ออสเตรเลียประกาศจะเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ภายในปี 2030

แม่กุญแจบนแผงข้อมูล

แม่กุญแจบนแผงข้อมูล Credit: Getty Images

รัฐบาลสหพันธรัฐเผยกลยุทธการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เตรียมทุ่มงบเกือบ $600 ล้านสู้กับปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ ประกาศออสเตรเลียจะเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ภายในปี 2030


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

รัฐบาลสหพันธรัฐประกาศจะทุ่มงบประมาณ $600 ล้านกับการป้องกันความปลอดภัยด้านไซเบอร์ของประเทศ นับเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่หลายฝ่ายตั้งตาคอย

เพียงแค่ปีนี้ปีเดียว ประชากรออสเตรเลียหลายล้านคนถูกขโมยข้อมูลและนำไปแชร์ทางออนไลน์หลังออปตัส (Optus) และเมดิแบงก์ (Medibank) ถูกโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่

รัฐมนตรีกระทรวงความปลอดภัยทางไซเบอร์ แคลร์ โอนีล (Clare O'Neil) กล่าวว่าจากเหตุดังกล่าวทำให้มีความจำเป็นต้องดำเนินการเร่งด่วน
สิ่งที่เราได้เรียนรู้ในปีนี้คือเราไม่สามารถดำเนินชีวิตได้เหมือนก่อนหน้านี้
"เราไม่ควรเจอเหตุการณ์ที่มี่ข้อมูลแชร์ไปทั่วประเทศ มีโครงสร้างพื้นฐานที่เริ่มล้มเหลวเหมือนที่เคยเกิด ให้ธุรกิจขนาดเล็กและประชาชนคอยบอกเราว่าพวกเขารู้สึกไม่ปลอดภัย” 
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน บริษัทดีพี เวิล์ด (DP World) บริษัทดำเนินการท่าเรือรายใหญ่ที่สุดของออสเตรเลียได้ตกเป็นเป้าของการโจมตีทางไซเบอร์ซึ่งกระทบการทำงานทั่วประเทศ

และรัฐบาลกล่าวว่ายิ่งมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงเท่าไหร่ ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น

“เราทราบว่า สถานการณ์ด้านไซเบอร์ของเรากำลังแย่ในตอนนี้ เราเชื่อว่าจะยิ่งแย่ลงและเราจะเจอกับความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ไม่มีนักการเมืองคนไหนในโลกหรือในประเทศของเราที่สามารถบอกกับประชาชนได้ว่าเราจะไม่เจอกับการโจมตีทางไซเบอร์ และยังไม่มีนโยบายที่จะสามารถลดความเสี่ยงทางไซเบอร์ให้เหลือศูนย์ได้"
สิ่งที่เราต้องทำคือให้แน่ใจว่าจะตกเป็นเป้าหมายได้ยากขึ้น
cyber.jpg
มือวางบนแดชบอร์ดที่มีข้อมูล
รัฐบาลได้แถลงกลยุทธรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security Strategy) ซึ่งเป็นความพยายามต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์

โดยจะใช้งบประมาณ $600 ล้านจนถึงปี 2030 ในการช่วยธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์

นอกจากนี้จะใช้งบประมาณ $146 ล้านเพื่อปกป้องโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ และอีก $130 ล้านกับโครงการริเริ่มระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับภูมิภาคและระดับโลก

ยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษในการถอดบทเรียนจากการแฮ็กครั้งก่อนด้วย

ศาสตราจารย์โจฮันนา วีเวอร์ (Johanna Weaver) ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งของศูนย์ออกแบบนโยบายเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Tech Policy Design Centre at the Australian National University) กล่าวว่าเป็นแผนการณ์ที่จำเป็น

“ฉันคิดว่ามันเป็นกลยุทธ์ที่ยอดเยี่ยม ครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่ระดับรายบุคคล ระดับผู้ประกอบการ และทั้งภาคส่วน โดยเฉพาะการที่รัฐบาลกล่าวว่าต้องมีคณะกรรมการของตัวเองป็นเรื่องที่ทะเยอทะยานและเป็นสิ่งจำเป็น”
กลยุทธ์ใหม่นี้จะบังคับให้ทุกธุรกิจต้องรายงานกับรัฐบาลเมื่อโดนแฮ็ก

โดยงบประมาณใหม่นี้จะเพิ่มเติมจากงบประมาณเดิม $2.3 พันล้านที่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีมอร์ริสันได้สัญญาไว้ก่อนหน้านี้

ทางด้านฝ่ายค้านยังไม่ประทับใจกับกลยุทธ์ใหม่นี้ โดยโฆษกฝ่ายความปลอดภัยทางไซเบอร์ เจมส์ แพเทอร์สัน (James Paterson) กล่าวว่าเป็นเรื่องน่าผิดหวัง

“ยังมีอีกหลายสิ่งที่ควรระบุไว้ในกลยุทธนี้ มีแต่คำพูดและวาทะศิลป์ กลยุทธนี้จะทำให้ออสเตรเลียปลอดภัยทางไซเบอร์ได้มากขึ้นจริงหรือไม่? ยังคงเป็นที่น่าสงสัย และนั่นเป็นเรื่องน่าผิดหวังจริงๆ”

เป้าหมายของกลยุทธนี้คือการทำให้ออสเตรเลียเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ภายในปี 2030

ศาสตราจารย์วีเวอร์กล่าวว่ารัฐบาลหวังสร้างความตระหนักรู้เรื่องความเสี่ยงทางไซเบอร์แก่สาธารณชนให้มากขึ้น หลังเกิดเหตุการณ์โจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่เพิ่งผ่านมา

“เรามีสิ่งที่ประชาชนต้องการให้ดำเนินการ รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และหลายภาคส่วนก็กังวลถึงการทำงานดังกล่าว หากเราไม่สามารถสร้างผลงานได้ เราจะไม่มีความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างแท้จริงได้เลย”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand