“ตาล้า” จากการจ้องหน้าจอนานจะทำอย่างไร

Woman Using Smartphone

อาการตาล้าจากการอยู่หน้าจอนานเกินไปเป็นปัญหาที่กำลังเพิ่มมาก Source: Getty / Getty Images

อาการตาล้าจากการอยู่หน้าจอนานเกินไปเป็นปัญหาที่กำลังเพิ่มมากขึ้นแต่ผลการศึกษาชี้ว่าแสงสีฟ้าจากหน้าจอ (blue light) ไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหานี้ และการใส่แว่นป้องกันแสงสีฟ้า (blue-blockers) ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาอาการตาล้า


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน



ปัจจุบัน หลายๆ คน ใช้ชีวิตหน้าจอดิจิทัลมากขึ้น ทั้งในการทำงานและเพื่อความบันเทิง ศาสตราจารย์ลอรา ดาวนี่ จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น เปิดเผยว่า วิถีชีวิตเช่นนี้ มีผลกระทบอย่างไร


"เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ซึ่งโดยเฉลี่ยประมาณสี่ชั่วโมงต่อวันหรือมากกว่านั้น มีแนวโน้มที่จะมีอาการตาล้ามากขึ้น เช่นรู้สึก ล้า แสบร้อนตาหรือรู้สึกไม่สบาย "

 
computer work
ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ซึ่งโดยเฉลี่ยประมาณสี่ชั่วโมงต่อวันหรือมากกว่า มีแนวโน้มที่จะมีอาการตาล้ามากขึ้น Source: Pixabay

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า แสงสีฟ้า (blue light) เป็นสาเหตุที่ทำให้คนปวดตามากขึ้น ดร.ซูเมียร์ ซิงห์ จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กล่าวว่า สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ ยอดขายแว่นตาเพื่อป้องกันแสงสีฟ้าได้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ไวรัสโควิดระบาด

เนื่องจากผู้คนมีอาการตาล้าทางดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับโฆษณาต่างๆ จากบริษัทขายแว่นตา ผู้คนจึงมักจะซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้
ดร.ซูเมียร์ ซิงห์ จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น

blue-blockers ป้องกันสายตาได้จริงไหม


เลนส์ป้องกันแสงสีน้ำเงินสำหรับแว่นสายตา มีการเคลือบพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อลดปริมาณแสงสีน้ำเงินที่ผ่านเลนส์และเข้าสู่ดวงตา แต่ว่ามันมีประสิทธิภาพป้องกันดวงตาของเราจริงหรือไม่

ดร.ซิงห์เป็นส่วนหนึ่งของทีมการวิจัยในเรื่องนี้ ซึ่งทำการศึกษาเปรียบเทียบเลนส์ใสมาตรฐานกับเลนส์ที่มีการเคลือบสารป้องกันแสงสีฟ้า เพื่อตรวจสอบว่าว่าเลนส์ป้องกันแสงสีฟ้ามีประสิทธิภาพมากกว่าหรือไม่ ซึ่งผลการศึกษาชี้ว่า แว่นป้องกันแสงสีฟ้า หรือ blue-blockers นั้นไม่สามารถป้องกันแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นต้นเหตุของตาล้าได้ ดร.ซิงห์ อธิบายว่า

"เราทำการทดลองทางคลินิกแบบสุ่ม โดยทั้งผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมการศึกษาที่เข้าร่วมในการ โดยไม่ทราบว่าผู้เข้าร่วมได้ใส่แว่นป้องกันแสงสีฟ้าของบริษัทใด สิ่งที่เราพบคือแว่นป้องกันแสงสีฟ้า หรือ blue-blockers นั้นไม่สามารถลดอาการปวดตาเมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์ใสมาตรฐาน"



 
ศาสตราจารย์ดาวน์นี่ กล่าวว่าผลการศึกษานี้สอดคล้องกับงานวิจัยอื่นๆ ทั่วโลกที่มีข้อสรุปเดียวกัน

ศาสตราจารย์ดาวน์นี่ ชี้ว่า แว่นป้องกันแสงสีฟ้าไม่ได้มีอันตรายใดๆ แต่มีสิ่งที่ผู้คนสามารถทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเมื่อยล้าดวงตาอย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อคุณมีอาการตาล้า เราขอแนะนำให้ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตา เช่น นักตรวจวัดสายตา คุณอาจต้องตัดแว่น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดอาการปวดตา
ศาสตราจารย์ลอรา ดาวนี่ จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น

“การปรับเปลี่ยน ความถี่หรือระยะเวลาในการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน ทำให้มั่นใจว่าการตั้งค่าตามหลักสรีรศาสตร์อย่างความเหมาะสม ก็มีความสำคัญในการลดโอกาสที่จะประสบกับความเมื่อยล้าของดวงตาเมื่อใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเป็นเวลานาน”



 คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 




บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 






Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand