รู้จักกล้องจราจรในแต่ละรัฐ ก่อนออกไปโร้ดทริปช่วงซัมเมอร์นี้

กล้องตรวจความปลอดภัยเคลื่อนที่สามารถตรวจจับได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะใช้เพื่อตรวจจับความเร็วไปจนถึงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่ แต่ใครรู้บ้างว่าแท้จริงแล้ว กล้องตรวจจับเหล่านี้ทำงานอย่างไร?

A mobile speed camera on the edge of a highway.

กล้องตรวจความปลอดภัยจราจรทำหน้าที่ตรวจจับความเร็วและพฤติกรรมการขับขี่ที่อันตรายบนท้องถนนนี้ใช้งานได้ทั้งแบบเคลื่อนที่ได้และแบบล็อคอยู่กับที่ Source: AAP / Dave Hunt Source: AAP / Dave Hunt

Key Points
  • มากกว่า 1,200 คนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถชนทุกปีในออสเตรเลีย และยังไม่มีทีท่าว่าตัวเลขจะลดลง
  • การใช้งานของกล้องตรวจความปลอดภัยจราจรถือเป็นสิ่งสำคัญบนท้องถนนในการควบคุมความปลอดภัยบนท้องถนน
  • ผลวิจัยเผย กล้องตรวจความปลอดภัยจราจรช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บร้ายแรงบนท้องถนนและการเฉี่ยวชนอันถึงแก่ชีวิตได้ราว 20 เปอร์เซ็นต์
ในขณะที่คุณกำลังขับรถเที่ยวเพื่อไปเยือนสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงฤดูร้อนนี้ คุณจะได้พบเห็นเครื่องยนต์หน้าตาประหลาดสีขาวหรือสีเหลืองอยู่ตามทางบนท้องถนนได้ไม่ยาก

ซึ่งเจ้าเครื่องบนต์หน้าตาประหลาดนี้เองอาจมาพร้อมกับกล้องติดตั้งอยู่ที่ด้านบน หรือมาพร้อมกับป้ายไฟแสดงคำเตือนเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน

นั่นก็คือกล้องตรวจความปลอดภัยบนท้องถนนที่จะคอยทำหน้าที่คอยสอดส่องทุกพฤติกรรมของเหล่าคนขับ ตั้งแต่ความเร็วในการขับขี่ พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ และไปจนถึงการขับขี่โดยไม่คาดเข็มขัดนิรภัย

หากคุณนึกออกแล้วว่าเคยพบเจอเจ้ากล้องเหล่านี้ คุณทราบหรือไม่ว่ามันทำงานอย่างไร?

ตัวเลขที่ไม่มีทีท่าจะลดลง

ในออสเตรเลีย มีผู้เสียชีวิตมากถึง 1,200 คนต่อปีจากอุบัติเหตุรถชนบนท้องถนน

ตัวเลขของผู้ได้รับบาดเจ็บบนท้องถนนยังเพิ่มขึ้นอีกเช่นกันจาก 34,000 รายในปี 2554 เป็น 39,000 ในปี 2562 (ถึงแม้ว่าจะตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้จะสามารถอธิบายได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงการรายงานตัวเลขจากทางโรงพยาบาล)

แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่น่าตกใจที่ตัวเลขเหล่านี้ไม่มีสัญญาณว่าจะลดลงแต่อย่างใด
LISTEN TO
Thai_160123_Feature-Smart traffic.mp3 image

ออสเตรเลียใกล้เปิดตัวระบบจราจรอัจฉริยะ

SBS Thai

16/01/202311:15
มีการตระหนักอย่างกว้างขวางว่าพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย อาทิ การขับขี่เร็วเกินกำหนด การดื่มเครื่องดื่มมึนเมาและใช้สารเสพติดขณะขับรถ และการโดนรบกวนระหว่างขับขี่นั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุรถชนได้

การละเลยในการคาดเข็มขัดนิรภัยก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงในอุบัติเหตุดังกล่าวด้วยเช่นกัน

เพื่อลดความรุนแรงบนท้องถนนจากพฤติกรรมเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องเพิ่มข้อบังคับกฏเกณฑ์การใช้ท้องถนนที่เพิ่มขึ้นไปพร้อม ๆ กับการจูงใจให้คนระมัดระวังในการขับขี่ให้ปลอดภัยมากขึ้นด้วย โดยการใช้กล้องตรวจความปลอดภัยจราจรนี้ได้เป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญอีกด้วย

รู้จักความเป็นมาของกล้องจราจร

กล้องตรวจความปลอดภัยจราจรเหล่านี้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในออสเตรเลียเมื่อปี 2528 โดยเดิมทีได้นำมาใช้เพื่อตรวจจับความเร็วของยานพาหนะในรัฐวิกตอเรีย

นับตั้งแต่นั้นมา การใช้งานกล้องจราจรเหล่านี้ได้มีการเพิ่มฟังก์ชันแสดงจราจรควบคู่กับการตรวจจับความเร็วไปพร้อมกัน และยังได้มีการเพิ่มความสามารถให้เคลื่อนย้ายตำแหน่งการจัดวางกล้องเหล่านี้ไปตามจุดต่าง ๆ ได้ ไปจนถึงการตรวจจับความเร็วแบบ point-to-point หรือวัดความเร็วเฉลี่ยระหว่างระยะทางหนึ่งได้

ในช่วงสามปีที่ผ่านมา กล้องตรวจจับโทรศัพท์มือถือได้ถูกเริ่มนำมาใช้ในรัฐนิว เซาท์ เวลส์​ รัฐควีนส์แลนด์ รัฐวิกตอเรีย มณฑลนครหลวงออสเตรเลีย (ACT) และแทสมาเนีย และกำลังจะเริ่มนำมาใช้ในรัฐออสเตรเลียใจในเร็ว ๆ นี้ ส่วนทางด้านเวสเทิร์น ออสเตรเลียนั้นกำลังอยู่ในช่วงทดลองใช้อยู่ด้วยเช่นกัน

โดยในขณะนี้ รัฐควีนส์แลนด์และแทสมาเนียเป็นเพียงสองรัฐที่จะนำมาเพื่อใช้ในการบังคับใช้เข็มขัดนิรภัย และในรัฐนิว เซาท์ เวลส์ เองก็มีแพลนจะใช้กล้องตรวจจับการคาดเข็มขัดนิรภัยภายในปี 2567 นี้

เรื่องราวอื่นที่น่าสนใจ

รู้จักกฎจราจรสุดแปลกของออสเตรเลีย

กล้องตรวจความปลอดภัยจราจร ไม่ว่าจะใช้เพื่อการตรวจจับความเร็วหรือตรวจจับพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย ก็สามารถพบเจอได้ทั้งติดตั้งแบบยึดอยู่กับที่หรือแบบเคลื่อนที่

โดยกล้องที่ถูกติดตั้งแบบอยู่กับที่น้ันจะทำงานตรวจจับอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง แต่จะมีหน้าที่หลักคือจับความเร็วและการฝ่าไฟแดง

ส่วนกล้องจราจรแบบเคลื่อนที่ที่คุณพบเห็นได้ตามข้างทางบนถนนนั้น มีปรากฏให้เห็นทั้งแบบติดตั้งบนรถเทรลเลอร์ บนรถยนต์หรือแม้แต่บนขาตั้งกล้องก็ได้ทั้งนั้น
กล้องตรวจความปลอดภัยจราจรที่ถูกติดตั้งบนรถเทรลเลอร์สามารถวางทิ้งไว้ได้นานกว่าวิธีการติดตั้งแบบอื่น และมักจะติดตั้งไว้พร้อมกับอุปกรณ์อื่นร่วมด้วย เช่น สัญญาณกันขโมย กล้องวงจรปิด หรือแม้แต่กรอบกำบังที่แข็งแรง (บางครั้งเป็นวัสดุกันกระสุน) เพื่อป้องกันการกระแทกหรือการลอบทำลายทรัพย์สินของรัฐ

จุดสำคัญที่นิยมติดตั้งกลอฃ้องประเภทนี้มักเป็นจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง หรือเป็นจุดที่น่าเป็นห่วง อาทิ จุดที่คนมักใช้ความเร็วเกินกำหนด เป็นต้น

กล้องจราจรทำงานอย่างไรกันแน่?

กล้องตรวจความปลอดภัยจราจรใช้เรดาร์หรือเลเซอร์ในการตรวจจับและวัดความเร็วของยานพาหนะ ส่วนเซนเซอร์นั้นจะใช้เพื่อตรวจจับรถที่ขับฝ่าไฟแดง

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการติดตั้งของกล้องแต่ละตัวด้วย โดยกล้องจราจรนั้นสามารถทำการตรวจจับยานพาหนะพร้อมกันได้หลายคันและหลายเลนในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังมักจะมีกล้องมากกว่า 1 ตัวเพื่อตรวจจับจากหลายทิศทาง

กล้องที่นำมาใช้นั้นมีความละเอียดสูงที่สามารถถ่ายภาพได้อย่างคมชัดในสภาวะแสงน้อยและสภาพอากาศที่หลากหลาย แม้ในยามกลางคืน หมอกหนา หรือฝนตกหนัก ดังนั้นจึงไม่มีอุปสรรคในการจับภาพบนท้องถนนทุกสถานการณ์แม้จะเป็นยานพาหนะต่างประเภท

อีกความสามารถของกล้องจราจรที่น่าทึ่ง คือการตรวจจับเลขทะเบียนรถแบบอัตโนมัติ รวมไปถึงสามารถทำการระบุเลขทะเบียนที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่กำลังตามหาได้ในหลายสถานการณ์ (เฃ่น การตามหารถที่ถูกโจรกรรม รถที่ไม่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ไปจนถึงเจ้าของรถที่ไม่มีใบอนุญาตในการขับขี่ เป็นต้น)

เจ้าหน้าที่ตำรวจสวมชุด Hi-vision ขณะใช้งานกล้องตรวจจับความเร็วแบบเคลื่อนที่ภายในรถตำรวจ
กล้องตรวจความปลอดภัยจราจรได้นำมาใช้ครั้งแรกในออสเตรเลียเมื่อปีพ.ศ. 2528 ในรัฐวิกตอเรีย Source: AAP / Dave Hunt
กล้องทั้งแบบติดตั้งถาวรและแบบเคลื่อนที่นั้นสามารถดักจับความเร็วได้ทันทีที่จับภาพรถได้ ในขณะที่กล้องวัดความเร็วสองจุด (point-to-point) นั้นจะใช้วัดความเร็วเฉลี่ยภายในระยะทางที่กำหนด ซึ่งปัจจุบัน กล้องประเภทนี้ติดตั้งแบบถาวรเท่านั้น แต่จะมีแผนนำมาใช้ติดตั้งแบบเคลื่อนย้ายได้ในอนาคต

กล้องดักจับโทรศัพท์มือถือนั้นใช้กล้องที่มีความคมชัดสูง และยังมีระบบแสงอินฟราเรดที่ช่วยให้จับภาพได้ชัดเจนทะลุกระจกบังลมหน้ารถได้ ว่าผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่หรือคาดเข็มขัดนิรภัยหรือไม่

กล้องตรวจความปลอดภัยจราจรเหล่านี้ตรวจจับได้ทั้งความเร็ว เลขทะเบียนรถและยังคอยเฝ้าจับตายานพาหนะที่เป็นเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ดังนั้น กล้องเหล่านี้สามารถบังคับใช้งานเพื่อควบคุมและติดตามได้แทบทุกพฤติกรรมของผู้ใช้ท้องถนน ไม่ว่าจะติดตั้งถาวรหรือเคลื่อนที่

กล้องจราจรเหล่านี้ช่วยปรับพฤติกรรมของคนขับได้หรือไม่?

ผลวิจัยเผยว่ากล้องตรวจความปลอดภัยบนท้องถนนเหล่านี้ทำตามหน้าที่ที่ออกแบบมาได้อย่างดี นั่นคือเพื่อเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน

การนำกล้องดักจับความเร็วมาใช้บนท้องถนนนั้นช่วยลดความเร็วเฉลี่ยในการขับขี่ของรถได้จริง และที่สำคัญไปกว่านั้น นั่นคือช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุได้ราว 20 เปอร์เซ็นต์

มีการศึกษาเพื่อระบุถึงประสิทธิภาพของการใช้กล้องจราจรเคลื่อนที่ว่ายังอยู่ในระหว่างการศึกษา อย่างไรก็ตาม รัฐนิว เซาท์ เวลส์พบว่าผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างขับรถนั้นน้อยลงอย่างชัดเจนในรอบสามปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เริ่มนำกล้องจราจรเข้ามาบังคับใช้

LISTEN TO
What newcomers should know about driving in Australia image

ออกถนนอย่างมั่นใจในออสเตรเลีย

SBS Thai

03/08/201815:33
ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นแล้วว่า กล้องจราจรนั้นช่วยเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ท้องถนนได้จริง และยังมีประสิทธิภาพในการตรวจจับพฤติกรรมที่เฝ้าระวังได้เป็นอย่างดี เพราะเพียงการที่ผู้ใช้รถยนต์ตระหนักถึงความไม่ประมาทในการขับขี่ด้วยตัวเองนั้น อาจจะไม่พอที่จะลดพฤติกรรมกการขับขี่ที่ไม่ดีได้

ดังนั้น กล้องตรวจความปลอดภัยจราจรเหล่านี้นั้นจะยังคงถูกเลือกใช้งานต่อไปเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้ท้องถนนทุกคน


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 15 January 2024 4:24pm
By Simon Raftery
Presented by Wanvida Jiralertpaiboon
Source: The Conversation


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand