วุฒิสภาอนุมัติให้มีการลงประชามติเรื่องเสียงชาวพื้นเมืองภายใน 6 เดือน

การอนุมัติร่างกฎหมายนี้หมายความว่า การลงประชามติเรื่องคณะที่ปรึกษาเสียงชาวพื้นเมืองต่อรัฐสภา หรือ Voice the Parliament จะต้องมีขึ้นภายใน 2-6 เดือนนับจากวันนี้

Two women embrace each other in parliament house.

ร่างกฎหมายที่จะให้มีการลงประชามติเรื่อง Voice the Parliament ผ่านการอนุมัติจากรัฐสภา ส่งผลให้ต้องมีการลงประชามติเกิดขึ้นภายใน 2-6 เดือนนับจากนี้ Source: AAP / Lukas Coch

ประเด็นสำคัญ:
  • ชาวออสเตรเลียกว่า 17 ล้านคนได้ลงทะเบียนไว้เพื่อลงประชามติในปลายปีนี้
  • การอนุมัติร่างกฎหมายที่จะให้มีการลงประชามติเรื่อง Voice the Parliament ส่งผลให้ต้องมีการกำหนดวันที่แน่ชัดสำหรับลงประชามติ
  • วันลงประชามติต้องมีขึ้นภายใน 2-6 เดือนนับจากวันนี้
ชาวออสเตรเลียจะต้องลงคะแนนเสียงอย่างเป็นทางการภายใน 6 เดือน เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าควรมีการจัดตั้งคณะที่ปรึกษาเสียงชาวพื้นเมืองต่อรัฐสภา หรือ Voice the Parliament หรือไม่ หลังจากร่างกฎหมายเสนอให้มีการลงประชามติเรื่องนี้ผ่านการอนุมัติจากวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียง 52 ต่อ 19 เสียง

รัฐสภาก้าวข้ามอุปสรรค์อย่างเป็นทางการขั้นสุดท้ายในวันจันทร์ (19 มิ.ย.) ส่งผลให้ขณะนี้ชาวออสเตรเลียจะต้องตัดสินใจว่า จะระบุลงในรัฐธรรมนูญให้มีการจัดตั้งคณะที่ปรึกษาเสียงชาวพื้นเมืองต่อรัฐสภา หรือ Voice the Parliament หรือไม่ ซึ่งการจัดตั้งคณะที่ปรึกษาชาวพื้นเมืองเป็นเสาหลักสำคัญของแถลงการณ์อูลูรูจากหัวใจ (Uluru Statement from the Heart) ประจำปี 2017

บรรดาผู้รณรงค์ให้ลงคะแนนเสียง ‘เห็นด้วย’ หรือ ‘Yes’ ได้ประกาศว่า "งานของรัฐสภาเสร็จสิ้นแล้ว" และจากนี้ไป การอภิปรายในประเด็นนี้จะถูกกำหนดทิศทางโดยประชาชนกลุ่มรากหญ้าที่พยายามผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรัฐธรรมนูญ
    นาง ลินดา เบอร์นีย์ รัฐมนตรีด้านชนพื้นเมืองออสเตรเลีย กล่าวว่า การอนุมัติร่างกฎหมายที่จะให้มีการลงประชามติในประเด็นดังกล่าวทำให้ออสเตรเลีย "ใกล้เข้าไปอีกก้าว" ที่จะการยอมรับชาวพื้นเมืองของออสเตรเลียในรัฐธรรมนูญ และทำให้ "ประเทศยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้น"

    “มันเริ่มแล้ว… วันนี้ การอภิปรายทางการเมืองจบลงแล้ว วันนี้เราสามารถเริ่มการสนทนาระดับชาติในระดับชุมชนได้” นาง เบอร์นีย์ กล่าว

    "นานเกินไปแล้ว ที่ชาวพื้นเมืองของออสเตรเลียมีสภาพที่แย่กว่าชาวออสเตรเลียที่ไม่ใช่ชนพื้นเมืองอย่างต่อเนื่อง ... มันเป็นระบบที่แตกหัก และ The Voice (Voice the Parliament คณะที่ปรึกษาเสียงชาวพื้นเมืองต่อรัฐสภา) เป็นโอกาสที่ดีที่สุดของเราในการแก้ไขเรื่องนี้ เพราะเมื่อเราฟังคนในพื้นที่และปรึกษากับคนท้องถิ่น เราจะตัดสินใจได้ดีขึ้นและบรรลุผลลัพธ์ที่ดีขึ้น"

    พรรคแรงงานย้ำว่า คณะที่ปรึกษาเสียงชาวพื้นเมืองต่อรัฐสภา (Voice the Parliament) จะเป็นองค์กรที่ปรึกษาเท่านั้น โดยเปิดโอกาสให้ชนพื้นเมืองออสเตรเลียให้คำแนะนำแก่รัฐสภาและรัฐบาลในประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขาโดยเฉพาะ

    แต่นักวิจารณ์บางคนอ้างว่า ข้อเสนอนี้เต็มไปด้วยความเสี่ยง ขณะที่นักวิจารณ์คนอื่นๆ โต้แย้งว่าข้อเสนอดังกล่าวยังให้อำนาจแก่ชนพื้นเมืองไม่เพียงพอ
    Penny Wong stands in Senate in front of a woman and two men sitting down
    นาง ลินดา เบอร์นีย์ รัฐมนตรีด้านชนพื้นเมืองออสเตรเลีย (เสื้อสีฟ้า) นั่งอยู่ในรัฐสภาขณะมีการอภิปราย Source: AAP / Lukas Coch
    การลงประชามติครั้งแรกในรอบเกือบ 25 ปีครั้งนี้จะมีขึ้นภายใน 2-6 เดือนนับจากวันจันทร์ (19 มิ.ย.) แม้ว่านายกรัฐมนตรีแอนโทนี อัลบานีซี ได้เผยว่า จะเกิดขึ้นในปีนี้

    “โอกาสครั้งเดียวในชีวิตที่จะยกระดับประเทศอันยิ่งใหญ่ของเราให้สูงขึ้นไปอีก” นายอัลบานีซีประกาศ

    "ความจริงก็คือ สำหรับคนส่วนใหญ่สิ่งนี้จะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตของพวกเขา แต่อาจทำให้ชีวิตของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่สุดในออสเตรเลียในปัจจุบันดีขึ้นได้ ... ถ้าเราทำสิ่งเดียวกัน ทำแบบเดียวกัน เราก็ควรคาดหวังผลลัพธ์เดียวกัน”

    "นี่เป็นโอกาสที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น แทนที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้ชาวออสเตรเลียพื้นเมือง แต่เราจะสร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกันกับชาวพื้นเมืองของออสเตรเลีย"
    Woman poses with group of people in 'yes' t-shirts.
    นาง ลินดา เบอร์นีย์ รัฐมนตรีด้านชนพื้นเมืองออสเตรเลีย กับกลุ่มตัวแทนชุมชนที่อาคารรัฐสภา กรุงแคนเบอร์รา Source: AAP / Mick Tsikas

    พรรคร่วมยอมให้ร่างกฎหมายลงประชามตินี้ผ่านได้

    แม้จะคัดค้านการจัดตั้งคณะที่ปรึกษาเสียงชาวพื้นเมืองต่อรัฐสภา หรือ Voice the Parliament แต่พรรคร่วมก็ปล่อยให้ร่างกฎหมายนี้ผ่านการอนุมัติได้ในเช้าวันจันทร์ (19 มิ.ย.)

    นาง มิคาเลีย แคช รัฐมนตรีเงาของพรรคลิเบอรัล แย้งว่า การลงคะแนนเสียง "เห็นด้วย" (Yes vote) จะ "เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญของออสเตรเลียอย่างไม่อาจเพิกถอนได้" โดยอ้างว่าพรรคแรงงานไม่สามารถให้รายละเอียดที่เพียงพอว่า คณะชาวพื้นเมืองที่ปรึกษา ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้คนเห็นต่างมากมายนี้ จะทำงานอย่างไร

    "(แต่) เราเชื่อในประชาชนของประเทศนี้ และสิทธิของพวกเขาที่จะได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้" นาง แคช กล่าว

    "มันไม่เป็นสิ่งที่ไม่มีคนรู้แน่ชัด มันเป็นประเด็นที่มีความเห็นต่างมากมาย และมันจะอยู่ถาวร ถ้าคุณไม่รู้ว่า คณะที่ปรึกษาเสียงต่อรัฐสภา (Voice the Parliament) จะทำงานอย่างไร ตามความเห็นของฉัน คือ: โหวต " (No vote)”

    นาง จาซินตา ไพรซ์ โฆษกพรรคฝ่ายค้านด้านชาวพื้นเมืองของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นสตรีพื้นเมืองชาววาร์ลปิรี/เคลติก แย้งว่าปล่อยให้รัฐสภาเพื่อเปิดเผยรายละเอียดหลังการลงประชามติแล้ว เต็มไปด้วยความเสี่ยงทางกฎหมาย

    “นายกรัฐมนตรีต้องการให้เราเชื่อใจให้เขาลงนามในเช็คเปล่า และยอมให้ข้อเสนอที่มีความเสี่ยงของเขาถูกบัญญัติลงในรัฐธรรมนูญตลอดไป ทั้งที่เขาไม่สามารถรับประกันอะไรได้” นาง ไพรซ์ กล่าว

    อย่างไรก็ตาม มีสมาชิกพรรคร่วมไม่มากนัก ที่ลงมติไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายดังกล่าว ซึ่งทางเทคนิคแล้วช่วยให้พวกเขาสามารถรณรงค์การโหวต “ไม่เห็นด้วย" (No vote) ในแผ่นพับของพรรค ที่จะถูกแจกจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

    พรรคกรีนส์ต้อนรับ 'วันประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง'

    นาง ดอรินดา ค็อกซ์ ชาวพื้นเมืองออสเตรเลียที่เป็นโฆษกของพรรคกรีนส์ กล่าวว่า นี่เป็น "วันแห่งประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง" สำหรับชนชาติแรกของออสเตรเลีย

    “งานของรัฐสภาเสร็จสิ้นแล้ว ถึงเวลาแล้วที่แคมเปญ Yes (เห็นด้วย) ในระดับรากหญ้าจะออกไปในชุมชนและแบ่งปันข้อมูลกับชาวออสเตรเลียทุกคนว่าทำไมการลงประชามติครั้งนี้จึงมีความสำคัญมาก และเหตุใดคณะที่ปรึกษาเสียงชาวพื้นเมืองต่อรัฐสภา (Voice the Parliament) จึงมีความสำคัญมาก” เธอกล่าว

    "นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เราจำเป็นต้องฟื้นฟูสิทธิของชนชาติแรกในประเทศนี้ เรายังต้องการความก้าวหน้าที่จะนำไปสู่การบอกเล่าความจริงและสนธิสัญญา (Truth and Treaty) และเราต้องการสิ่งเหล่านั้นตอนนี้เช่นกัน"
    A woman raises her fist as she walks in the parliament.
    ปฏิกิริยาของวุฒิสมาชิก ลิเดีย ธอร์ป หลังร่างกฎหมายจะให้มีการลงประชามติเรื่องคณะที่ปรึกษาเสียงชาวพื้นเมืองต่อรัฐสภา Source: AAP / Lukas Coch

    ลิเดีย ธอร์ป ลั่น เสียงต่อรัฐสภา 'ปลอมและเสแสร้ง'

    วุฒิสมาชิก ลิเดีย ธอร์ป ซึ่งเป็นสตรีชาวพื้นเมืองเผ่า DjabWurrung, Gunnai และ Gunditjmara กล่าวว่าวันจันทร์ที่ผ่านมา เป็น "วันแห่งการถูกกลืนหาย" และเรียกร้องให้ชาวออสเตรเลียคว่ำบาตรการลงประชามติ

    “ฉันจะโหวต No (ไม่เห็นด้วย) กับความคิดอันเลวร้ายนี้ ซึ่งไม่ได้ให้อำนาจใดๆ แก่พวกเรา” วุฒิสมาชิก ธอร์ป กล่าว

    “ฉันไม่สามารถสนับสนุนสิ่งที่ทำให้คนของฉันไม่มีอำนาจใดๆ ได้ ฉันไม่สามารถสนับสนุนสิ่งที่ถูกคัดเลือกโดยผู้ใดก็ตามที่มีอำนาจ”

     
    คณะที่ปรึกษาเสียงของชนพื้นเมืองต่อรัฐสภา (Indigenous Voice to Parliament) เป็นหนึ่งในคำขอที่ระบุไว้ในแถลงการณ์อูลูรูจากหังใจ (Uluru Statement from the Heart) ที่ออกโดยผู้นำชนพื้นเมืองในปี 2017

    การลงประชามติปลายปีนี้จะเป็นการถามชาวออสเตรเลีย โดยให้ตอบว่า เห็นด้วย (Yes) หรือ ไม่เห็นด้วย (No) ที่จะให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ เพื่ออนุมัติการจัดตั้งองค์กรอิสระถาวรในรัฐสภาและรัฐบาลสหพันธรัฐ ซึ่งจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย

    รายละเอียดและรูปแบบจำลองขององค์กรคณะที่ปรึกษานี้ จะกำหนดขึ้นโดย ส.ส. ในรัฐสภา ในกรณีที่การประชามติประสบความสำเร็จ

    นางเบอร์นีย์ รัฐมนตรีด้านชนพื้นเมืองออสเตรเลีย กล่าวว่า เธอเชื่อว่าข้อเสนอดังกล่าวจะเป็นตัวตัดวงจรที่จำเป็น ที่จะพุ่งเป้าเฉพาะไปยังเรื่องสุขภาพ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และอายุคาดเฉลี่ยของชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส ที่ขณะนี้ย่ำแย่กว่าประชาชนทั่วไป
    คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

    บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

    Share
    Published 20 June 2023 12:35pm
    By Finn McHugh, Biwa Kwan
    Presented by Parisuth Sodsai
    Source: SBS


    Share this with family and friends


    Follow SBS Thai

    Download our apps
    SBS Audio
    SBS On Demand

    Listen to our podcasts
    Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
    Understand the quirky parts of Aussie life.
    Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

    Watch on SBS
    Thai News

    Thai News

    Watch in onDemand