COVID Bubble คืออะไร จะได้ผลหรือไม่ในออสเตรเลีย

มีการพูดถึงแนวคิดในการจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ที่เรียกว่า COVID Bubble ซึ่งเป็นการจำกัดการแพร่ระบาดอย่างเข้าใจความรู้สึกผู้คนที่ในการนำไปใช้ในบางประเทศ ด้วยการสร้างกลุ่มที่มีความเฉพาะและปลอดภัยในการพบปะใกล้ชิด แต่คำถามสำคัญก็คือ หากนำมาใช้ในออสเตรเลียแล้ว ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร

Dinner

Source: Shutterstock

แนวคิด COVID Bubble หมายถึง การที่ผู้พบปะใกล้ชิดไม่ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือรักษาระยะห่างทางสังคม โดยในช่วงเวลาที่มาตรการล็อกดาวน์มีความเข้มงวด คำนี้หมายถึงสมาชิกในบ้านของคุณเท่านั้น แต่ในประเทศอย่างนิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร ได้มีการทดลองขยายขอบเขตของ germ bubble ให้กว้างออกไปมากกว่าภายในบ้านเพียงหลังเดียว 

ในวันที่ 6 ก.ย.นี้ นายแดเนียล แอนดรูส์ มุขมนตรีรัฐวิกตอเรีย มีกำหนดที่จะเปิดเผยแผนแม่บทในการนำพารัฐวิกตอเรียออกจากมาตรการจำกัดห้ามการแพร่ระบาดต่าง ๆ มีความสนใจเป็นจำนวนมากถึงการนำคำนิยามดังกล่ามาปรับใช้ หลัง ศาสตราจารย์เบรตต์ ซัตทัน ประธานเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ ได้ยืนยันว่ากำลังมีการพิจารณาแนวคิดดังกล่าว “อย่างกระตือรือร้น” 

การขยายขอบเขตของ COVID Bubble หมายความว่า ผู้คนในครัวเรือนหนึ่ง สามารถเลือกบุคคลอื่นหรือครัวเรือนอื่น ให้เป็นผู้ที่คุณสามารถพบปะใกล้ชิดได้ (close contact) ซึ่งจะต้องมีความเฉพาะตัว เพื่อให้ความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสนั้นได้รับการควบคุม โดยครัวเรือนหรือบุคคลที่ได้รับเลือกนั้นจะต้องอาศัยอยู่ในละแวกหรือในเมืองเดียวกัน

วิธีดังกล่าวเป็นการรักษาสมดุลของความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยความต้องการของผู้คนในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่ต้องได้รับการกักตัว สามารถเชื่อมต่อกับสังคม เพื่อบรรเทาความเครียดในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา

แม้แนวคิดดังกล่าวจะมีความเสี่ยงตามมาแบบไม่ต้องสงสัย แต่มันเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลจะต้องประกาศใช้มาตรการจำกัดการแพร่ระบาดต่าง ๆ บนพื้นฐานของความเห็นอกเห็นใจ การแพร่ระบาดใหญ่ครั้งนี้ เปรียบเหมือนการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่การวิ่งให้เร็วที่สุด และเมื่อประชาชนรู้สึกว่านโยบายต่าง ๆ ถูกจัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงความเห็นอกเห็นใจ ก็มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่พวกเขาจะยึดหลักปฏิบัติตามในระยะยาว

คุณอาจสนใจฟังเรื่องนี้
LISTEN TO
Thai mum in Australia's nightmare of COVID-19 image

คนไทยในออสฯ เล่าพิษสงเชื้อมัจจุราชโควิด-19

SBS Thai

23/04/202033:04

COVID Bubble ในแถบทะเลแทสมัน

ในมาตรการล็อกดาวน์ปัจจุบันของรัฐวิกตอเรีย COVID Bubble นั้น ถูกจำกัดเฉพาะบุคคลในครัวเรือนเดียว โดยมีเพียงผู้ที่ “มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้ง” เท่านั้น ที่ได้รับอนุญาตให้ไปเยี่ยมหากันได้

ความโดดเดี่ยวที่เพิ่มขึ้น ได้สร้างผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้คนเป็นอย่างมาก และมันเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า สิ่งนี้ได้ทำให้ผู้ที่เป็นโสด และผู้ที่มาจากโครงสร้างทางครอบครัวที่แตกต่างไปนั้นเกิดความไม่สบายใจ

แนวคิด COVID Bubble ได้พยายามที่จะแก้ปัญหาในส่วนนี้ โดยการเปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถพบปะใกล้ชิดกับกลุ่มบุคคลที่มีการมีความเฉพาะและในการจำกัดความอย่างชัดเจน สิ่งนี้เป็นแนวคิดใหม่ แต่ไม่ได้รับการนำไปใช้ในการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส (SARS) เมื่อปี 2003 โดยนิวซีแลนด์ เป็นประเทศแรกของโลกที่นำแนวคิดดังกล่าวไปปรับใช้ และขยายขอบเขตของแนวคิดดังกล่าว ในการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา ซึ่งเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้พบปะใกล้ชิดกันนอกบ้านได้ ภายใต้มาตรการจำกัดการแพร่ระบาด “ระดับ 3”

การขยายขอบเขต COVID Bubble ของนิวซีแลนด์นั้น ไม่เพียงแต่จะเป็นแนวทางบนพื้นฐานความเห็นอกเห็นใจ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวด แต่ยังเป็นแนวทางที่สะท้อนกับความเป็นจริงของสภาพสังคมในยุคปัจจุบันอีกด้วย

ในสังคมของเรา  ความสัมพันธ์ที่มีความสำคัญสำหรับเรานั้นมีความซับซ้อน และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงความเข้าใจของเราว่า ใครเป็นสมาชิกครอบครัว ครอบครัวแบบผสม สมาชิกครอบครัวต่างบิดามารดา คู่ชีวิต คนรัก รวมถึงเพื่อนสนิท ซึ่งทั้งหมดอาจไม่ได้อยู่อาศัยร่วมกันในตอนนี้

การเลือกสมาชิกในครอบครัวในเป็นผู้พบปะใกล้ชิดในแนวคิด COVID Bubble ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความเห็นอกเห็นใจนั้น อาจส่งผลดีต่อชุมชนในระยะยาว ในช่วงที่เราต้องเข้า ๆ ออก ๆ จากมาตรการล็อกดาวน์

สหราชอาณจักร เป็นอีกประเทศที่ได้นำแนวคิด COVID Bubble ไปปรับใช้ เมื่อมีการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยได้อนุญาตให้ผู้ที่อยู่คนเดียวในที่พักอาศัย สามารถรวมกลุ่มกับที่พักอาศัยซึ่งมีผู้อยู่อาศัยหลายคนได้

และอะไรเป็นความเสี่ยงของ COVID Bubble?

แม้แนวคิดนี้จะส่งผลดีต่อสังคม แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงของการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ซึ่งจะต้องมีการชั่งน้ำหนักระหว่างข้อได้เปรียบทางสุขภาพจิต และความเป็นไปได้ในการแพร่กระจายเชื้อ 

หากแนวคิด COVID Bubble นั้น ได้รับการนำมาใช้ในออสเตรเลีย จะต้องมีขบวนการที่ได้รับการจัดทำขึ้นอย่างเป็นทางการ ในกากำกับดูแลการรวมกลุ่มของประชาชน นอกจากนี้ จำนวนประชาชนที่รวมกลุ่มได้สูงสุดนั้นจำเป็นจะต้องถูกจำกัด

แนวคิดนี้จะต้องมีความเฉพาะตัวเป็นอย่างมาก หากคุณรวมกลุ่มเป็น bubble กับครัวเรือนใดแล้ว คุณไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงไปรวมกลุ่มกับครัวเรือนอื่น ๆ ได้ตามอำเภอใจ หากคุณต้องการเปลี่ยนแปลงครัวเรือนที่ต้องการรวมกลุ่ม จะมีช่วงระยะห่าง 14 วัน ก่อนที่จะสามารถออกจากกลุ่มหนึ่ง ไปรวมกับอีกกลุ่มหนึ่งได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อระหว่างกลุ่ม 

แอปพลิเคชันติดตามการรวมกลุ่มนั้น จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในขบวนการเลือกผู้คนหรือครัวเรือนที่ต้องการรวมกลุ่ม โดยแอปพลิเคชันจะขอความยินยอมจากทุกฝ่าย ขณะที่ระบบ COVID Bubble จะต้องมีการพิจารณาการจัดการในพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างกัน ในแง่ของระดับอัตราการแพร่กระจายเชื้อ  

ตัวอย่างเช่น หากสมาชิกในหลายครัวเรือนคนหนึ่ง อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอัตราการแพร่กระจายไวรัสในอัตราสูง สิ่งนี้เป็นความเสี่ยงในระดับสูงสำหรับทั้ง bubble แม้ว่าสมาชิกในครัวเรือนคนอื่น ๆ จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอัตราการแพร่กระจายเชื้อในระดับต่ำก็ตาม เพราะไวรัสจะสามารถแพร่กระจายไปยังพื้นที่ซึ่งมีการแพร่กระจายเชื้อในระดับต่ำผ่านกลุ่ม bubble เหล่านี้

นอกจากนี้ ผู้ที่ทำงานอยู่ในพื้นที่หรืออาชีพซึ่งมีความเสี่ยง ยังมีความเสี่ยงสูงในการแพร่กระจายเชื้อเข้าไปยัง bubble ที่ตนเองรวมกลุ่มอีกด้วย

ในแง่ของระบาดวิทยานั้น เป้าหมายของเราคือการลดความเสี่ยงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ในการแพร่ระบาดใหญ่ที่ยาวนาน เราต้องให้ช่องว่างสำหรับความเห็นอกเห็นใจ โดยที่ไม่เพิ่มความเสี่ยงให้กับชุมชนในวงกว้าง

นโยบายบนความเห็นใจสร้างความร่วมมือ

การแยกตัวอยู่ต่างหาก สร้างความเครียดและอาจลดความร่วมมือของประชาชน แต่นโยบาย COVID Bubble ที่อยู่บนพื้นฐานของความเห็นอกเห็นใจนั้น จะบ่มเพราะความพร้อม โดยการลดความรู้สึกของการแยกตัวสำหรับผู้ที่อยู่ตัวคนเดียวและเพื่อนฝูง รวมถึงความยากลำบากในการที่สมาชิกครอบครัวหรือคู่ครองต้องถูกแยกออกจากกัน 

การพัฒนาแนวคิด COVID Bubble บนพื้นฐานความเห็นอกเห็นใจ อาจช่วยให้เราสามารรับมือกับการแพร่ระบาดใหญ่ที่กินเวลายาวนาน ที่อาจต้องบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์หลายครั้ง รวมถึงการกำหนดพื้นที่ฮอตสปอตหากจำเป็น ความเห็นอกเห็นใจจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ชุมชนมีความต้องการที่จะยึดหลักปฏิบัติตามกฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้มากขึ้น มากกว่าที่จะเป็นการถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม 

การตอบรับของเจ้าหน้าที่ตามแนวทางวิทยาศาสตร์ อาจทำให้ชุมชนเห็นว่า เจ้าหน้าที่มีความชำนาญและน่าเชื่อถือ แต่นั่นไม่ได้แสดงให้พวกเขาเห็นถึงความเห็นอกเห็นใจ แผนการที่มีความปลอดภัยบนพื้นฐานของความเห็นอกเห็นใจนั้น จะทำให้มั่นใจว่า มีสิ่งจูงใจสำหรับผู้คน ในการรวมกลุ่มใน COVID Bubble ต่าง ๆ  การดำเนินการในลักษณะที่เห็นอกเห็นใจ รวมกับการรักษาสมดุลและการตรวจสอบที่มีความเหมาะสม จะเปลี่ยนทัศนะคติของผู้คนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ทางการ ให้เป็นไปในลักษณะที่สร้างความไว้วางใจ และมีความสามารถในการก้าวผ่านวิกฤตไวรัสโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัย


รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 4 September 2020 1:18pm
Updated 4 September 2020 1:26pm
By Mary-Louise McLaws
Presented by Tinrawat Banyat
Source: The Conversation


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand