ประเทศจำลอง: พื้นที่ใหม่ของการเคลื่อนไหวทางสังคม

Prince Jean-Pierre and 'Princess Olivia' of Aigues-Mortes in France (supplied).jpg

คุณ โอลิวิเยร์ และคุณ ฌอง ปีแยร์ จากประเทศฝรั่งเศษได้แต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเมืองเอกา-มอร์ต

ประเทศจำลอง (Micronations) และการแต่งตั้งฐานันดรศักดิ์ขึ้นมาเองนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในยุคนิวมิลเลนเนียมนั้นมันกลายเป็นปราฎการณ์ของการเคลื่อนไหวทางสังคม


ประเด็นสำคัญ
  • ประเทศจำลอง เป็นปรากฏการณ์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน
  • ประเทศจำลองพร้อมทั้งการแต่งตั้งฐานันดรศักดิ์อาจจะไม่ใช่เป็นเรื่องที่สนองความต้องการส่วนตัวอีกต่อไป แต่ยังเป็นการสร้างพื้นที่ในการเรียกร้องประเด็นต่างๆ ทางสังคม
  • นักวิชาการวิเคราห์ว่าเรื่องประเทศจำลองเป็นพื้นที่ที่ประชาชนได้แสดงออกถึงความต้องการ และการมีส่วนร่วมในสังคม
มีปราฎการณ์ใหม่ที่มีความนิยมเพิ่มขึ้นนั่นคือการตั้งประเทศใหม่ที่สร้างขึ้นโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยสมมุติ ซึ่งเรียกว่า "ประเทศจำลอง" (Micronations) ปรากฎการณ์นี้อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องแปลก แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเรื่องนี้กลายเป็นประเด็นการต่อสู้ทางสังคมที่กำลังเป็นที่จับตามองของนักวิชาการ

ในออสเตรเลียเรื่องนี้เริ่มขึ้น ในปี 1970 คุณ ลีโอนาร์ด คาสลีย์ จากรัฐเวสเทิร์น ออสเตรเลีย ได้ประกาศอิสรภาพเหนือดินแดนที่เป็นฟาร์มของเขา และได้ตั้งประเทศขึ้นมาชื่อว่า "เดอะ พรินซ์ซิพอลตี ออฟ ฮัท ริเวอร์" (The Principality of Hutt River) เขาแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นเจ้าชาย ซึ่งมีอำนาจสิทธิขาดของกษัตริย์ ทั้งหมดทั้งมวลเพื่อเลี่ยงภาษีและโควตาการผลิต

การกระทำที่ท้าทายเช่นนั้นกลายมาเป็นต้นแบบของการเกิดขึ้นของประเทศจำลอง ประเทศที่เคยถูกสมมุติขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ส่วนตนและในบางกรณีก็เป็นเรื่องของการตอบสนองอัตตาของตัวเอง จนกระทั่งปัจจุบันที่ความคิดในเรื่องนี้ได้เปลี่ยนไป ศาสตราจารย์ แฮร์รี ฮอบส์ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ซิดนีย์ เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ทำการศึกษาปรากฎการณ์นี้อย่างจริงจัง และยังเป็นผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับประเทศจำลอง เขาให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า

"ผมคิดว่าประเทศจำลองหรือไอเดียของการตั้งประเทศจำลองนั้นได้เปลี่ยนไปอย่างมากในหลายรุ่นที่ผ่านมา ซึ่งความคิดเห็นโดยทั่วไปเกี่ยวกับคนที่ตั้งประเทศของตนเองขึ้นมาใหม่คือเป็นคนที่เห็นตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล คนที่ไม่ได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการก็เลยตัดสินใจที่จะแยกตัวเองออกมาจากประเทศเดิมแล้วมาตั้งประเทศใหม่ของตัวเอง แต่ตั้งแต่มีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย ผมคิดว่าเรื่องประเทศจำลองกลายมาเป็นพื้นที่ทางชุมชนมากขึ้น"

ตั้งแต่จุดเปลี่ยนของศตวรรษเป็นต้นมา ประเทศจำลองเหล่านี้ได้ถูกตั้งขึ้นโดยคนที่มุ่งหวังในเกิดความสนใจในประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น คุณ นีลส์ เวอร์เมียร์ซ เขาเป็นคุณพ่อลูกสองในวัย 30 เขาเป็นพนักงานออฟฟิศในประเทศเบลเยียม เมื่อคุณ นีลส์เห็นข่าวของ คุณคาสลีย์เกี่ยวกับราชอาณาจักรของเขา คุณนีลส์ ก็ตัดสินใจที่จะสถาปนาพื้นที่ที่เขารักนั่นก็คือ แอนตาร์กติกาให้เป็นพื้นที่ในการปกครองของเขา และเรียกดินแดนแห่งน้ำแข็งแห่งนี้ว่า "เดอะ แกรนด์ ดัชชีแห่งแฟลนเดรนซิส" (The Grand Duchy of Flandrensis)

“เดอะ แกรนด์ ดัชชีแห่งแฟลนเดรนซิส เป็นที่แห่งเดียวในโลกที่จะไม่มีคนอาศัยอยู่ซึ่งแตกต่างจากประเทศหรือองค์กรอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันมีหลายองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงสำหรับแอนตาร์กติกา และนี่คือเป็นสิ่งที่เราแตกต่าง เราเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรและไม่สังกัดภายใต้รัฐบาลใดซึ่งเป็นสิ่งที่เราใช้ในการตั้งประเทศจำลองนี้ขึ้นมา"
Antarctica
แอนตาร์กติกาเป็นประเทศจำลองของคุณ นีลส์ เวอร์เมียร์ซ เขาเรียกดินแดนแห่งน้ำแข็งแห่งนี้ว่า "เดอะ แกรนด์ ดัชชีแห่งแฟลนเดรนซิส" Credit: NASA

คุณ นีลส์ได้มีส่วนร่วมหลายวาระในการสัมนาว่าด้วยเรื่องของแอนตาร์กติกา ซึ่งคนที่ติดตามเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นโลกร้อนและนำความรู้ไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ คุณนีลส์ได้มอบเหรียญสดุดีให้นักสิ่งแวดล้อมหลายคนด้วย

ศาสตราจารย์ แฮร์รี ฮอบส์ ตั้งข้อสังเกตว่า”เดอะ แกรนด์ ดัชชี” เป็นตัวอย่างของคนรุ่นใหม่ในการตั้งประเทศจำลองซึ่งไม่เพียงสร้างความขบขันแต่ยังเป็นการสร้างเสียงเรียกร้องให้กับประเด็นที่ถูกหลงลืม

 "ถ้าคุณคือหนึ่งประเทศเท่ากับว่าคุณมีหนึ่งเสียง แต่ถ้าคุณไม่ใช่ประเทศคุณก็ไม่มีสิทธิในการออกเสียงเลย แอนตาร์กติกาไม่ใช่ประเทศซึ่งมันก็เลยไม่มีสิทธิออกเสียงใดๆในการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ ซึ่งประเทศจำลองหลายประเทศที่ตั้งขึ้นในดินแดนแอนตาร์กติกาช่วยให้เกิดความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมในพื้นที่แห่งนี้"

ในปัจจุบันหลายๆ คนก็เริ่มตั้งประเทศของตัวเองเพื่อประโยชน์กับชุมชนของตน เช่น คุณ โอลิวิเยร์ และคุณ ฌอง ปีแยร์ จากประเทศฝรั่งเศษได้แต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อ เอกา-มอร์ต เพราะว่าพวกเขาต้องการให้เมืองเล็กๆ แห่งนี้มีการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและมีจำนวนประชากรมากขึ้น ศาสตราจารย์ ฮอบส์ วิเคราะห์ประเด็นนี้ว่า

"ประเทศจำลองแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน ก่อนหน้านี้เมืองเล็กๆในฝรั่งเศษแห่งนี้ได้ประสบปัญหาที่ผู้คนย้ายออกและส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นคู่ชีวิตคู่นี้ตัดสินใจที่จะตั้งประเทศจำลองและสถาปนาตำแหน่งขึ้นมาเพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวและทำให้เมืองนี้กลับฟื้นคืนชีพอีกครั้งและมันก็ได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี"

ราชอาณาจักร เอกา-มอร์ต ได้จัดงานอีเวนท์ งานเฉลิมฉลอง มีการจัดทำเงินสกุลท้องถิ่นขึ้น รวมทั้งมีสื่อที่นำเสนอข่าวและโครงการอื่นๆ มากมาย โดยที่ โอลิวิเยร์ แต่งตัวเป็นเจ้าหญิงเพื่อสร้างสีสรรอีกด้วย คุณ โอลิวิเยร์ อธิบายในประเด็นนี้ว่า

"เราต้องการที่จะทำเพื่อเมืองของเราซึ่งนี่เป็นทางหนึ่งที่ทำให้ผู้คนรู้จักเมืองของเรามากขึ้น"

ส่วนคุณ ฌอง ปีแยร์ คู่ชีวิตของเขาก็สวมเครื่องแต่งกายเป็นเจ้าชายที่น่าเกรงขามและมองว่าการตั้งประเทศจำลองขึ้นมาเป็นหนทางสำหรับการผลักดันอะไรบางอย่าง

"ดินแดนของเราเป็นพื้นที่ของการเป็นพลเมืองทางเลือก ซึ่งทุกคนมีสิทธิเรียกร้องในเรื่องต่างๆ โดยที่ไม่ต้องรอให้รัฐบาลลงมือจัดการเรื่องนั้น"


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  



บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand