การสำรวจชี้ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวมักถูกเอาเปรียบ

Waiter packing up cafe or restaurant chairs

Source: Getty Images

การสำรวจผู้ถือวีซ่าชั่วคราวพบว่าร้อยละ 65 เคยตกเป็นเหยื่อของการขโมยค่าจ้าง (wage theft)


การสำรวจผู้ถือวีซ่าชั่วคราวพบว่าร้อยละ 65 เคยตกเป็นเหยื่อของการขโมยค่าจ้าง (wage theft)

ผลการศึกษาของศูนย์ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐาน (Migrant Workers Centre) พบว่า ร้อยละ 91 ของลูกจ้างที่เคยถูกนายจ้างขโมยค่าจ้าง เดินทางมายังออสเตรเลียด้วยวีซ่าซึ่งไม่มีหนทางสู่การเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร

ศูนย์ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐาน (Migrant Workers Centre) กล่าวว่า การสำรวจผู้ถือวีซ่าชั่วคราวมากกว่า 700 คนเผยให้เห็นการเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐาน ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นอย่างไม่สิ้นสุด

การสำรวจดังกล่าวพบว่าร้อยละ 65 ของผู้ตอบแบบสำรวจเคยถูกนายจ้างขโมยค่าจ้าง (wage theft)

คุณแมตต์ คันเคิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของศูนย์ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานกล่าวว่า ร้อยละ 91 ของผู้ที่เคยถูกขโมยค่าจ้างได้เดินทางมาถึงออสเตรเลียด้วยวีซ่าซึ่งไม่มีหนทางไปสู่การตั้งถิ่นฐานถาวร

"เราพบว่าแรงงานที่เดินทางเข้าประเทศโดยไม่มีเส้นทางอย่างแท้จริงที่จะได้เป็นผู้อยู่อาศัยถาวร มีแนวโน้มมากกว่า 3 เท่า ที่จะได้รับค่าจ้างต่ำกว่ามาตรฐานหรือเผชิญกับการถูกเอารัดเอาเปรียบรูปแบบอื่นๆ ในที่ทำงาน และการปรับปรุงเส้นทางการตั้งถิ่นฐานเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปรับปรุงชีวิตและผลลัพธ์สำหรับลูกจ้างทั้งหมดที่นี่" คุณคันเคิล กล่าว
คุณ ฮานนาห์ วัย 35 ปี เป็นนักวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งย้ายมาอยู่ในออสเตรเลียจากตุรกีเมื่อ 4 ปีที่แล้ว

เธอยังคงประสบความยากลำบากที่จะได้เป็นผู้อยู่อาศัยถาวร และระบุว่าเธอเชื่อว่าเธอได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่ามาตรฐาน

"ฉันสามารถพูดได้ว่า ฉันไม่ได้รับเงินเดือนเท่าๆ กับที่นักวิเคราะห์ข้อมูลชาวออสเตรเลียได้รับ แต่ฉันก็ยังพอใจกับเงินเดือนของตัวเอง ฉันสามารถสร้างชีวิตใหม่ได้ด้วยเงินจำนวนนั้น แต่แน่นอน เมื่อคุณเปรียบเทียบกับชาวออสเตรเลียที่ทำงานเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูล มีความแตกต่างกันมากมายในเรื่องเงินเดือนและรูปแบบการใช้ชีวิต" คุณ ฮานนาห์ กล่าว
คุณ พารามจิต เคาร์ อยู่ในออสเตรเลียมา 13 ปีแล้ว และยังไม่ได้เป็นผู้อยู่อาศัยถาวร

เธอกล่าวว่า ความไม่แน่นอนส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของเธอ

"ฉันบอกกรมตรวจคนเข้าเมืองว่าฉันเป็นโรคซึมเศร้า ฉันกำลังรอการนัดหมายกับนักจิตวิทยา ฉันไปหาหมอจีพี ฉันนอนไม่หลับในบางคืน ฉันจึงต้องกินยานอนหลับ แต่กรมตรวจคนเข้าเมืองไม่ได้มองเรื่องนี้อย่างจริงจัง" คุณเคาร์ กล่าว

คุณแมตต์ คันเคิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของศูนย์ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐาน กล่าวว่า จำเป็นต้องมีการปรับปรุงระบบวีซ่าเพื่อเพิ่มสัดส่วนการออกวีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวร

"นี่เป็นข้อกล่าวหาที่น่าตกใจ ซึ่งไม่ใช่แค่เกี่ยวกับระบบแรงงานสัมพันธ์ของเราเท่านั้น ซึ่งถูกนายจ้างเพิกเฉยเป็นประจำ แต่เรื่องนี้ยังชี้ถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างสำหรับระบบการย้ายถิ่นฐาน และจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเส้นทางสู่การเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร เพื่อให้แน่ใจได้ว่าแรงงานผู้ย้ายถิ่นฐานมีความมั่นใจที่จะรายงานการกระทำผิดในอุตสาหกรรม โดยปราศจากความเกรงกลัว หรือไม่ถูกเนรเทศ หรือไม่ได้รับผลร้ายที่ตามมา" คุณแมตต์ คันเคิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของศูนย์ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐาน แสดงความเห็น

หากคุณผู้ฟังประสบปัญหาการถูกนายจ้างขโมยค่าจ้าง หรือถูกเอารัดเอาเปรียบในที่ทำงาน คุณสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่องค์กร Fairwork หรือผู้ตรวจการเพื่อการจ้างงานที่เป็นธรรม ไปที่เว็บไซต์ของแฟร์เวิร์ก ที่ และเลือกภาษาไทยด้านบนของเว็บไซต์ หรือหากต้องการโทรศัพท์ไปปรึกษาแฟร์เวิร์ก แต่พูดภาษาอังกฤษไม่คล่องและต้องการใช้ล่ามฟรี สามารถโทรศัพท์ติดต่อบริการแปลและล่าม ที่ 131 450 และขอให้ล่ามติดต่อแฟร์เวิร์กให้


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand