วัคซีนต้านโควิดแบบพ่นจมูกอาจมีให้ใช้ในออสเตรเลียอีกไม่นาน

บรรดานักวิจัยกล่าวว่า วัคซีนต้านโควิดแบบพ่นจมูกอาจมีให้ใช้ในออสเตรเลียในอีกไม่กี่ปี หลังการทดลองในมนุษย์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2024

A person receives a nasal spray COVID-19 vaccination.

ชาวนครปักกิ่งผู้หนึ่งกำลังได้รับวัคซีนต้านโควิดแบบฉีดพ่นทางจมูกในเดือนธันวาคม 2022 คณะวิจัยในออสเตรเลียกำลังได้รับเงินทุนเพื่อคิดค้นและพัฒนาวัคซีนโควิดแบบพ่นจมูกในออสเตรเลีย Source: Getty / China News Service

ประเด็นสำคัญในข่าว
  • นักวิจัยชาวออสเตรเลียกลุ่มหนึ่งได้รับเงินสนับสนุนเพื่อพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 แบบพ่นจมูก
  • เงินทุน 1 ล้านดอลลาร์จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์คิดค้นและพัฒนาวัคซีนที่อาจมีการทดลองใช้ในมนุษย์ได้ในปี 2024
  • มีความท้าทายหลายอย่างในการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 แบบพ่นจมูกที่มีประสิทธิภาพ
นักวิจัยชาวออสเตรเลียกลุ่มหนึ่งได้รับเงินทุนจากภาครัฐบาลในการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 แบบสเปรย์พ่นจมูก

ได้มีการมอบทุนเกือบ 1 ล้านดอลลาร์จากโครงการทุนวิจัยวัคซีนต้านโควิด-19 แบบเร่งรัดของนิวเซาท์เวลส์ (NSW COVID-19 Vaccine Acceleration Research Grants Program) ให้แก่นักวิจัยกลุ่มหนึ่งในซิดนีย์ที่มาจากสถาบันเซนทีนารี (Centenary Institute) และมหาวิทยาลัยซิดนีย์

คณะวิจัยชุดนี้ประกอบด้วย ศาสตราจารย์วาริกค์ บริตทัน ดร.แอนนาลิส แอชเฮิร์สต์ และศาสตราจารย์ริชาร์ด เพย์น

วัคซีนแบบพ่นจมูกทำงานอย่างไร?

การคิดค้นและพัฒนาวัคซีนแบบพ่นจมูกเพื่อปกป้องระบบทางเดินหายใจเป็นทิศทางใหม่สำหรับนักวิจัยต่างๆ โดยการพัฒนาวัคซีนรูปแบบใหม่นี้สานต่อจากการศึกษาวิจัยด้านการรักษาไข้หวัดใหญ่และวัณโรค

ศาสตราจารย์บริตทัน หัวหน้านักวิจัยของโครงการ กล่าวว่า การวิจัยโครงการนี้เป็นทิศทางใหม่ของการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 โดยเปลี่ยนจากเป้าหมายการจำกัดอาการป่วยที่รุนแรงจากการติดเชื้อ มาเป็นการยับยั้งไม่ให้ติดเชื้อตั้งแต่แรก

“ความแตกต่างของวัคซีนที่พ่นจมูกคือมันปกป้องตั้งแต่จุดที่เกิดการติดเชื้อ มีประสบการณ์การใช้วัคซีนประเภทนี้น้อยกว่าวัคซีนประเภทอื่นๆ แม้จะมีประสบการณ์สั่งสมทั่วโลก” ศ.บริตทัน บอกกับ เอสบีเอส นิวส์
Warwick Britton dressed in a blue suit and red tie.
ศาสตราจารย์วาริกค์ บริตทัน หัวหน้าคณะวิจัยวัคซีนโควิดแบบฉีดพ่นทางจมูก กล่าวว่า คาดว่าการทดลองวัคซีนในมนุษย์ในออสเตรเลียจะมีขึ้นในปี 2024 Source: Supplied / Centenary Institute
คณะวิจัยได้มุ่งเน้นไปยังสิ่งที่พวกเขาเชื่อว่า จะเป็นเส้นทางที่ปลอดภัยที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุดที่จะนำไปสู่วัคซีนต้านโควิดแบบพ่นจมูก นั่นคือ การผลิตวัคซีนที่เป็นผงแห้งที่มีความเสถียรก่อน จากนั้นจึงพัฒนารูปแบบการนำวัคซีนเข้าสู่ร่างกายผ่านการพ่นทางจมูก ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจาก Ab Initio Pharma ซึ่งเป็นบริษัทคิดค้นพัฒนาและผลิตยาในซิดนีย์

ศ.บริตทัน กล่าวว่า ทีมงานได้พิจารณาเทคโนโลยีต่างๆ เกี่ยวกับวัคซีนอย่างถี่ถ้วนและพิจารณาว่าวัคซีนจะสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการพ่นจมูกได้อย่างไร โดยตัดสินใจไม่ใช้เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนแบบเชื้อตาย ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) และซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ของจีน

แต่ทีมวิจัยได้เลือกใช้โปรตีนบนผิวเซลล์ (surface protein) ของไวรัส เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ในช่องจมูกสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ซึ่งคล้ายกับเทคโนโลยีที่ใช้ในวัคซีนโนวาแวกซ์ (Novavax) ที่พัฒนาโดยสหรัฐอเมริกา

“เราคิดว่าโปรตีนและสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่เหมาะสมคือวิธีที่ดีที่สุดสำหรับวัคซีนแบบพ่นจมูก และนั่นคือการศึกษาวิจัยที่เรากำลังดำเนินการอยู่” ศ.บริตทัน กล่าว

ขณะนี้ทั่วโลก กำลังมีการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนอยู่กว่า 100 ชนิด

การวิจัยเบื้องต้นแสดงให้เห็นอะไรบ้าง?

ศ.บริตทัน และคณะวิจัยชุดดังกล่าว ได้สรุปกลไกการทำงานของวัคซีนต้านโควิด-19 แบบฉีดพ่นจมูกนี้ โดยใช้หนูในการศึกษาวิจัย ซึ่งที่ตีพิมพ์ใน ในเดือนพฤศจิกายน.

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่คล้ายกันโดย

เขากล่าวว่าจะต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อดูว่าการค้นพบนี้ใช้กับมนุษย์หรือไม่ แต่จนถึงตอนนี้ผลลัพธ์ที่ได้มีแนวโน้มในทิศทางที่ดี
จากในการศึกษาในหนู คณะวิจัยได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันหลังจากที่หนู 6 ตัวได้รับวัคซีนโควิดทางจมูก

มีการให้วัคซีนสามครั้งห่างกันสองสัปดาห์ วัคซีนประกอบด้วยโปรตีนหนามที่เรียกว่า Pam2Cys ซึ่งออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีจำเพาะขึ้นมา

เมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มอื่นที่อยู่ภายใต้การควบคุม ผู้เขียนพบผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญนั่นคือ การป้องกันการติดเชื้อได้อย่างสมบูรณ์และมี "การสร้างภูมิคุ้มกันในปอดให้ปราศจากเชื้อ" ได้หลังผ่านไป 8 สัปดาห์

นี่เป็นเป้าหมายที่เป็นที่ต้องการอย่างมากในการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนต้านโควิดแบบพ่นจมูก

วัคซีนต้านโควิดแบบพ่นจมูกที่ใช้กับมนุษย์จะมีประสิทธิภาพแค่ไหน?

ในขั้นนี้ ในระดับโลกยังไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลโดยละเอียดจากการทดลองในมนุษย์ในวงกว้าง

ศ.บริตตัน กล่าวว่า เมื่อมีความมั่นใจในด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้วัคซีนกับมนุษย์แล้ว กลุ่มประชากรส่วนหนึ่งจะได้รับประโยชน์เป็นพิเศษจากราคาวัคซีนที่ถูกกว่า สะดวก และทำด้วยจากวิธีที่ไม่รุกล้ำร่างกาย

เด็กที่อายุน้อย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่คุ้นกับเข็มฉีดยา จะเป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่จะได้รับประโยชน์ ศ.บริตตัน กล่าว

อีกกลุ่มหนึ่งที่จะได้ประโยชน์คือผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งได้รับการปกป้องจากภูมิคุ้นกันจากวัคซีนในระดับที่น้อยกว่าประชากรทั่วไป

เขาคาดว่าการทดลองในมนุษย์ในออสเตรเลียจะดำเนินการในปี 2024 และคาดว่าวัคซีนนี้จะเริ่มใช้ได้ในออสเตรเลียในไม่กี่ปีหลังจากนั้น

วัคซีนประเภทใหม่นี้จะทำให้เราได้เปรียบในการจัดการกับโควิดหรือไม่?

นอกจากนี้ วัคซีนประเภทใหม่นี้มีแนวโน้มจะช่วยลดภาระการเจ็บป่วยของประชากรในวงกว้าง ที่เกิดจากการติดเชื้อโควิดซ้ำและภาวะลองโควิด (long COVID)

ศ.บริตทัน กล่าวว่า ผลจากการทดลองในมนุษย์จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการค้นพบประโยชน์ต่างๆ ทั้งหมดจากการติดเชื้อที่ลดลง แต่เขาเตือนว่าวัคซีนแบบพ่นจมูกเพียงอย่างเดียวไม่สามารถขจัดไวรัสโควิดให้หมดไปอย่างสิ้นเชิง

เขากล่าวว่าเป้าหมายคือลดระดับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดในชุมชน

"ผมไม่มั่นใจขนาดนั้น ที่จะบอกว่าวัคซีนนี้เพียงอย่างเดียวจะกำจัดไวรัสโควิดให้หมดไปได้ ผมคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกคือเชื้อไวรัสนี้จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น คือมันเปลี่ยนไปเป็นสิ่งที่แพร่กระจายในชุมชน " ศ.บริตทัน กล่าว

"และมีสายพันธุ์ใหม่เหล่านี้ ที่เราและคนอื่นๆ กำลังหาวิธีผลิตวัคซีนที่ป้องกันเชื้อได้หลายสายพันธุ์พร้อมกัน"


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 26 December 2022 4:40pm
By Biwa Kwan
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand