ในปี 2020 ผู้อพยพมาออสเตรเลียกลับบ้านเกิดเกือบ 6 แสนคน

สถานการณ์โควิด-19 ที่รุนแรงในช่วงปี 2020 ส่งผลให้ผู้อพยพย้ายถิ่นหลายแสนคนในออสเตรเลียเลือกที่จะเดินทางกลับบ้านเกิด ขณะที่มาตรการปิดพรมแดนที่แน่นหนา ดับฝันผู้อพยพจำนวนมากในการกลับมาทำงานอีกครั้ง นักเศรษฐศาสตร์ชี้หากยังคงเป็นเช่นนี้ จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจประเทศในระยะยาว

Temporary migrant

Australian government announces major visa concessions for temporary graduates stuck offshore. Source: AAP

ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวในออสเตรเลีย ซึ่งรวมถึงนักท่องเที่ยว ผู้ถือวีซ่าเวิร์กแอนด์ฮอลิเดย์ นักศึกษาต่างชาติ และผู้ถือวีซ่าทำงาน ได้เดินทางออกจากออสเตรเลียไปเป็นจำนวนนับแสนคน จากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการลดจำนวนประชากรครั้งประวัติศาสตร์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ประเด็นสำคัญ

  • ผู้ถือวีซ่าออสเตรเลียเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดเกือบ 6 แสนคน ในปี 2020
  • ผู้ถือวีซ่าออสเตรเลียจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงนักศึกษาต่างชาติ เดินทางออกจากออสเตรเลีย จากผลกระทบของสถานการณ์ไวรัสโควิด-19
  • ในบรรดาผู้ที่เดินทางออกจากออสเตรเลียเมื่อปีที่ผ่านมา พบ 41,000 คนเป็นคนอินเดีย
ข้อมูลล่าสุดจากหน่วยงานมหาดไทยของออสเตรเลีย ได้แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่เดินทางออกจากออสเตรเลียส่วนมากเป็นผู้มาเยี่ยมเยือนหรือท่องเที่ยว และผู้ถือวีซ่าเวิร์กกิงฮอลิเดย์ และผู้ถือวีซ่าบริดจิงอีกจำนวน 120,000 คน

นอกจากนี้ ยังพบว่าจำนวนผู้ถือวีซ่านักเรียน เมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา มีน้อยกว่าในช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปี 2019 ถึง 31,100 คน

ตัวเลขจากหน่วยงานมหาดไทยยังได้แสดงให้เห็นถึงการลดลงของจำนวนประชากรจำนวนมาก ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่การระบาดใหญ่ไวรัสโคโรนาเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยพบผู้ถือวีซ่าออสเตรเลียเดินทางออกจากประเทศมากถึง 143,000 คน

ความเสียหาย ‘อย่างใหญ่หลวง’ ต่อระบบเศรษฐกิจและจำนวนประชากร

นายอาบูล ริซวี (Abul Rizvi) อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสจากกระทรวงตรวจคนเข้าเมือง ระบุว่า ผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น ถูกซ้ำเติมด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวที่กำลังเดินทางออกจากประเทศเป็นจำนวนมากไม่เดินทางกลับมาอีก เนื่องจากมาตรการปิดพรมแดนที่รัดกุม ซึ่งอนุญาตให้เฉพาะชาวออสเตรเลีย และผู้อาศัยถาวรเท่านั้นที่สามารถเดินทางกลับมาได้ 
Migration program
นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบการลดลงของจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลา 3 เดือนติดต่อกัน มีผู้ถือวีซ่าชั่วคราวเกือบ 143,000 คนที่เดินทางออกจากออสเตรเลีย Source: AAP
เขาได้เสริมอีกว่า 2 อุตสาหกรรมหลัก ๆ ของประเทศ คือ อุตสาหกรรมการศึกษา และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเดินทางออกจากประเทศเป็นจำนวนมากของผู้ถือวีซ่าออสเตรเลียเหล่านี้

“เรากำลังพบกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งได้รายงานการสูญเสียคนทำงานราว 17,000 ตำแหน่ง รวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และเกษตรกรที่กำลังได้รับความเดือดร้อนในการหาคนทำงานภายในฟาร์ม” นายริซวี กล่าว

“ในระยะยาว ผลกระทบดังกล่าว จะทำให้ประชากรของออสเตรเลียเข้าสู่สังคมสูงวัยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สิ่งนี้จะนำไปสู่การเริ่มต้นของอัตราการเสียชีวิตที่มากกว่าอัตราการเกิด แม้ว่าออสเตรเลียจะเป็นชาติพัฒนาแล้วประเทศสุดท้ายที่จะเข้าสู่สังคมสูงวัยก็ตาม”

นายริซวี ได้คาดการณ์ว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นชั่วคราวจะยังคงเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดอย่างต่อเนื่อง จากภาวะ “ความอ่อนแอของตลาดแรงงาน”

“ถ้าพวกเขาหางานไม่ได้ หรือไม่สามารถรักษาตำแหน่งงานของพวกเขาไว้ได้ มันเป็นเรื่องยากมากที่พวกเขาจะมีชีวิตรอดในออสเตรเลีย เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือใด ๆ จากรัฐบาลได้เลย” นายริซวี กล่าว

‘มาตรการปิดพรมแดนจะส่งผลต่อความก้าวหน้าบางส่วนของประเทศในระยะยาว’

ร่างงบประมาณรัฐบาลสหพันธรัฐเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา ระบุว่า อัตราอพยพย้ายถิ่นฐานสุทธิของออสเตรเลียนั้นจะลดลงเข้าสู่แดนลบเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และจะยังไม่ฟื้นตัวมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจะมาถึงไปเป็นเวลามากกว่า 4 ปี

จากรายงานโดย เมื่อปี 2019 พบว่า ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ การอพยพย้ายถิ่นฐานชั่วคราว ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มขึ้นของอัตราการอพยพย้ายถิ่นฐานจากต่างประเทศสุทธิ และจำนวนประชากร โดยคิดเป็น 71% ของการเติบโตของการอพยพย้ายถิ่นฐานสุทธิ ในปีงบประมาณ 2016-17

นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังได้เน้นถึงบทบาทของผู้ถือวีช่าชั่วคราว โดยเฉพาะผู้อพยพย้ายถิ่นที่มีทักษะที่มาเติมช่องว่างในงานที่ต้องใช้ทักษะที่สำคัญ และการมีส่วนร่วมที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจด้วยการจ่ายภาษี และใช้จ่ายภายในชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่

นางแกรบิเอลา เดอซูซา (Gabriela D’Souza) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส หนึ่งในคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งออสเตรเลีย (CEDA) กล่าวว่า ออสเตรเลียมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของการอพยพย้ายถิ่นชั่วคราวของผู้มีทักษะ และกล่าวอีกว่า ไม่ว่าระบบการศึกษาของประเทศจะมีความเพรียบพร้อมเพียงใด มันยังคงมีทักษะและโครงการจำนวนหนึ่ง ที่จะเป็นจะต้องเปิดรับการหลั่งไหลเข้ามาของผู้มีทักษะจากต่างประเทศ  เพื่อให้สามารถดำเนินการและให้เกิดความก้าวหน้าต่อไปได้

“มาตรการปิดพรมแดนในปัจจุบันได้ชะลอความพยายามเหล่านั้น และจะส่งผลต่อความก้าวหน้าของเราบางส่วนในระยะยาว” นางเดอซูซา กล่าว

ยังกังวลที่จะเดินทางกลับมา

ข้อมูลจากหน่วยงานมหาดไทยของออสเตรเลีย ยังเปิดเผยอีกว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นชั่วคราวราว 600,000 คน ที่เดินทางกลับไปยังประเทศบ้านเกิดเมื่อปีที่ผ่านมานั้น คิดเป็นผู้มีพื้นถิ่นมาจากอินเดียเกือบ 41,000 คน โดยส่วนมากเดินทางออกจากออสเตรเลียก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของชาวออสเตรเลียจำนวนมากจากหน้ามือเป็นหลังมือ

หนึ่งในนั้นคือ นางอปูร์วา คาปูร์ (Apoorva Kapoor) ที่อดีตทำงานรายได้ดี ในบริษัทไอทีแห่งหนึ่งในนครเมลเบิร์น และเพิ่งจะเริ่มทยอยจ่ายเงินกู้เรียนคืน ก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศอินเดีย เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
Temp visa holder
นางอปูร์วา คาปูร์ (Apoorva Kapoor) Source: Supplied
หญิงสาวที่ปรึกษาด้านไอที ซึ่งได้ยื่นขอเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรของออสเตรเลียไปด้วยก่อนหน้านี้ กล่าวว่า เธอรู้สึก “กังวลใจ และไร้หนทางที่จะมีใครช่วยเหลือ” เนื่องจากเธอไม่สามารถทำงานจากที่อื่นนอกเหนือจากที่ทำงานได้ แม้ว่าจะมีตำแหน่งงานที่ดี และมีทักษะที่ยอดเยี่ยม ขณะที่วีซ่าทำงานหลังเรียนจบของเธอได้หมดอายุไปนานแล้ว

“ชีวิตของฉันมาถึงจุดที่ทุกอย่างหยุดอยู่กับที่ มันสำคัญกับฉันมากที่วีซ่าทำงานหลังเรียนจบ (Subclass 485) ของฉันจะยังมีผล และสามารถใช้เดินทางกลับมาทำงานในออสเตรเลียได้ ซึ่งนั่นจะทำให้วีซ่าของฉันยังใช้ได้อยู่แม้ว่ามันจะหมดอายุไปแล้ว” นางคาปูร์ กล่าว


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร 

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้อยู่บ้านและติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

ไขข้อข้องใจกับทุกความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19


Share
Published 17 February 2021 4:14pm
Updated 17 February 2021 4:34pm
By Avneet Arora
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand