น หรือไม่ก็การตกงานส่งผลกระทบต่อแผนการตั้งถิ่นฐานที่กินเวลามาหลายปีแล้ว”

“เราจำเป็นต้องมีการยกเครื่องใหม่สำหรับระบบวีซ่า เพื่อให้ชีวิตของคนงานไม่ต้องอยู่ในกำมือของนายจ้างเพียงคนเดียว และลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นในระยะยาวทุกคนมีโอกาสที่จะได้เป็นผู้อยู่อาศัยถาวร”

*ได้มีการเปลี่ยนชื่อเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูล

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 6 December 2021 3:11pm
By Eden Gillespie
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand