ผู้ย้ายถิ่นพบความยากลำบากในการรับบริการสุขภาพในออสเตรเลีย นี่คือเหตุผลว่าทำไม

ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยในออสเตรเลียเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ เช่น อุปสรรคทางภาษา เมื่อต้องเข้าถึงการดูแลสุขภาพ บรรดากระบอกเสียงสำหรับชุมชนหลากวัฒนธรรม กล่าว

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าระบบการรักษาพยาบาลในออสเตรเลียถูกจัดตั้งขึ้นสำหรับผู้ที่พูดภาษาอังกฤษและอาจไม่ได้คำนึงถึงชุมชนผู้ย้ายถิ่นฐาน

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าระบบการรักษาพยาบาลในออสเตรเลียถูกจัดตั้งขึ้นสำหรับผู้ที่พูดภาษาอังกฤษและอาจไม่ได้คำนึงถึงชุมชนผู้ย้ายถิ่นฐาน Source: SBS News

รายงานฉบับใหม่โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยหลายล้านคนทั่วโลกกำลังประสบกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ย่ำแย่กว่าผู้ทั่วไปในชุมชนที่พวกเขาย้ายเข้าไปอยู่ใหม่

ในออสเตรเลีย นอกเหนือจากพลเมืองออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ผู้อยู่อาศัยถาวรและผู้ยื่นสมัครเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร ผู้ถือวีซ่าอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง และผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยบางกลุ่ม มีสิทธิ์ได้รับสิทธิประโยชน์จากเมดิแคร์ (Medicare)

แม้ว่านักศึกษาต่างชาติจะไม่มีสิทธิ์มีบัตรเมดิแคร์ แต่พวกเขาได้รับการคุ้มครองจากประกันสุขภาพสำหรับนักเรียนต่างชาติ ซึ่งมีให้เลือกซื้อได้จากบริษัทประกันสุขภาพบางแห่ง โดยซึ่งค่าเบี้ยประกันต่ำสุดคือ 478 ดอลลาร์ สำหรับระยะเวลา 12 เดือน สำหรับคนโสด

แต่จากความเห็นของหนึ่งในกระบอกเสียงของชุมชนหลากหลายวัฒนธรรม อย่างคุณ ริตา ปราซาด-อิลเดส จาก World Wellness Group ในรัฐควีนส์แลนด์ เธอกล่าวว่า แม้แต่ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยที่สามารถเข้าถึงเมดิแคร์ได้ก็ต้องเผชิญกับ “ปัญหาที่สำคัญต่างๆ”

“มีปัญหาและความท้าทายที่สำคัญสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล” คุณปราซาด-อิลเดส ผู้มีเชื้อสายดัตช์และฟิจิ-อินเดียน กล่าวกับ เอสบีเอส นิวส์

เรื่องการเงินเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาเท่านั้น โดยการไปปรึกษาแพทย์ทั่วไป (GP) อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายร้อยดอลลาร์สำหรับผู้ที่ไม่มีเมดิแคร์

คุณเด็บ สตริงเกอร์ ประธานกรรมการบริหาร ของสมาคมผู้ลี้ภัยแห่งอออสเตรเลีย (Australian Refugee Association) กล่าวว่าอุปสรรคทางภาษาเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด

“ระบบ (การดูแลสุขภาพ) ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นสำหรับผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษมาทั้งชีวิต” คุณสตริงเกอร์บอกกับเอสบีเอส นิวส์
ระบบ (การดูแลสุขภาพ) ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นสำหรับผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษมาทั้งชีวิต
“ฉันไม่คิดว่าได้มีการคำนึงถึงอย่างเพียงพอเกี่ยวกับการบริการทุกคนในออสเตรเลีย ที่ขณะนี้เป็นผู้พำนักอาศัยในออสเตรเลีย ซึ่งภาษาแม่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษและเป็นผู้ที่ไม่ได้เติบโตขึ้นมาในระบบสุขภาพของสังคมตะวันตก”

“ภาคส่วนการดูแลสุขภาพสามารถทำอะไรได้อีกมากเพื่อทำให้โครงการต่างๆ นั้นครอบคลุมผู้คนมากขึ้น”

ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 สูงกว่า 3 เท่าในหมู่ชาวออสเตรเลียที่เกิดในต่างประเทศ

คุณ ปราซาด-อิลเดส กล่าวว่าอัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 ในออสเตรเลียชี้ให้เห็นว่าผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยด้อยโอกาสกว่าอย่างมากในเรื่องการรักษาพยาบาล

เธออ้างถึงข้อมูลของสำนักสถิติแห่งออสเตรเลียที่เผยแพร่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวออสเตรเลียที่เกิดในต่างประเทศเสียชีวิตจากโควิด-19 ในอัตรา 3 เท่าของผู้ที่เกิดในออสเตรเลีย

“สำหรับในบางชุมชน เช่น ชุมชนชาวตะวันออกกลาง (อัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19) สูงกว่า 10 เท่า” คุณปราซาด-อิลเดส กล่าว
คุณ ริตา ปราซาด-อิลเดส จาก World Wellness Group ในรัฐควีนส์แลนด์
คุณ ริตา ปราซาด-อิลเดส จาก World Wellness Group ในรัฐควีนส์แลนด์ Source: SBS News
คุณ สตริงเกอร์ กล่าวว่า การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 แก่ประชาชนเป็น “ตัวอย่างที่ดีทีเดียวที่สารด้านสุขภาพไม่ได้เข้าถึงชุมชนเหล่านี้ได้อย่างดี”

“อย่างแรกเลย ในช่วงแรกๆ การแปลบางส่วนนั้นไม่ถูกต้อง” คุณ สตริงเกอร์ กล่าว

"(จากนั้น) มีความคาดหวังว่าผู้คนสามารถหาเส้นทางในระบบออนไลน์ที่ซับซ้อนเพื่อจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งไม่สามารถเป็นไปได้สำหรับบางชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ แทบไม่ต้องพูดถึงเรื่องความรู้ด้านดิจิทัล"

คุณ สตริงเกอร์ กล่าวว่าข้อมูลมหาศาลถูกทุ่มลงไปในชุมชน แต่มี "ความเข้าใจน้อยมากว่าแต่ละชุมชนเข้าถึงข้อมูลอย่างไร"

รายงานขององค์การอนามัยโลกพูดว่าอะไร?

ผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัย “ไม่ได้มีสุขภาพที่แย่กว่าอันเนื่องมาจากพันธุกรรม” รายงานเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่นฐานในระดับโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าว

แต่ปัจจัยต่างๆ เช่น การศึกษา รายได้ ที่อยู่อาศัย และการเข้าถึงบริการต่างๆ ส่งผลให้ผู้คนของชุมชนเหล่านี้มีสุขภาพที่แย่กว่า

รายงานระบุว่าสถานการณ์นี้นั้นรุนแรงขึ้นไปอีก จากอุปสรรคด้านภาษา วัฒนธรรม และกฎหมาย

กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?

คุณ ปราซาด-อิลเดส กล่าวว่า รัฐบาลกำลังดำเนินการบางอย่างเพื่อแก้ไขปัญหานี้

World Wellness Group ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหพันธรัฐ และมีฐานการดำเนินการในบริสเบน ได้เปิดตัวโทรศัพท์สายด่วนด้านสุขภาพที่มุ่งเน้นชุมชนหลากวัฒนธรรมโดยเฉพาะ ที่เรียกว่า

“นี่เป็นโครงการนำร่องระดับชาติ ที่ขณะนี้เปิดตัวให้ใช้บริการแล้วในรัฐวิกตอเรีย และจะทยอยเปิดให้บริการทั่วออสเตรเลีย” คุณ ปราซาด-อิลเดส กล่าว

"นี่เป็นสายข้อมูลด้านสุขภาพสำหรับชุมชนพหุวัฒนธรรมในออสเตรเลียโดยเฉพาะ ที่ให้ข้อมูลด้านสุขภาพและคำแนะนำเป็นภาษาต่างๆ"

ในแถลงการณ์ถึงเอสบีเอส นิวส์ โฆษกของกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่าชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษา และเชื้อชาติ ถูกระบุว่าเป็นประชากรกลุ่มที่จะได้รับความสำคัญอันดับแรกในยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติระดับชาติ ซึ่งได้ตระหนักถึงความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพที่กลุ่มคนเหล่านี้ประสบ

“ขณะนี้กระทรวงกำลังทำงานร่วมกับ Healthdirect เพื่อจัดโครงการนำร่องโทรศัพท์สายด่วนสำหรับชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม โดยจัดให้เป็นพิเศษแก่ผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาจากชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม คาดว่าสายด่วนนี้จะปรับปรุงการหาข้อมูลในระบบสุขภาพและการเข้าถึงคำแนะนำด้านสุขภาพสำหรับปัญหาที่พบมากในชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม”

บริการ ที่ให้ข้อมูลและคำแนะนำด้านสุขภาพเป็นภาษาต่างๆ 160 ภาษา ในเบื้องต้นนั้นมีให้บริการแล้วสำหรับประชาชนในรัฐวิกตอเรีย ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1800 186 815 โดยให้บริการระหว่างเวลา 11:30-20:00 น. ทุกวัน


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 22 July 2022 4:35pm
Updated 22 July 2022 4:51pm
By Akash Arora
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand