เฮย์ ฟีเวอร์กับโควิด-19 มีอาการเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิด แพทย์ทั่วไปในเมลเบิร์น ให้คำแนะนำว่าเราจะบอกความแตกต่างระหว่างอาการของเฮย์ ฟีเวอร์ (การแพ้เกสรหรือละอองจากพืช) กับการติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างไร พร้อมฝากถึงการป้องกันตัวเองจากพายุฝน thunder storm asthma ซึ่งอาจทำให้บางคนเกิดอาการหอบหืดเฉียบพลันจนมีอันตรายถึงชีวิต

Hay Fever

Woman Blowing Her Nose Source: Moodboard

ช่วงฤดูใบไม้ผลิที่เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกันยายนเรื่อยไปจนฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่คนที่มีอาการแพ้เกสรหรือละอองจากพืช หรือ เฮย์ ฟีเวอร์ในออสเตรเลียมีอาการกำเริบเป็นประจำทุกปี แต่การแพร่เชื้อของไวรัสโควิด-19ในปีนี้ทำให้สถานการณ์ของคนที่เป็นเฮย์ ฟีเวอร์ มีความซับซ้อนมากขึ้นเพราะเฮย์ ฟีเวอร์และโควิด-19 มีอาการบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน 

พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิด แพทย์ทั่วไปในเมลเบิร์นให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของสองโรคนี้และแนวทางการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย

ฟังการพูดคุยกับ พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิดทั้งหมดได้ที่นี่
LISTEN TO
Is it hay fever or COVID symptoms? image

คุณติดโควิดหรือแค่มีอาการของเฮย์ ฟีเวอร์?

SBS Thai

02/10/202016:05
บางครั้งอาการของเฮย์ ฟีเวอร์และอาการของไวรัสโควิด-19 แยกได้ยากเพราะทั้ง 2 โรคมีอาการบางอย่างคล้ายคลึงกัน พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิด อธิบายว่าอาการของเฮย์ ฟีเวอร์อย่างที่คนที่เคยเป็นจะทราบดีว่าส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะอาการน้ำมูกไหล มีอาการจาม คันตา คันจมูกและอาจจะคันคอด้วยนี่คืออาการทั่วไปของ เฮย์ ฟีเวอร์
ความจริงก็แยกได้ยากมากกับอาการของโควิด-19 เพราะมีอาการบางอย่างที่คล้ายกันเช่น อาการไอ คัดจมูก หรือปวดหัวที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งการเป็นเฮย์ ฟีเวอร์และโควิด-19
แต่อย่างไรก็ตามไวรัส โควิด-19 ก็มีอาการเฉพาะตัวที่แตกต่างไป พญ.ศิราภรณ์ ให้ข้อมูลว่า
อาการที่เข้าข่ายเป็นโควิด-19 มากกว่า ก็คือ มีไข้ หนาวสั่น เสียการรับรส หรือรับกลิ่น หายใจติดขัดลำบาก เจ็บคออย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย เหล่านี้เป็นอาการสำคัญของโควิด-19
หากคุณมีอาการที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่กล่าวมาข้างต้นและไม่แน่ใจว่าเป็นอาการของเฮย์ ฟีเวอร์หรืออาการของไวรัส โควิด-19 พญ.ศิราภรณ์ แนะนำว่าคุณควรไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทันที และไม่จำเป็นต้องกินยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการ
รัฐบาลมีการรณรงค์ว่าไม่ว่าใครก็ตามที่มีอาการของโรคทางเดินหายใจไม่ว่าจะเป็นเฮย์ ฟีเวอร์ เป็นหวัด หรือเป็นโควิด อาการใดก็ตาม ก็ให้ตรวจหาเชื้อโควิดทันที
ในระหว่างที่คุณรอผลตรวจโควิดซึ่งปัจจุบันใช้เวลาเพียง 1-2 วันเท่านั้น พญ.ศิราภรณ์ย้ำว่า คุณควรมีการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันคนรอบข้างเช่นเดียวกับอาการของไวรัสโควิด-19 เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การแยกของใช้ส่วนตัว การแยกตัวจากผู้อื่น การไอการจามให้ป็นที่เป็นทางและการล้างมือให้สะอาด เป็นการป้องกันโดยรวมทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเฮย์ ฟีเวอร์หรือติดเชื้อโควิด

เมื่อคุณได้รับรายงานผลตรวจเชื้อโควิด-19 แล้วและพบว่าไม่ได้ติดเชื้อไวรัสจึงทำการรักษาอาการของเฮย์ ฟีเวอร์ต่อไป หากมีอาการไม่รุนแรงมากนัก พญ.ศิราภรณ์ ได้แนะนำแนวทางการรักษาตัว
สามารถใช้ยาพ่นจมูกเพื่อลดอาการและป้องกันไม่ให้มีอาการเฮย์ ฟีเวอร์เพิ่มมากขึ้น หรือการรับประทานยาแก้แพ้ ยาหยอดตา อย่างไรก็ตามแนวทางการรักษาตัวนี้ขึ้นอยู่กับอาการเฉพาะตัวของแต่ละคน
หากคุณต้องการไปรับคำปรึกษาจากแพทย์สามารถติดต่อแพทย์ทั่วไปหรือ GP ประจำตัวคุณได้ แต่ถ้าหากท่านใดอาศัยอยู่ในนครเมลเบิร์นและอยู่ในช่วงล็อกดาวน์ พญ.ศิราภรณ์ ชี้ว่าคุณสามารถโทรศัพท์ไปปรึกษาแพทย์ที่คลินิกใกล้บ้านหรือสามารถใช้วิดีโอคอลกับแพทย์เพื่อประเมินอาการเบื้องต้นเพื่อจะวินิจฉัยวิธีการรักษาต่อไป
การไปพบแพทย์ยังมีความปลอดภัยแต่ว่าแต่ละคลินิกมีการจัดการที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะไม่รับคนไข้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจในลักษณะ Face-to-Face แต่รัฐบาลมีการจัดการบริการเมดิแคร์ในลักษณะของ telehealth คือการคุยทางโทรศัพท์หรือทางวิดีโอกับแพทย์ได้ เพราะจะเป็นการวินิจฉัยอาการเบื้องต้นเพื่อประเมินหาแนวทางรักษาต่อไป
หรือถ้าคุณต้องการไปตรวจแบบตัวต่อตัวกับแพทย์ พญ.ศิราภรณ์ แนะนำว่าคุณสามารถติดต่อคลีนิกโรคทางเดินหายใจใกล้บ้านซึ่งสามารถค้นหาได้จาก
มีคลินิกโรคทางเดินหายใจในแต่ละ suburb มีรายชื่ออยู่ในเว็บไซต์ DHHS คลินิกเฉพาะเหล่านี้จะมีการอนุญาติให้คนที่ไปตรวจ Face - to- Face กับแพทย์ได้ ถ้าไม่แน่ใจก็สามารถโทรคุยกับ GP ได้
โปรดติดตามฟังบทสัมภาษณ์ของ พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิดทั้งหมด เพื่อฟังเรื่องของ พายุฝน thunder storm asthma ว่ามีอันตรายอย่างไรและคนกลุ่มใดบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะนี้ พร้อมทั้งวิธีการป้องกันตัวเองจากภาวะหอบหืดเฉียบพลันจากพายุชนิดนี้

 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 


 

 

 

 


Share
Published 20 October 2020 9:43pm
Updated 19 January 2021 11:45am
By Parisuth Sodsai
Presented by Chayada Powell
Source: SBS Thai

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand