ปมผวาโควิด-19 ทำแพทย์ไอซียูในซิดนีย์ถูกไล่จากบ้านเช่า

แพทย์ไอซียูในซิดนีย์ถูกไล่ออกจากบ้านเช่า จากความหวาดกลัวสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 เรียกร้องความชัดเจนของนโยบายรัฐ ในการจัดสรรที่อยู่อาศัยฟรีสำหรับคนทำงานด้านสุขภาพ

Hannah's was asked to leave her share house because of coronavirus fears.

Hannah was asked to leave her share house because of coronavirus fears. Source: SBS News

แฮนนา (ชื่อสมมุติ) ตกใจอย่างมาก เมื่อผู้ปล่อยบ้านแชร์ให้เช่าซื่งเธออยู่อาศัยมาเป็นเวลา 9 เดือน เรียกเธอไปพบ ระหว่างที่กำลังดูข่าวภาคค่ำ เพื่อที่จะบอกเธอให้ย้ายออกไปจากที่นี่

“ฉันรู้สึกว่าไม่ได้ทันตั้งตัว ฉันไม่เคยมีปัญหาอะไรระหว่างอยู่ที่นี่เลย ก่อนหน้านี้ความสัมพันธ์ของฉันกับผู้ปล่อยเช่าก็ยังดีอยู่” เธอกล่าวกับเอสบีเอส นิวส์

“เธอพูดอย่างเดียวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาแย่ลงจริง ๆ ฉันคิดว่าเธอคงอยู่ที่นี่ต่อไปไม่ได้”

เธอเชื่อว่า ความหวาดกลัวของผู้ปล่อยเช่านั้นมาจากงานที่เธอทำ ในฐานะเจ้าหน้าที่แพทย์แผนกผู้ป่วยหนัก (ไอซียู)

ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เธอไม่เคยพบกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 แต่ความไม่แน่นอนของการแพร่กระจายของไวรัสนี้ ประกอบกับข่าวสารต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า ​สถานการณ์มีความตึงเครียดเพียงใดในประเทศอื่น ๆ อย่างเช่น อิตาลี และสหรัฐฯ ทั้งหมดนี้เติมเชื้อไฟให้เกิดความกังวล

“ในวันถัดมา ฉันนั่งคุยกับเธอ เพื่ออธิบายให้เธอฟังว่า ฉันต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือการปนเปื้อน ทุกขั้นตอนที่ฉันทำ เพื่อให้แน่ใจว่าเธอจะปลอดภัย รวมถึงคนอื่น ๆ และตัวฉันเองด้วย เธอบอกว่า เธอก็รู้สึกดีคำตอบของฉัน ซึ่งทำให้ฉันสามารถอยู่ต่อได้” คุณแฮนนาเล่า 

“แต่สัปดาห์ถัดมา ฉันได้รับข้อความทางโทรศัพท์ เธอถามฉันว่า ทำไมยังไม่ย้ายออกไปอีก เธอต้องการให้ฉันย้ายออกไปจากที่นี่ทันที”
Health workers have been offered temporary accommodation in NSW.
Health workers have been offered temporary accommodation in NSW. Source: AAP
คุณแฮนนาบอกว่า เธอรู้สึกผิดหวัง

“ฉันไม่เข้าใจว่าทำไมเธอถึงทำแบบนี้ ฉันจะเข้าใจเธอมากกว่านี้ ถ้าหากเธอ หรือเพื่อนบ้านคนอื่น ๆ อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง แต่ถึงกระนั้น เพื่อนบ้านของฉันก็ยังอายุน้อย แล้วก็ทำงานเต็มเวลา ซึ่งเป็นงานที่ต้องติดต่อกับผู้คนแปลกหน้าทุกวันด้วย” คุณแฮนนากล่าว

“ตอนแรกฉันรู้สึกว่าฉันได้งานที่มั่นคงที่สุด เพราะฉันทำงานในแผนกที่มีความมิดชิด ผู้ป่วยทุกคนที่มาในแผนกนี้ผ่านการคัดกรองเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว”

นโยบายห้ามไล่ผู้เช่าก็ไม่ครอบคลุม

คุณแฮนนากล่าวว่า การหาที่อยู่ใหม่ในช่วงกลางเดือนเมษายน คือประสบการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในเส้นทางอาชีพของเธอ

“มันเลวร้ายมาก เพราะฉันต้องทำงานหลายชั่วโมง แล้วก็มีมาตรการจำกัดไม่ให้ไปดูบ้านเนื่องจากการระบาดใหญ่ ฉันรู้สึกถึงแรงกดดันในการต้องย้ายออกไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉันรู้สึกว่าที่นี่ไม่ต้อนรับ ฉันหมดหวัง” คุณแฮนนากล่าว

คุณลีโอ แพทเทอร์สัน รอส (Leo Patterson Ross) ที่ปรึกษาด้านนโยบายอาวุโส จากสหภาพผู้เช่ารัฐนิวเซาท์เวลส์ บอกกับเอสบีเอส นิวส์ ว่า ความเป็นอยู่ของแฮนนานั้น หมายถึง การไม่ได้รับการคุ้มครองในฐานะ “ผู้เช่า” ดังนั้น นโยบายคุ้มครองผู้เช่าใด ๆ เช่น นโยบายห้ามไล่ผู้เช่าที่เพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้ จะไม่มีผลสำหรับเธอ

“หากคุณอาศัยอยู่กับผู้ปล่อยเช่านั้น สรุปได้ว่า คุณไม่ใช่ผู้เช่า คุณก็ไม่มีข้อตกลงระหว่างผู้เช่าที่พักอาศัยและผู้ปล่อยเช่น และคุณก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง ตามประมวลกฎหมายผู้เช่าที่พักอาศัย (Residential Tenancies Act) และคุณก็จะไม่ได้รับการปกป้องใด ๆ เลย” คุณรอส ที่ปรึกษาด้านนโยบายอาวุโสจากสหภาพผู้เช่ารัฐนิวเซาท์เวลส์กล่าว

“ทั่วออสเตรเลีย มีคนนับหมื่นที่อาศัยอยู่โดยไม่มีข้อตกลงระหว่างผู้ปล่อยเช่าและผู้เช่าที่พักอาศัยอย่างถูกต้อง และถึงแม้ในกรณีของเธอจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้เช่า นโยบายห้ามไล่ผู้เช่าก็ไม่สามารถช่วยเธอได้ เนื่องจากเธอถูกไล่ออกจากสถานที่ให้เช่าด้วยเหตุผลอื่น นอกเหนือจากความเดือดร้อนทางการเงิน อันเป็นผลกระทบการแพระบาดของไวรัสโควิด-19”

เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัฐบาลรัฐนิวเซาท์เวลส์ ได้ประกาศว่า จะจัดเตรียมที่พักให้กับคนทำงานด้านสุขภาพในแนวหน้า ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เพื่อต่อสู้กับวิกฤตไวรัสโคโรนา เช่น แพทย์ พยาบาล หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน รวมถึงเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องในโรงพยาบาล และรถพยาบาลฉุกเฉิน ซึ่งยังจะช่วยปกป้องครอบครัวของพวกเขาให้ปลอดภัยจากวิกฤตไวรัสอีกด้วย

นางแกลดีส์ เบเรจิเกลียน มุขมนตรีรัฐนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่า รัฐบาลจะใช้จ่ายงบประมาณจำนวนกว่า $60 ล้านดอลลาร์ ในการจัดหาที่พักสำหรับคนทำงานด้านสุขภาพซึ่งมีความกังวลว่า อาจทำให้ชีวิตของคนรอบข้างตกอยู่ในความเสี่ยง แต่คุณแฮนนาบอกว่า เธอได้รับการจัดสรรที่พักเพียงระยะสั้นในโรงพยาบาล และเธอต้องจ่ายถึงคืนละ $220 ดอลลาร์

“ฉันไม่คิดว่านั้นจะเป็นสิ่งที่คุ้มค่า ในการย้ายไปอยู่ที่ใดสักแห่งเป็นเวลาชั่วคราวด้วยราคาแบบนั้น มันจะดีกว่าถ้าฉันหาที่อยู่อื่นในระยะยาว” คุณแฮนนากล่าว

“ฉันเคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องการสนับสนุนที่พักอาศัยฟรี เพื่อนของฉันเคยส่งบทความจากสื่อให้ฉันอ่านอยู่หลายครั้ง แต่ไม่มีใครรู้ว่าจะเข้าถึงบริการนี้ได้อย่างไร”
A for lease sign is displayed in front of a house in Sydney on Wednesday, April 26, 2017. (AAP Image/Paul Miller) NO ARCHIVING
Source: AAP
เอสบีเอส นิวส์ ได้ติดต่อสอบถามไปยังหน่วยงานสาธารณสุขรัฐนิวเซาท์เวลส์ โดยได้รับคำตอบกลับมาว่า หน่วยงานดังกล่าว ได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอที่พักอาศัยชั่วคราว และอาหารฟรี เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (5 พ.ค.) ซึ่งเป็นเวลาหนึ่งเดือน หลังจากรัฐบาลรัฐนิวเซาท์เวลส์ประกาศนโยบายดังกล่าว

“เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพที่ต้องการที่พักอาศัยชั่วคราว ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ควรติดต่อหน่วยงานด้านสุขภาพที่ตนทำงานอยู่ เพื่อจัดการสำรองที่พักอาศัยในพื้นที่ท้องถิ่น” แถลงการณ์จากโฆษกหน่วยงานด้านสาธารณสุขรัฐนิวเซาท์เวลส์ระบุ 

“เขตสุขภาพท้องถิ่นจะประเมินคำร้องจากเจ้าหน้าที่ซึ่งสังกัดในหน่วยงานในการจัดสรรที่พักอาศัยชั่วคราว โดยใช้การประเมินบนพื้นฐานของความเสี่ยง ซึ่งจะพิจารณาจากกรณีต่าง ๆ ของผู้ปฏิบัติงานรายนั้น”

โฆษกหน่วยงานด้านสาธารณสุขรัฐนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพเริ่มรับข้อเสนอในการจัดสรรที่พักอาศัยฟรี ซึ่งได้รับการจองไว้ผ่านระบบบริการจัดการเดินทางที่มีอยู่แล้ว

แต่คุณแฮนนา กล่าวว่า เธอยังรู้สึกไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อเสนอดังกล่าว

“ฉันรู้สึกว่า มันจะต้องเชื่อมโยงระหว่างตัวโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ รวมถึงรัฐบาลซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายเหล่านี้ แต่ความเชื่อมโยงในการทยอยทำให้แพทย์ที่ประสบเหตุการณ์เดียวกันนี้ ได้รับการจัดสรรที่อยู่นั้นอยู่ที่ไหนกัน ไม่ได้มีเพียงฉันเพียงคนเดียวที่พบเจอเหตุการณ์ในลักษณะนี้” คุณแฮนนากล่าว

คุณแดเนียล แม็กมัลเลน (Daniel McMullen) จากสมาคมเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพแห่งออสเตรเลีย รัฐนิวเซาท์เวลส์ ได้ออกมากระตุ้นให้คนทำงานด้านสุขภาพที่ต้องการที่พักอาศัยในลักษณะเดียวกับโครงการนี้ ออกมายื่นขอรับการจัดสรร

“ถ้าพวกเขามีความยากลำบาก พวกเขาสามารถติดต่อหน่วยงาน อย่างเช่น สมาคมเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพแห่งออสเตรเลีย (AMA) เราสามารถช่วยเหลือในขั้นตอนเหล่านี้ได้” คุณแม็กมัลเลนกล่าว

“การได้มันมาอาจดูคลุมเครือ แต่อย่างไรแล้ว มันก็ยังมีหนทางในการรับความช่วยเหลือในส่วนนี้”

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร ให้ตรวจสอบข้อจำกัดในรัฐของคุณเกี่ยวกับการรวมกลุ่มกัน

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ

เอสบีเอสมุ่งมั่นให้ข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 แก่ชุมชนหลากหลายภาษาในออสเตรเลีย เรามีข่าวและข้อมูลเป็นภาษาต่างๆ 63 ภาษาที่เว็บไซต์ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 7 May 2020 6:00pm
Updated 7 May 2020 6:27pm
By Lin Evlin
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand