สูดอากาศพิษ ‘ชีวิตสั้นลง 20 เดือน’

NEWS: อันตรายต่อสุขภาพเนื่องจากมลภาวะในอากาศสามารถลดอายุขัยของเด็กที่เกิดในวันนี้ลงโดยเฉลี่ย 20 เดือน จากรายงานผลการวิจัยใหม่

Image of a cyclist wearing a mask amongst polluted air.

การได้รับมลภาวะทางอากาศเป็นระยะยาวทั้งภายในอาคารและภายนอกเป็นสาเหตุของการตายจำนวนห้าล้านรายในปี ค.ศ. 2017 Source: AAP

You can read the full version of this story in English on SBS News .

นักวิจัยกล่าวว่า อายุขัย (life expectancy) ของเด็กซึ่งเกิดในวันนี้อาจลดลงโดยเฉลี่ย 20 เดือนเนื่องจากอันตรายต่อสุขภาพโดยมลภาวะทางอากาศ

รายงานสถานะของอากาศทั่วโลกประจำปี (annual State of Global Air report) กล่าวว่า อายุขัยของเด็กๆ นั้นอาจลดลงได้มากกว่า 30 เดือนในประเทศทางตอนใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งมีระดับของมลภาวะในอากาศสูงที่สุด

รายงานดังกล่าวถูกเผยแพร่โดย สถาบันเฮลธ์เอฟเฟ็กส์ (Health Effects Institute) กลุ่มทำการวิจัยที่ไม่หวังผลกำไรในสหรัฐฯ โดยรายงานได้กล่าวว่า มลภาวะทางอากาศเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับที่ห้า ที่คร่าชีวิตคนในแต่ละปีมากกว่าอุบัติเหตุบนท้องถนนและโรคมาลาเรีย
Image of polluted air, Chiang Mai, Thailand on 6 MAR 2018
ฝุ่นควันในอากาศซึ่งสามารถมองเห็นได้ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย (Image source: FredTC via Wikimedia Commons/CC BY-SA 4.0) Source: FredTC via Wikimedia Commons/CC BY-SA 4.0
“อนาคตของเด็กนั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่งต่ออนาคตของสังคมทุกๆ แห่ง และพยานหลักฐานล่าสุดนี้ก็แนะให้เห็นถึงชีวิตที่สั้นลงหากใครก็ตามเกิดในสถานที่ซึ่งมีอากาศพิษ” ประธานของสถาบันเฮลธ์เอฟเฟกส์ นายแดน กรีนบอม กล่าว

การวิเคราะห์พบว่า การได้รับมลภาวะทางอากาศเป็นระยะยาวทั้งภายในอาคารและภายนอกเป็นสาเหตุของการตายจำนวนห้าล้านรายในปี ค.ศ. 2017 โดยการเสียชีวิตเป็นผลที่ตามมาจากโรคหลอดเลือดในสมอง หัวใจวาย เบาหวาน มะเร็งปอด และโรคปอดเรื้อรัง

สำหรับมลภาวะในครัวเรือน งานวิจัยได้ระบุว่าต้นตอหลักๆ นั้นรวมถึงการเผาเชื้อเพลิงซึ่งก่อให้เกิดควันเช่นไม้หรือถ่านหินสำหรับประกอบอาหาร

ด้านที่มาหลักๆ ของมลภาวะภายนอกอาคารได้แก่ยานพาหนะ การปลดปล่อยจากอุตสาหกรรม เช่นเดียวกันกับโรงงานไฟฟ้าซึ่งเผาถ่านหิน

รายงานกล่าวว่าประมาณครึ่งหนึ่งของการตายในปี 2017 เกิดขึ้นในประเทศจีนและอินเดีย โดยมีการตายก่อนวัยอันควรเป็นจำนวนกว่า 1.2 ล้านรายสำหรับแต่ละประเทศทั้งสองแห่งในปีดังกล่าว

และในขณะที่ประเทศจีนได้รุดหน้าในการลดมลภาวะทางอากาศ รายงานพบว่าประเทศซึ่งมีการเพิ่มของมลภาวะมากที่สุดตั้งแต่ปี 2010 ได้แก่ปากีสถาน บังกลาเทศ และอินเดีย

ผลสรุปของรายงานได้แสดงให้เห็นว่า “เรากำลังพบเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี” ในเรื่องของผลกระทบต่อสุขภาพซึ่งมีสาเหตุมาจากมลภาวะในอากาศ จากคำกล่าวของนายอลาสแตร์ ฮาร์เปอร์ หัวหน้าของหน่วยงานที่ผลักดันเรื่องดังกล่าวขององค์กรยูนิเซฟแห่งสหราชอาณาจักร (Unicef UK) ซึ่งเป็นหน่วยงานตัวแทนเพื่อเด็กของสหประชาชาติสาขาประเทศอังกฤษ

เขากล่าวว่าตัวอย่างของความเสี่ยงต่างๆ ต่อเด็กซึ่งได้รับมลภาวะทางอากาศได้แก่ โอกาสที่จะเกิดอันตรายต่อพัฒนาการของสมอง ความจุของปอดที่ลดลง และการเริ่มเกิดปัญหาอื่นๆ เช่นหอบหืด

“เด็กๆ นั้นบอบบางเป็นพิเศษ เนื่องจากความเป็นจริงที่ว่าพวกเขากำลังเจริญเติบโต และหายใจถี่กว่าผู้ใหญ่” คุณฮาร์เปอร์กล่าว

“เราไม่มีข้ออ้างใดๆ เลยที่จะยืนดูเฉยๆ แล้วก็ไม่ทำอะไร มันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลทั่วโลกที่จะต้องทำอะไรก็ตามลงไปในเรื่องนี้”

รายงานดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยร่วมกับสถาบันเพื่อมาตรวัดและการประเมินผลด้านสุขภาพ (Institute for Health Metrics and Evaluation) ณ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 4 April 2019 9:57am
Updated 4 April 2019 10:05am
By AAP-SBS
Presented by Tanu Attajarusit
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand