เตือนออสเตรเลียจะขาดแรงงานเรื้อรังขณะผู้ย้ายถิ่นกว่าครึ่งล้านกลับประเทศ

มีรายงานรัฐสภา ที่ผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงการรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะอาชีพมายังออสเตรเลีย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก อันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 ระบาด

The ACT Critical Skills List was updated on 24 June 2022

The ACT Critical Skills List was updated on 24 June 2022 Source: Getty Images

ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานกว่าครึ่งล้านคนได้เดินทางออกจากออสเตรเลียเพื่อกลับประเทศของพวกเขา นับตั้งแต่การระบาดใหญ่ของเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อออสเตรเลียเมื่อต้นปีที่แล้ว ผู้ย้ายถิ่นฐานเหล่านั้นจำนวนมาก เป็นลูกจ้างที่มีทักษะการทำงานที่เป็นที่ต้องการ รายงานฉบับใหม่ของรัฐสภา ระบุ

คณะกรรมาธิการร่วมด้านการอพยพย้ายถิ่นฐานของรัฐสภา (Joint Standing Committee on Migration) ได้เสนอรายงานฉบับเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ที่แนะนำว่า รัฐบาลจะปรับปรุงระบบการรับผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะการทำงานที่เป็นที่ต้องการได้อย่างไร

รายงานดังกล่าวเตือนว่า การขาดแคลนผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะอาชีพที่เป็นที่ต้องการ และอัตราการว่างงานที่เกือบต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่รุนแรงในหลากหลายด้าน รวมทั้งด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร

“จำนวนสุทธิของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานจากต่างประเทศยังคงอยู่ในระดับติดลบ โดยคาดว่าผู้คนอีก 77,000 คนจะเดินทางออกจากออสเตรเลียในปีงบประมาณ 2021-2022” นายจูเลียน ลีเซอร์ ประธานคณะกรรมาธิการดังกล่าวและ สส พรรคลิเบอรัล ระบุในรายงานฉบับนี้
นายลีเซอร์ กล่าวว่า การหยุดชะงักชั่วคราว ของโครงการรับผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะอาชีพ เนื่องจากการปิดพรมแดนระหว่างประเทศ เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบทบทวน “อย่างถูกจำกัดน้อยลง” สำหรับโครงการรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน

หนึ่งในคำแนะนำจากรายงานนี้ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลทำให้ง่ายขึ้นที่ผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะอาชีพจะได้รับสถานะผู้อยู่อาศัยถาวร

นี่รวมถึงการเรียกร้องให้กระทรวงมหาดไทย (Department of Home Affairs) เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขวีซ่าระยะสั้น สำหรับวีซ่าชั่วคราวของผู้มีทักษะที่ขาดแคลน (temporary skills shortage visa -subclass 482)

“วีซ่าทุกประเภทที่มีนายจ้างเสนอชื่อผู้รับวีซ่าควรให้มีทางเลือกสำหรับการเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร” รายงานดังกล่าวระบุ

แต่รายงานนี้ยังคงยืนยันว่า เงื่อนไขของการเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรควรรวมไปถึง ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างดี และผู้สมัครวีซ่าต้องอายุต่ำกว่า 45 ปี
รายงานจากสถาบันแกรตแทน (Grattan Institute report) ฉบับหนึ่งที่เผยแพร่ออกมาก่อนหน้านี้ กล่าวว่า ออสเตรเลียควรพุ่งเป้ารับผู้ย้ายถิ่นฐานที่อายุน้อยกว่าเดิม เนื่องจากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ออสเตรเลียอาจได้รับในระยะยาวจากคนหนุ่มสาวกลุ่มนี้

รายงานของคณะกรรมาธิการรัฐสภาฉบับนี้ ยังเรียกร้องให้กระทรวงมหาดไทย ปรับปรุงระบบประมวลผลวีซ่าของกระทรวงให้ทันสมัยยิ่งขึ้น เพื่อพยายามทำให้แน่ใจได้ว่า กระบวนการสมัครขอวีซ่านั้น ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นสำหรับผู้สมัครขอวีซ่าและสำหรับนายจ้าง

นอกจากนี้ ยังมีคำแนะนำให้มีการปรับปรุงด้านลูกค้าสัมพันธ์ โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประสานงานประจำอุตสาหกรรมต่างๆ และให้มีเจ้าหน้าที่ที่สามารถให้คำอธิบายการสมัครขอวีซ่า

รายงานฉบับนี้ยังผลักดันให้มีมาตรการช่วยให้นักเรียนต่างชาติเดินทางเข้ามาในออสเตรเลีย เพื่อช่วยเติมเต็มแรงงานที่ขาดแคลนอย่างเรื้อรังได้

มาตรการเหล่านี้ยังรวมไปถึงการลดระยะเวลาที่นักเรียนต่างชาติต้องมีประสบการณ์ทำงานจึงจะขอเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรได้ โดยลดระยะเวลาจาก 3 ปีเป็น 2 ปี

ด้านพรรคแรงงานมีรายงานคัดค้านรายงานฉบับนี้ โดยระบุว่า คำแนะนำของคณะกรรมาธิการร่วมรัฐสภาชุดนี้ “พลาดโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดใหม่สำหรับโครงการรับผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะอาชีพ ให้สามารถดึงดูดผู้ย้ายถิ่นฐานที่ทักษะอาชีพระดับสูงและอายุน้อย เพื่อเพิ่มพูนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของออสเตรเลียในระยะยาว”

“ขณะนี้ ออสเตรเลียมีโอกาสเพียงครั้งเดียวในหลายชั่วคนที่จะปฏิรูปโครงการรับผู้ย้ายถิ่นฐานของเรา”

ร่างงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาลสหพันธรัฐ ที่แถลงออกมาในเดือนพฤษภาคมปีนี้นั้น รัฐบาลคาดการณ์ว่า การอพยพย้ายถิ่นฐานชั่วคราวและถาวรจะค่อยๆ กลับมาตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2022


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 10 August 2021 3:31pm
By Tom Stayner
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand