สภาออสฯ ผ่านร่าง กม.เก็บค่าเนื้อหาข่าวบนแพลตฟอร์มดิจิทัล

สภาสหพันธรัฐได้ผ่านร่างประมวลกฎหมายการต่อรองของธุรกิจสื่อแล้ว องค์กรคุ้มครองธุรกิจและผู้บริโภคมั่นใจ ประมวลกฎหมายใหม่เสริมอำนาจให้องค์กรสื่อได้เปรียบในข้อตกลงระหว่างบริษัทดิจิทัลแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่

A picture taken on October 1, 2019 in Lille shows the logos of mobile apps Facebook and Google displayed on a tablet

Source: DENIS CHARLET/AFP via Getty Images

25 ก.พ. ประมวลกฎหมายด้านการต่อรองของธุรกิจสื่อ (Media Bargaining Code) ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นครั้งแรกของโลก กำลังจะได้รับการประกาศใช้เป็นกฎหมาย หลังสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบในวันนี้ ต่อเนื่องจากการลงมติเห็นชอบโดยวุฒิสภาเมื่อวานนี้ (24 ก.พ.) ต่อการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายด้านธุรกิจสื่อโดยรัฐบาล ซึ่งเกิดขึ้นหลังการเจรจากับบรรดาบริษัทดิจิทัลแพลตฟอร์มขนาดใหญ่อย่าง กูเกิล (Google) บริการเว็บไซต์สืบค้นข้อมูล และเฟซบุ๊ก (Facebook) เครือข่ายสังคมออนไลน์  

ก่อนหน้านี้ บริษัทดิจิทัลแพลตฟอร์มทั้งสอง ได้ลงนามในข้อตกลงกับองค์กรสื่อต่าง ๆ ก่อนที่การเจรจาต่อรอง จะได้รับการกำหนดไว้เป็นบทบัญญัติในร่างประมวลกฎหมายดังกล่าว 

นายรอด ซิมส์​ (Rod Sims) ประธานคณะกรรมาธิการด้านการแข่งขันทางการค้าและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย (ACCC) ได้แสดงความมั่นใจว่า ประมวลกฎหมายที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างมากนี้ จะสามารถลดทอนพลังอำนาจการตลาดของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ 

กูเกิลและเฟซบุ๊กต้องการสื่อแต่พวกเขาไม่จำเป็นว่าจะต้องการบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งก่อนหน้านี้มันหมายความว่าบรรดาบริษัทสื่อจะไม่สามารถตกลงทางการค้ากับเฟซบุ๊กหรือกูเกิลได้นายซิมส์ กล่าวกับวิทยุเอบีซีในวันนี้ (25 ก.พ.)

จุดประสงค์ของประมวลกฎหมายนี้คือการให้โอกาสในการชี้ขาดสำหรับธุรกิจสื่อซึ่งจะช่วยให้พวกเขาอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบในการต่อรองดังนั้นประมวลกฎหมายนี้จะช่วยเหลือให้ธุรกิจสื่อบรรลุข้อตกลงทางการค้าที่มีความเท่าเทียม

จนถึงขณะนี้ องค์กรสื่อขนาดใหอย่าง นิวส์ คอร์ป (News Corp) และโทรทัศน์ช่อง 9 เป็นผู้รับผลประโยชน์หลักจากข้อตกลงที่ได้มีการลงนามระหว่างบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เหล่านี้ 

นายซิมส์ ระบุว่า เขาไม่ได้รู้สึกประหลาดใจนัก

ในสถานการณ์แบบนี้คุณจะคาดหวังให้ข้อตกลงระหว่างบริษัทที่เป็นตัวเล่นขนาดใหญ่ทางธุรกิจสามารถทำข้อตกลงกับบริษัทเทคโนโลยีเหล่านั้นให้ได้ก่อนจากนั้นก็จะเริ่มเป็นบริษัทขนาดเล็กรองลงมานายซิมส์ กล่าว

หากมองว่าสิ่งนี้เป็นการสนับสนุนงานวารสารศาสตร์มันจะเป็นเรื่องธรรมดาที่จะพบเห็นเม็ดเงินไหลไปยังองค์กรที่มีคนทำข่าวมากที่สุดแต่ผมไม่เห็นเหตุผลใดกับการที่ผู้คนจะสงสัยว่าวงการข่าวจะได้รับผลประโยชน์ทั้งหมด

นายซิมส์ คาดว่า บริษัทเทคโนโลยีออนไลน์เหล่านั้นจะทำข้อตกลงกับองค์กรสื่อขนาดเล็กได้อย่างทันเวลา

ผมเพียงแค่ไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมเฟซบุ๊กและกูเกิลจะละเลยพวกเขาผมไม่เห็นเหตุผลใดว่าทำไมพวกเขาจะไม่ทำสัญญากับองค์กรเหล่านั้นและมันก็ไม่ใช้จำนวนเงินมากมายมหาศาลอะไรหากเทียบกับองค์กรที่ข้อตกลงในราคาสูงและเต็มไปด้วยบรรดาคนทำข่าวมากมายนายซิมส์ กล่าว


คุณอาจสังเกตว่า เอสบีเอส ไทย ไม่มีความเคลื่อนไหวบนเฟซบุ๊ก แต่คุณยังสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเรา ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้ท่านพลาดสถานการณ์ล่าสุด

นอกจากนี้ คุณยังสามารถรับฟังข่าวสารล่าสุดเป็นภาษาไทยผ่านทางวิทยุออนไลน์ได้ที่แอปฯ SBS Radio

Share
Published 25 February 2021 1:21pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand