Explainer

ทำไมชุมชนพหุวัฒนธรรมจึงต้องการข้อมูลวัคซีนโควิดในภาษาของตนเอง

จากการยับยั้งข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ที่แพร่หลายเป็นวงกว้าง ไปจนถึงการช่วยชีวิตผู้คน ผู้นำชุมชนพหุวัฒนธรรมในออสเตรเลียเผยเหตุผลสำคัญในการมีข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนที่ถูกต้องและชัดเจนในภาษาต่าง ๆ และหลายช่องทาง

Vaccine messaging

Vaccine messaging Source: SBS News/Nick Mooney

การให้ข้อมูลแก่ชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมในออสเตรเลีย (CALD) เกี่ยวกับไวรัสโคโรนาอย่างถูกต้อง ได้ถูกพิสูนจ์แล้วว่าเป็นอุปสรรค์ในการทำงานของเจ้าหน้าที่ในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่

ความผิดพลาดในการแปลข้อมูลต่าง ๆ ของรัฐบาลสหพันธรัฐและรัฐบาลระดับรัฐได้ถูกเปิดเผย ขณะที่เมื่อเดือนก่อนมีข้อมูลที่พบว่า บางชุมชนพหุวัฒนธรรมในรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่ยังคงคิดว่า ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19

การเอาชนะข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาดนั้นก็เป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญในข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษ แต่ถ้าหากเป็นข้อมูลในอีกหลาย ๆ ภาษา จะเป็นอย่างไร

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลสหพันธรัฐได้เปิดตัวโครงการด้านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา งบประมาณ $23.9 ล้านดอลลาร์ แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการนำข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เข้าไปยังชุมชนพหุวัฒนธรรมของออสเตรเลีย

ต่อไปนี้คือสิ่งที่ผู้นำชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมได้อธิบายว่า เพราะเหตุใด การสื่อสารในเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนไวรัสโคนาโดยเจ้าหน้าที่ทางการอย่างชัดเจนในภาษาของพวกเขาผ่านช่องทางต่าง ๆ นั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ

‘ทฤษฎีสมคบคิด’ ระบาดหนัก

นายโรแลนด์ จาบบอร์ (Roland Jabbour) ประธานสมาคมชาวอาหรับออสเตรเลีย (Australian Arabic Council) กล่าวว่า ความสับสนในการหาข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ในภาษาของพวกเขา กำลังทำให้ผู้คนในชุมชนชาวอาหรับต่างต้องหาข้อมูลข่าวสารด้วยตนเอง แต่ก็ไม่ใช่ว่าข้อมูลทุกอย่างที่พบนั้นจะเป็นความจริง

“สมาชิกในชุมชนของเราพูดคุยกัน และสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูลซึ่งไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป มีหลายทฤษฎีสมคบคิดที่กำลังถูกพูดถึงอย่างแพร่หลาย” นายจาบบอร์ กล่าว 

เพื่อเป็นการรับมือในส่วนนี้ นายจาบบอร์ กล่าวว่า มันเป็นสิ่งสำคัญในการที่เจ้าหน้าที่ทางการจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้นำชุมชนต่าง ๆ ตลอดช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสนี้

“การมุ่งเน้นในส่วนนี้ จำเป็นที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มชุมชนต่าง ๆ เช่น การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้นำชุมชน เพื่อให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกต้องได้รับการเผยแพร่ และเป็นที่รับรู้ว่ามาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ” นายจาบบอร์ กล่าว

นายเมอร์รี-โจ คามารา (Murray-Jo Kamara) นักทำงานเพื่อสังคม และผู้นำเยาวชนชาวแอฟริกัน กล่าวว่า ข่าวสารที่ผิดพลาดนั้นได้แพร่กระจายไปในหมู่วัยรุ่นชาวแอฟริกันในออสเตรเลียเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะทางโซเชียลมีเดีย

เขายอมรับว่า การมีปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายในชุมชน จะสามารถช่วยแก้ไขความเข้าใจผิด ๆ ของผู้คนได้เป็นอย่างมาก

“หากข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นมาจากองค์กร หรือกลุ่มชุมชนที่พวกเขาเชื่อถือ พวกเขาก็จะไว้วางใจและปฏิบัติตามอย่างจริงจัง” นายคามารา กล่าว

“เรามีองค์กรในชุมชนของผู้คนวัยหนุ่มสาว เช่น กลุ่มเล่นกีฬา และกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่เยาวชนให้ความไว้วางใจ ดังนั้น ถ้าสารเหล่านี้มาจากผู้คนเหล่านั้น มันจะเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับพวกเขา”

ไม่ใช่ทุกคนที่รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อกระแสหลัก

นายวินเซน โอกู (Vincent Ogu) ประธานองค์กร Africa Health Australia กล่าวว่า มีชุมชนชาวแอฟริกันในออสเตรเลียส่วนหนึ่งที่ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาจากสื่อกระแสหลัก หรือสื่อดั้งเดิม อย่างวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์

“ผู้คนในชุมชนไม่ได้เข้าถึงข้อมูลจากสื่อกระแสหลักเสมอไป ดังนั้น มันยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องสำรวจช่องทางเหล่านี้ที่พวกเขารับข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะบรรดาผู้ที่ไม่มีภูมิหลังในการพูดภาษาอังกฤษ” นายโอกู กล่าว

“ต้นทางข่าวสารในลักษณะข้างต้นก็มีอยู่แล้ว นั่นคือองค์กรที่มีพื้นเพในชุมชน ซึ่งสามารถแปลข้อมูลข่าวสารเป็นภาษาท้องถิ่นได้ ซึ่งผู้คนจะเริ่มไว้วางใจกับข้อมูลข่าวสารที่มาจากช่องทางเหล่านี้”
Dr Vincent Ogu, the chair of Africa Health Australia.
داکتر وینسنت اوگو، رییس سازمان صحی آفریقا-آسترالیا Source: SBS News/Bernadette Clarke
นอกจากนี้ ในบางชุมชนหลังวัฒนธรรมยังได้จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนไวรัสโคโรนาในภาษาของตนเอง เพื่อทำให้แน่ใจว่า ข้อมูลเหล่านี้มาจากแหล่งที่มาอันน่าเชื่อถือ และได้รับการแปลอย่างถูกต้อง

“เรากำลังมีความคิดว่า ทันทีที่วัคซีนต้านไวรัสโคโรนาเปิดตัว เราจะจัดทำแผ่นพับซึ่งจะแจกให้กับบรรดาสมาชิกชุมชน” นายปรากาช เมห์ทา (Prakash Mehta) ประธานสมาคมชาวฮินดูแห่งออสเตรเลีย (Hindu Council of Australia) กล่าว โดยเขาได้เสริมว่า “จะมีการจัดสัมมนาทางออนไลน์ร่วมกับแพทย์ในชุมชนชาวฮินดู รวมถึงตัวแทนจากรัฐบาล”

นายเมห์ทา กล่าวว่า การมีข้อมูลข่าวสารในภาษาฮินดี ภาษาทมิฬ และภาษาปัญจาบ จะเป็นผลดีอย่างมากสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนชาวฮินดูของออสเตรเลีย

“ประชากรชาวฮินดูส่วนมากเข้าใจภาษาอังกฤษ แต่สำหรับผู้สูงอายุบางคน หรือรุ่นพ่อรุ่นแม่บางคนอาจไม่เข้าใจ ซึ่งนั่นจะเป็นการส่งเสริมเกี่ยวกับวัคซีนในอนาคต” นายเมห์ทากล่าว

มันอาจเป็นเรื่องของความเป็นและความตาย

นพ.มูเกช ไฮเคอวอล (Mukesh Haikerwal) แพทย์ตรวจโรคทั่วไปในย่านฮอบสันส์ เบย์ (Hobsons Bay) ซึ่งเป็นเทศบาลปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดในรัฐวิกตอเรีย กล่าวว่า การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ที่ถูกต้องนั้น สามารถช่วยเหลือชีวิตผู้คนได้

“เรามีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งเราทุกคนในฐานะชาวออสเตรเลียก็เป็นส่วนหนึ่งและยินดีกับสิ่งนี้ แต่นั่นเป็นข้อกำหนดสำคัญที่เราต้องทำให้แน่ใจว่า เมื่อเราทำสิ่งใดที่มีความสำคัญเช่นนี้ ชุมชนต่าง ๆ ของเราจะต้องทราบดีว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น” นายไฮเคอวอล กล่าว  

“เราต้องส่งสารไปเป็นภาษาต่าง ๆ เราจำเป็นที่จะต้องข้อมูลเป็นตัวอักษร รวมถึงเป็นคลิปวิดีโอ ที่ผู้คนสามารถรับฟังหรือชมผ่านทางโซเชียลมีเดียและทางแพลตฟอร์มอื่น ๆ ได้ด้วย”

นพ.ไฮเคอวอล กล่าวอีกว่า ชุมชนที่มีความหลากหลายทางภาษา จำเป็นที่จะต้องได้รับสารเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ในมาตรฐานเดียวกับข้อมูลฉบับภาษาอังกฤษที่ชาวออสเตรเลียซึ่งใช้ภาษาอังกฤษได้รับ โดยแพทย์ตรวจโรคทั่วไปนั้นมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือผู้คนในชุมชน

“การฉีดวัคซีนเป็นสิ่งที่เราพบว่าได้ช่วยเหลือชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุ และสิ่งนี้ทำโดยแพทย์ตรวจโรคทั่วไปในออสเตรเลีย เรามีคนทำงานเป็นแพทย์ตรวจโรคทั่วไปจำนวนมากที่สามารถพูดได้หลายภาษา พวกเขาสามารถช่วยเหลือให้ผู้คนเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีน รวมถึงสิ่งที่จำเป็น สิ่งต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงก่อนฉีด และการช่วยเหลือเพื่อขจัดความกังวลต่าง ๆ ได้ในภาษาของตนเอง” นพ.ไฮเคอวอล กล่าว

รัฐบาลทำอะไรบ้างเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารไปถึงทุกคน

หน่วยงานสาธารณสุขของออสเตรเลีย ระบุว่า โครงการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับวัคซีนต้านไวรัสโคโรนา งบประมาณ $23.9 ล้านดอลลาร์นี้ จะ.ให้การสนับสนุนกับชาวออสเตรเลียทุกคน รวมถึงชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม

“มันเป็นเรื่องสำคัญที่พวกเขาจะได้รับข้อมูลที่พวกเขาเข้าใจได้ ซึ่งรวมถึงเนื้อหาที่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ และขณะนี้เรายังคงทำงานอย่างต่อเนื่อง” โฆษกหน่วยงานสาธารณสุขของออสเตรเลีย กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์

“มีการพัฒนาแหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่การโฆษณาสำหรับชุมชนพหุวัฒนธรรมหลายรูปแบบ เช่น บทบรรณาธิการทางสิ่งพิมพ์และวิทยุ วิดีโออธิบายเกี่ยวกับการติดตามข้อมูลล่าสุด รวมถึงแนวทางในการพัฒนาเนื้อหาวิดีโอสำหรับผู้นำชุมชนในการถ่ายทำด้วยตนเอง ข้อมูลในเว็บไซต์เป็นภาษาต่าง ๆ โพสต์สำหรับเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย รวมถึงโปสเตอร์ และบทความในจดหมายข่าว”

โฆษกหน่วยงานสาธารณสุขกล่าวว่า เนื้อหาต่าง ๆ จะได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจากข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และระหว่างที่ข้อมูลต่าง ๆ ได้รับการเผยแพร่มากขึ้นจากทางหน่วยงาน โฆษกระบุว่า จะมีการปรับปรุงข้อมูลข่าวสารอย่างทันท่วงทีในช่องทางต่าง ๆ

นอกจากนี้ หน่วยงานสาธารณสุขออสเตรเลียยังได้ทำงานร่วมกับเอสบีเอส เพื่อตรวจสอบเนื้อหาขั้นสุดท้าย ในวิดีโออธิบายเกี่ยวกับวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติ ความปลอดภัยในการใช้วัคซีน กลุ่มประชาชนที่จะได้รับวัคซีนตามลำดับ และการติดตามข้อมูลล่าสุด โดยเอสบีเอส กำลังอยู่ในระหว่างการผลิตเนื้อหาใน 63 ภาษา และมีกำหนดการเผยแพร่ในวันที่ 22 ก.พ.นี้

โฆษกหน่วยงานสาธารณสุขยังระบุอีกว่า รัฐบาลในรัฐและมณฑลต่าง ๆ จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับล่ามแปลภาษาในจุดรับวัคซีน ขณะที่จุดรับวัคซีนต่าง ๆ กำลังได้รับการยืนยัน

ผู้ถือวีซ่าใดบ้างที่จะได้รับการฉีดวัคซีนฟรี

อีกจุดหนึ่งที่สร้างความสับสนให้กับชุมชนหลากวัฒนธรรมคือ จะมีใครบ้างที่ได้รับวัคซีนต้านไวรัสโคโรนา รัฐบาลออสเตรเลียระบุว่า การฉีดวัคซีนต้านไวรัสโคโรนานั้นไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับชาวออสเตรเลีย ผู้อาศัยถาวร และผู้ถือวีซ่าออสเตรเลียส่วนใหญ่

นั่นหมายความว่า ผู้ใดก็ตามในออสเตรเลียที่ถือวีซ่านักเรียน วีซ่าทำงาน วีซ่าทักษะ วีซ่าครอบครัว วีซ่าคู่ครอง วีซ่าผู้ลี้ภัย วีซ่าโครงการมนุษยธรรม วีซ่าส่วนภูมิภาค วีซ่าบริดจิง หรือวีซ่าพิเศษ จะสามารถฉีดวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

อย่างไรก็ตาม ผู้ถือวีซ่า 4 ชนิดดังต่อไปนี้ จะไม่ได้รับสิทธิ์ในการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

  • Subclass 600 - tourist (วีซ่าท่องเที่ยว)
  • Subclass 771 – transit (วีซ่าทรานซิท)
  • Subclass 651 – eVisitor (วีซ่าผู้มาเยือน)
  • Subclass 601 - electronic travel authority  
จากข้อมูลของหน่วยงานมหาดไทยออสเตรเลีย พบว่ามีผู้ถือวีซ่า 4 ชนิดข้างต้นราว 69,000 คน โดยวีซ่าเหล่านี้ไม่ใช่วีซ่าในการอยู่อาศัย และได้รับอนุมัติเป็นเวลาระยะสั้นระหว่าง 72 ชั่วโมง ถึง 12 เดือน เพื่อจุดประสงค์ในการท่องเที่ยว การมาเยี่ยมเพื่อนและสมาชิกครอบครัว และไม่ได้รับสิทธิ์ในการทำงานในออสเตรเลีย

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานมหาดไทยออสเตรเลีย กล่าวว่า รัฐบาลกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาวีซ่าทั้ง 4 ประเภทนี้ เพื่อดูว่าจะมีความเหมาะสมหรือไม่ ในการให้ผู้ที่ถือวีซ่าดังกล่าวรับวัคซีนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตามแผนฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ระดับชาติ


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 4 February 2021 6:25pm
Updated 4 February 2021 6:34pm
By Claudia Farhart
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand