การปรับโครงการสิทธิประโยชน์ยาอาจช่วยผู้ป่วยประหยัดทั้งเงินและเวลา

Medicine pills

Source: AAP

ในเร็วๆ นี้ ผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรังจะสามารถซื้อยาตามใบสั่งยาจากแพทย์ได้ในปริมาณสำหรับใช้ 60 วัน ในราคาค่ายาสำหรับ 1 เดือน


ในเร็วๆ นี้ ผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรังจะสามารถซื้อยาตามใบสั่งยาจากแพทย์ได้ในปริมาณสำหรับใช้ 60 วัน ในราคาค่ายาสำหรับ 1 เดือน

นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโครงการสิทธิประโยชน์ทางเภสัชกรรม หรือพีบีเอส (PBS) ซึ่งจะรวมอยู่ในร่างงบประมาณของรัฐบาลสหพันธรัฐ ที่จะมีการแถลงในเดือนหน้า

แต่เจ้าของร้านขายยาบางรายไม่เห็นด้วยกับแผนดังกล่าว โดยกล่าวว่าอาจนำไปสู่การขาดแคลนยา

คุณเอมิลี ยูนิตี มีความจำเป็นต้องใช้ยาตามใบสั่งยาจากแพทย์ เพื่อรักษาอาการด้านสุขภาพจิต ซึ่งทำให้เธอต้องไปพบแพทย์จีพีเป็นประจำ

“มันลำบากมากที่จะต้องกลับไปหาหมอ และต้องไปแสดงเหตุผลกับหมอทุกเดือนเกี่ยวกับอาการของเราหรือความเจ็บป่วยของเรา ดังนั้นการลดจำนวนครั้งที่ต้องทำเช่นนี้ลงครึ่งหนึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก” คุณเอมิลี กล่าว

นอกจากต้องพบแพทย์บ่อยครั้งเพื่อขอใบสั่งยาแล้ว เรื่องค่ายายังเป็นอีกภาระหนึ่งที่ผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรังต้องเผชิญ

“มันพอกพูนขึ้น ซึ่งมันอาจดูเหมือนเป็นเงินไม่มากสำหรับบางคน 180 ดอลลาร์ต่อปีอาจดูเหมือนไม่มาก แต่สำหรับฉันที่ใช้ยามากมายซึ่งต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ และต้องทดลองยาที่แตกต่างกันด้วย รวมทั้งการดูแลอาการป่วยที่มีไปพร้อมๆ กัน ค่ายามันจึงพอกพูนขึ้น และมันเป็นเงินที่จริงๆ แล้วฉันอาจสามารถใช้เป็นค่าเช่าที่พัก ค่าอาหาร หรือค่าเล่าเรียน หรือใช้เพื่อไปทำงาน” คุณเอมิลี กล่าว
180 ดอลลาร์ต่อปีอาจดูเหมือนไม่มาก แต่สำหรับฉันที่ใช้ยามากมายซึ่งต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ ค่ายามันจึงพอกพูนขึ้น
เอมิลี ยูนิตี
แต่นี่กำลังจะเปลี่ยนไป จากข่าวดีที่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของสหพันธรัฐแถลงออกมา ก่อนการแถลงร่างงบประมาณของรัฐบาลกลาง

ในไม่ช้า ผู้ป่วยจะสามารถเข้าถึงยาตามใบสั่งยาจากแพทย์ ในปริมาณยาสำหรับใช้ 2 เดือน ด้วยราคาค่ายาเพียง 1 เดือน ภายใต้โครงการสิทธิประโยชน์ด้านเภสัชกรรม หรือพีบีเอส (PBS)

นาย มาร์ก บัตเลอร์ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ รัฐบาลชุดที่แล้วได้รับคำแนะนำในปี 2018 ให้ดำเนินการ

“ผู้ป่วยที่อาการทรงตัวอย่างมากและใช้ยาเหล่านี้มาระยะหนึ่งแล้ว จะสามารถรับยาได้ด้วยการไปพบแพทย์จีพี เพียงครั้งเดียวแทนที่จะเป็น 2 ครั้ง และไปพบเภสัชกร 6 ครั้งแทนที่จะเป็น 12 ครั้ง ซึ่งว่าจะลดความไม่สะดวกลงอย่างเห็นได้ชัดสำหรับผู้ป่วย และจะช่วยลดความกดดันอย่างมากต่อแพทย์พีจีด้วย” นายบัตเลอร์ กล่าว
ผู้ป่วยที่อาการทรงตัวอย่างมากและใช้ยาเหล่านี้มาระยะหนึ่งแล้ว จะสามารถรับยาได้ด้วยการไปพบแพทย์จีพี เพียงครั้งเดียวแทนที่จะเป็น 2 ครั้ง และไปพบเภสัชกร 6 ครั้งแทนที่จะเป็น 12 ครั้ง
มาร์ก บัตเลอร์ รัฐมนตรีสาธารณสุข
รัฐบาลคาดการณ์ว่า ประชาชนราว 6 ล้านคนจะมีค่ายาลดลงครึ่งหนึ่ง

ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินได้ 1.6 พันล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 4 ปีข้างหน้า ซึ่งรัฐบาลกล่าวว่าจะใช้เงินเหล่านั้นไปกลับลงทุนสำหรับร้านขายยาต่างๆ ในชุมชน

ผู้ป่วยโดยทั่วไปจะสามารถประหยัดเงินได้ 180 ดอลลาร์ต่อปี สำหรับยาหนึ่งตัว

ในขณะที่ผู้ถือบัตรลดหย่อน (concession card holders) จะประหยัดเงินได้อีกเกือบ 44 ดอลลาร์
คุณเอลิซาเบธ เดเวนี จาก สภาผู้บริโภคด้านสุขภาพแห่งออสเตรเลีย (Health Consumers Forum of Australia) กล่าวว่า นี่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ

“จริงๆ แล้วเมื่อคุณดูรายการยา มาตรการนี้ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังและมีอาการทรงตัว นั่นคือใช้ยาเหมือนเดิมทุกปี ลองนึกภาพผู้ที่มีความดันโลหิตสูงและกินยาเม็ดเดียวกันทุกวันเป็นเวลา 10 ปี ตอนนี้นี่จะทำให้พวกเขาเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง สำหรับบางคน แน่นอนว่าไม่ใช่ยาหนึ่งเม็ด แต่ 5 เม็ดหรือแม้แต่ 15 เม็ด ดังนั้นพวกเขาจะได้รับประโยชน์อย่างมาก” คุณเดเวนี จากสภาผู้บริโภคด้านสุขภาพแห่งออสเตรเลีย แสดงความเห็น

แต่สมาคมเภสัชกรรมได้วิพากษ์วิจารณ์การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยกล่าวว่าอาจทำให้ร้านขายยาอิสระได้รับความเสียหายถึง 170,000 ดอลลาร์ต่อปี และนำไปสู่การขาดแคลนยา

ศาสตราจารย์ เทรนต์ ทูมี ประธานสมาคม กล่าวเรื่องนี้ว่า

“เราต้องการให้รัฐบาลอัลบานีซีปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้เมื่อขอให้ชาวออสเตรเลียลงคะแนนเสียงให้รัฐบาลอัลบานีซีเมื่อปีที่แล้ว นั่นคือทำให้ยามีราคาถูกลง แต่ต้องทำในลักษณะที่ไม่ส่งผลเสียต่อความสามารถในการอยู่รอดของร้านขายยาชุมชน 6,000 แห่ง เราจะสามารถให้ยา 2 กล่องกับผู้ป่วยบางคนได้อย่างไร ในเมื่อเราไม่สามารถแม้แต่จะให้ยา 1 กล่องสำหรับผู้ป่วยทุกคนได้” ศ.ทูมี ประธานสมาคมเภสัชกรรม กล่าว
แต่ นพ.บรูซ วิลเลตต์ รองประธาน ราชวิทยาลัยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปแห่งออสเตรเลีย (Royal Australian College of General Practitioners) ได้แสดงความข้องใจเกี่ยวกับข้ออ้างเรื่องการขาดแคลนยา เขากล่าวว่า

“แน่นอนว่าข้ออ้างนี้ไร้สาระ ผู้คนจะรับประทานยาในปริมาณที่เท่ากันไม่ว่าจะได้รับการจ่ายยาให้ครั้งละกี่เม็ดก็ตาม มันจะไม่ทำให้ผู้คนเพิ่มปริมาณการใช้ยาเป็นสองเท่า มันเหมือนกับการบอกว่าคุณไม่ควรบรรจุนมลงในภาชนะขนาด 2 ลิตร เพราะวัวจะผลิตนมไม่ทันกับความต้องการ” นพ.วิลเลตต์ รองประธาน ราชวิทยาลัยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปแห่งออสเตรเลีย กล่าว

ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ยาราว 100 รายการ จากทั้งหมด 320 รายการ ภายใต้โครงการสิทธิประโยชน์ทางเภสัชกรรม หรือพีบีเอส (PBS) จะสามารถจ่ายให้แก่คนไข้ในปริมาณสำหรับใช้เป็นเวลา 2 เดือน

หลังจากนั้น จะค่อยๆ ขยายไปสู่ยาส่วนที่เหลือในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ออสเตรเลียทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ ที่เทียบเคียงได้ เช่น อังกฤษและนิวซีแลนด์


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand