ห้าสิ่งที่คุณทำได้เองเดี๋ยวนี้ เพื่อลดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

NEWS: ทางเลือกต่างๆ ของผู้บริโภคนั้น สามารถที่จะมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศได้

Earth seen from space

การลดเนื้อสัตว์ลง 30% โดยเฉพาะเนื้อวัวและผลิตภัณฑ์จากนมนั้น ได้รับการระบุโดยนักวิจัยว่าจลดก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าการลดการโดยสารเครื่องบินหรือซื้อรถไฟฟ้าเสียอีก Source: AAP Image/Mary Evans Picture Library

You can read the full version of this story in English on SBS News .

กว่า 200 ประเทศได้รวมตัวกันที่ประเทศโปแลนด์ในสัปดาห์นี้ เพื่อประชุมผู้นำ COP24 โดยพวกเขานั้นกำลังพยายามที่จะบรรลุข้อตกลงต่อกฎบัตรที่จะบังคับใช้ร่วมกัน เพื่อรักษาสัญญาชึ่งได้เคยให้ไว้ต่อข้อตกลงด้านภูมิอากาศเมื่อปีค.ศ. 2015 ณ กรุงปารีส

แต่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเหล่าผู้นำเท่านั้นที่จะมีบทบาทในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

เมื่อเดือนตุลาคม รายงานล่าสุดของคณะกรรมการด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations' Intergovernmental Panel on Climate Change (ไอพีซีซี, IPCC) ยังได้รวมไปถึงคำแนะนำต่างๆ สำหรับผู้บริโภค ว่าจะสามารถช่วยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศได้อย่างไร ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงการบริโภคและทางเลือกต่างๆ ของการใช้ชีวิต

การทำแบบทดลองภูมิอากาศ (climate modelling) ที่เรียกว่า หนทางด้านเศรษฐศาสตร์และสังคม (socioeconomic pathways, SPPs) เป็นการมองถึงตัวเลือกต่างๆ ซึ่งแต่ละบุคคลนั้นสามารถทำได้เพื่อร่วมช่วยจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ภายใน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม
ยังได้มีการแนะนำแนวทางของการบริโภคอย่างยั่งยืน ต่อตัวเลือกต่างๆ ทางการขนส่ง อาหาร และการใช้สอยสินค้าในครัวเรือน

1. การขนส่ง

ไอพีซีซีแนะนำว่า การปลดปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งนั้นสามารถลดลงได้ โดยผู้คนนั้นหันไปใช้การขนส่งสาธารณะ การใช้รถยนต์ร่วมกัน และการใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ไฮบริด แทนที่จะทำการโดยสารเครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่นๆ

โดย ผลประโยชน์หลักๆ จะมาจากการเปลี่ยนแปลง “ขนานใหญ่และรวดเร็ว”

“จังหวะของการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเพื่อจะยับยั้งความร้อนให้อยู่ที่ 1.5 °C นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในอดีต แต่ไม่เคยมีตัวอย่างทางประวัติศาสตร์ใดๆ มาก่อน ในเรื่องของความกว้างขวางของความเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น โดยเฉพาะในลักษณะที่เป็นไปได้อย่างยั่งยืนทางสังคมและเศรษฐกิจ” รายงานกล่าวต่อ “การจะแก้ไขให้ทันกับความเร็วและขนาดของปัญหา จำเป็นจะต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้คน การเข้าแทรกแซงโดยภาคเอกชน และ ความร่วมมือจากภาคเอกชน”

การใช้รถยนต์ในประเทศออสเตรเลียนั้นรับผิดชอบต่อ 50 เปอร์เซ็นต์ของการปลดปล่อยมลพิษทางการขนส่ง และยังเป็นที่มาของก๊าซเรือนกระจก  โดอยู่ที่ 18 เปอร์เซ็นต์

ประเทศออสเตรเลียถูกจัดอยู่ที่ ในเรื่องของมลภาวะจากการขนส่งต่อหัวประชากร ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกลุ่มประเทศโออีซีดีถึง 50 เปอร์เซ็นต์
A loaded coal train passes through the outskirts of Singleton, in the NSW Hunter Valley
รถไฟบรรทุกถ่านหินกำลังวิ่งผ่านบริเวณนอกเมืองซิงเกิลตันในแถบฮันเตอร์แวลลีย์ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ (Source: AAP) Source: AAP

2. อาหารและขยะอาหาร

รายงานของไอพีซีซียังได้แนะนำให้ผู้คนลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลง 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการตัดสินใจที่จะรับประทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลงโดยเฉพาะเนื้อวัวและผลิตภัณฑ์จากนมนั้น ได้รับการระบุโดยนักวิจัยว่าจะส่งผลเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าการลดการโดยสารเครื่องบินหรือการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเสียอีก

ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร ‘Science’ แสดงให้เห็นว่าการผลิตเนื้อวัวนั้น หากเทียบกับการปลูกถั่วแล้ว มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าถึงหกเท่า และใช้พื้นที่มากกว่ากันถึง 36 เท่าตัว

นักรณรงค์ของกองทุนสัตว์ป่าโลกแห่งออสเตรเลีย (World Wildlife Fund Australia) นางโมนิกา ริคเตอร์ กล่าวว่า ขยะอาหารนั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่การตัดสินใจของผู้บริโภคจะมีผลต่อภาวะโลกร้อนได้

เธอกล่าวว่า “คุณทราบหรือไม่ว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของอาหารทั้งหมดซึ่งจับจ่ายโดยครัวเรือน[ออสเตรเลีย]นั้น กลายไปเป็นขยะอาหาร”

“นั่นเท่ากับว่า ตะกร้าของชำสามตะกร้า จากทุกๆ 10 ตะกร้าถูกทิ้งลงไปในถังขยะ เราจำเป็นต้องทำให้ดีกว่านี้”

3. การใช้พลังงาน

รายงานของไอพีซีซี ยังได้แนะนำให้เปลี่ยนมาใช้สินค้าในครัวเรือนซึ่งใช้พลังงานน้อยลง เช่น การมีเทอร์โมสแตตคอยตัดกระแสไฟฟ้าอย่างชาญฉลาด และเครื่องปรับอากาศที่ชาญฉลาด โดยรายงานได้แนะนำให้แหล่งพลังงานที่ทดแทนได้นั้นจ่ายกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ปริมาณ 75 และ 85 เปอร์เซ็นต์ของทั่วโลกภายในปี 2050

โดยพลังงานทดแทนได้นั้น นับเป็น 19.9 เปอร์เซ็นต์ของกระแสไฟฟ้าที่ผลิตทั้งหมดในระบบจ่ายไฟหลักของประเทศออสเตรเลียเมื่อเดือนพฤษภาคม ซึ่งตัวเลขดังกล่าวรวมถึงการติดตั้งแผงผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ระบบพีวีบนหลังคา (rooftop solar PV systems) เป็นจำนวน 18,917 ระบบ

บริษัทให้คำปรึกษา กรีนเอเนอร์ยีมาร์เก็ตส์ (Green Energy Markets, GEM) กล่าวว่า ด้วยอัตราเท่านี้ แผงผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคาจะทำให้พลังงานที่ทดแทนได้เป็นปริมาณ ภายในปี 2030

“ระบบต่างๆ ของเมืองกำลังมุ่งไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่นำพลังงานแสงอาทิตย์ พลังลม และการจัดเก็บด้วยแบตเตอร์รีและยานพาหนะไฟฟ้า มาใช้ด้วยกันในลักษณะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็ยังคงจำเป็นจะต้องมีความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้านกฎหมาย การให้ผลประโยชน์ทางภาษี มีมาตรฐานใหม่ๆ โครงการสาธิต และโครงการให้การศึกษาต่างๆ เพื่อให้ตลาดของระบบนี้ดำเนินไปได้” รายงานของไอพีซีซีกล่าว

4. การร่วมมือกันทางการเมือง

นักรณรงค์ของกองทุนสัตว์ป่าโลกแห่งออสเตรเลีย (World Wildlife Fund Australia) นางโมนิกา ริคเตอร์ กล่าวว่า การร่วมมือกันทางการเมืองของแต่ละบุคคลนั้นจะมีบทบาทสำคัญในการพยายามให้แน่ใจว่ารัฐบาลและธุรกิจต่างๆ นั้นจะมีความรับผิดชอบ

“และเราก็สามารถจะทำเช่นนั้นได้ ด้วยการตัดสินใจต่างๆ ที่เราทำที่บ้าน การตัดสินใจต่างๆ ที่เราทำที่ธุรกิจของเรา การเลือกวิธีเดินทางของเรา ด้วยเงินที่เราเติมเข้าไปในกองทุนเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุ” เธอกล่าว

เธอยกตัวอย่างของการร่วมมือกันต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการเติบใหญ่ขึ้นของแนวคิดริเริ่ม ชั่วโมงโลก (Earth Hour initiative) ของทาง WWF ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ 11 ปีที่แล้ว และตั้งแต่นั้นมาก็ได้กลายเป็นกิจกรรมประจำปีทั่วโลก

“ในตอนนี้ หนึ่งในสี่ของชาวออสเตรเลียนั้นมีส่วนร่วมกับ Earth Hour (และ)นครต่างๆ กว่า 187 แห่งทั่วโลกก็มีส่วนร่วมกับการแสดงท่าทีทางสัญลักษณ์นี้ ด้วยการดับไฟของคุณสำหรับช่วงเวลาหนึ่งชั่วโมงนั้น เพื่อที่จะบอกว่าฉันห่วงใยอย่างจริงจังในเรื่องนี้ และฉันก็ต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา” นางริคเตอร์กล่าว

“เมื่อผู้คนเริ่มก่อน นักการเมืองก็จะตามไป และดิฉันก็คิดว่าเราจะเป็นจะต้องแสดงให้เห็นโดยร่วมมือกันว่าชาวออสเตรเลียนั้น ห่วงใยอย่างลึกซึ้งในเรื่องนี้ และเราก็ต้องการการดำเนินการอย่างเร่งด่วน”

5. การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

กลุ่มรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม 350.org กล่าวว่า ทางกลุ่มได้ดำเนินการร่วมกันเพื่อพยายามให้แน่ใจว่านักการเมืองสหพันธรัฐของออสเตรเลียเป็นจำนวน 50 คน ได้รับสำเนารายงานของไอพีซีซีซึ่งจัดส่งให้เป็นการส่วนตัว

คุณเกลน กลาตอฟสกี รองผู้บริหารสูงสุดของ 350.org กล่าวว่า“นั่นเป็นสัญญาณว่าผู้คนนั้นลุกขึ้นมาและลงมือทำ”

“และคุณก็ทราบว่าสำหรับนักการเมืองแล้วนั่นหมายความเช่นไร? มันหมายความว่าเขตเลือกตั้งของพวกเขา ซึ่งเลือกพวกเขาเข้ามา กำลังพูดอย่างเสียงดังฟังชัด ชาวออสเตรเลียเกือบทั้งหมดต้องการให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไข พวกเขาต้องการให้ทางแคนเบร์รานั้นแก้ไขมัน แคนเบร์รามีอำนาจที่จะทำได้”

นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสันกล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า เขาจะพิจารณาคำแนะนำต่างๆ จากรายงานของไอพีซีซี แต่ก็ย้ำถึงจุดยืนของรัฐบาล ว่ารัฐบาลนั้น ภายใต้ข้อตกลงปารีสแล้ว

กล่าวว่า ภายใต้ ในปัจจุบัน โลกก็จะเดินหน้าเกินไปกว่าการจำกัดอุณหภูมิให้อยู่ที่ 3 องศาเซลเซียส โดยอย่าได้หวังที่ 1.5 องศา

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 6 December 2018 1:12pm
Updated 6 December 2018 1:21pm
By Biwa Kwan
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News, AAP


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand