ผู้เชี่ยวชาญเตือนอย่าชะล่าใจเกี่ยวกับโควิดและวัคซีน

A vaccination booster is administered

A vaccination booster is administered Source: AAP

แม้รัฐบาลรัฐต่างๆ ในออสเตรเลียจะมีการผ่อนคลายข้อกำหนดเกี่ยวกับโควิด-19 แล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเตือนมิให้ประชาชนชะล่าใจกับเกี่ยวกับการติดเชื้อ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกำลังเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และเตือนผู้คนให้ไปฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นกันเสีย


กดฟังรายงาน
LISTEN TO
Medical experts warn against virus and vaccine complacency image

ผู้เชี่ยวชาญเตือนอย่าชะล่าใจเกี่ยวกับโควิดและวัคซีน

SBS Thai

01/04/202208:26
ในขณะที่รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียกำลังผลักดันให้มีการเริ่มยกเลิกข้อกำหนดด้านกักตัวเพื่อกักโรคโควิด-19 และมาตรการการตรวจเชื้อ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเตือนว่า จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนากำลังเพิ่มสูงขึ้น และรัฐบาลควรยังคงมองเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ขณะนี้ ผู้คนในออสเตรเลียจำนวนมากขึ้นเชื่อถือผลการตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจเชื้อด้วยตนเองแบบทราบผลรวดเร็ว (Rapid Antigen Tests หรือ RAT) เพื่อจะกลับไปยังที่ทำงานได้

แต่ศาสตราจารย์ แคเทอรีน เบนเนตต์ หัวหน้าภาควิชาระบาดวิทยาของมหาวิทยาลัยดีคิน เตือนไม่ให้ผู้คนเชื่อถือผลการตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจเชื้อด้วยตนเองมากจนเกินไป เนื่องจากปัญหาด้านความถูกต้องแม่นยำ
การกินอาหารหรือแปรงฟันภายในครึ่งชั่วโมงก่อนตรวจเชื้อ อาจทำให้การตรวจเชื้อไม่แม่นยำ
การกินอาหารหรือแปรงฟันภายในครึ่งชั่วโมงก่อนตรวจเชื้อ อาจทำให้การตรวจเชื้อไม่แม่นยำ Source: Pixabay
"ชุดตรวจเชื้อด้วยตนเองแบบทราบผลรวดเร็วที่อนุมัติในออสเตรเลียทั้งหมดนั้นในทางทฤษฎีแล้วดูดีมาก สำหรับความละเอียดอ่อนหรือความแม่นยำนั้นสามารถตรวจพบการติดเชื้อได้ 80 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้วเรารู้ว่ามันน้อยกว่านั้นมาก โดยเฉพาะการตรวจเองที่ในบ้าน และเรื่องอื่นๆ เช่น การเก็บรักษาชุดตรวจเชื้อก่อนใช้งาน หรือการที่ผู้คนอาจกินอาหารหรือแปรงฟันภายในครึ่งชั่วโมงก่อนตรวจเชื้อ สิ่งเหล่านั้นก็ส่งผลต่อการตรวจเชื้อได้เช่นกัน และผู้คนก็ประสบปัญหาในการอ่านผลการตรวจเชื้อด้วย ดังนั้น สิ่งเหล่านั้นในโลกแห่งความเป็นจริงจึงลดความแม่นยำนั้นลง ซึ่งอาจลดลงเหลือราว 60 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นเราอาจตรวจไม่พบการติดเชื้อ 30 หรือ 40 เปอร์เซ็นต์ในการตรวจเชื้อครั้งแรก" ศ. เบนเนตต์ กล่าว
การเก็บรักษาชุดตรวจเชื้อก่อนใช้งาน หรือการที่ผู้คนอาจกินอาหารหรือแปรงฟันภายในครึ่งชั่วโมงก่อนตรวจเชื้อ สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่อความแม่นยำในการตรวจเชื้อได้เช่นกัน
เธอกล่าวต่อไปว่า ถ้ามีอาการของโควิด-19 นั่นควรลบล้างผลการตรวจด้วยชุดตรวจเชื้อด้วยตนเองเสมอ และผู้ที่มีอาการควรกักตัวที่บ้าน แทนที่จะกลับไปยังที่ทำงาน

"หากเราใช้ชุดตรวจเหล่านี้หลายครั้ง เมื่อเรามีอาการหรือได้พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อและตรวจเชื้อแล้วและพบผลเป็นลบ แต่เราก็ตรวจซ้ำอีกครั้ง เราจะมีโอกาสที่จะตรวจพลาดทุกครั้งน้อยลง ดังนั้นการตรวจซ้ำจะทำให้ผลแม่นยำขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ในแต่ละครั้งที่ทำการตรวจเชื้อ อาจตรวจพลาดไปราว 1 ใน 5 หรือราว 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก็อาจตรวจพลาดมากกว่า 1 ใน 3 แต่เราต้องจำไว้ว่าอาการควรลบล้างผลการตรวจเสมอ ดังนั้น หากเรามีอาการและผลการตรวจเป็นลบ เราควรถือว่าติดโควิด  จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่โควิด" ศ.เบนเนตต์ กล่าว
หากเรามีอาการและผลการตรวจเป็นลบ เราควรถือว่าติดโควิด จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่โควิด
หากเรามีอาการแต่ผลการตรวจด้วยชุดตรวจเชื้อด้วยตนเองเป็นลบ เราควรถือว่าติดโควิด  จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่โควิด
หากเรามีอาการแต่ผลการตรวจด้วยชุดตรวจเชื้อด้วยตนเองเป็นลบ เราควรถือว่าติดโควิด จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่โควิด Source: Pixabay
ในขณะที่เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนในออสเตรเลียทั้งหมดได้วัคซีนต้านโควิดสองเข็มแรกแล้ว แต่อัตราการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นหรือบูสเตอร์นั้นต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของประชากร

ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต บอย (Robert Booy) กุมารแพทย์ด้านโรคติดเชื้อ กล่าวว่า การผ่อนคลายข้อจำกัดของรัฐบาล และโอกาสที่จะตรวจเชื้อพลาดจากการใช้ชุดตรวจเชื้อด้วยตนเอง (RAT) อย่างไม่ถูกต้องนั้น จึงทำให้เขาเตือนว่า ผู้คนในออสเตรเลียที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ควรรีบไปรับการฉีดเสีย

"เป็นที่ทราบกันอย่างชัดเจนว่า ถ้าเราได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 เรามีความเสี่ยงต่ำมากที่จะป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิต ความเสี่ยงของการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลและการเสียชีวิตหากเราได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 นั้นต่ำกว่า อย่างน้อย 10 เท่า ใครก็ตามที่จนถึงขณะนี้ได้รับวัคซีนแล้วเพียงสองเข็มและกำลังรอวัคซีนเข็มที่สามอยู่ ก็ขอให้รีบไปรับการฉีดเสีย" ศ.บอย กล่าว

เขายังบอกอีกว่า สำหรับวัคซีนเข็มกระตุ้นครั้งที่สองนั้น จะมีให้ฉีดได้ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายนเป็นต้นไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้คนในออสเตรเลียที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

Vulnerable and older Australians will soon be able to get a fourth COVID-19 vaccine dose.
ผู้เชี่ยวชาญในออสเตรเลียเตือนประชาชนอย่าชะล่าใจเกี่ยวกับโควิดและให้รีบไปฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น Source: AAP / Bianca De Marchi


เขากล่าวว่า หากในช่วงฤดูหนาว กลุ่มที่ปรึกษาทางเทคนิคเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันโรคแห่งออสเตรเลีย หรือ ATAGI เห็นผลลัพธ์ที่เป็นชิ้นเป็นอันเกี่ยวกับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่มเติม พวกเขาอาจพิจารณาขยายคำแนะนำนี้ไปสู่ประชากรทั่วไป

"วัคซีนเข็มกระตุ้นครั้งที่สองเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันไม่ดี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีชาวออสเตรเลียครึ่งล้านคนที่เป็นมะเร็งหรือได้รับเคมีบำบัด หรือใช้ยาไฮโดรสเตียรอยด์ หรือได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก คนเหล่านั้นจะได้รับประโยชน์จากวัคซีนเข็มที่ 4 เช่นเดียวกับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ นั่นคือระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขาแก่ตัวลง และสำหรับคนเหล่านี้การได้รับวัคซีนเข็มที่สี่จึงมีประโยชน์ ซึ่งจะฉีดได้ตั้งแต่ 4 เมษายน โดยจะให้การปกป้องที่ดีขึ้นและแข็งแกร่งขึ้นเป็นระยะเวลานานขึ้น" ศ.บอย กล่าว

แม้ว่าอัตราการรักษาตัวในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตจะลดลง เมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่ผู้คนในออสเตรเลียจะเข้าถึงวัคซีนต้านโควิด-19 และอาการป่วยต่างๆ จากการติดเชื้อโดยทั่วไปไม่รุนแรงนักสำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว แต่ศาสตราจารย์ ไมเคิล ทูล จากสถาบันเบอร์เนต เตือนว่าอย่ามองข้ามอันตรายจากโควิด

เขากล่าวว่า อาการ 'โควิดระยะยาว' หรือ Long Covid จะเป็นปัญหาสำหรับระบบสุขภาพ และ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะมีอาการต่อเนื่อง

"ตอนนี้เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนจากข้อมูลในต่างประเทศว่าราว 25 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนจะลงเอยด้วยอาการ 'โควิดระยะยาว' (หรือ Long Covid) และนั่นก็อาจจะเป็นเช่นเดียวกันสำหรับเด็กและวัยรุ่น ดังนั้นคนเหล่านั้นจะมีปัญหาในการกลับไปทำงาน การรับมือกับการเรียนการทำการบ้าน และจะเป็นภาระต่อระบบสุขภาพ ดังนั้น เราไม่ควรมองว่าความตาย ว่าเป็นผลเพียงอย่างเดียวจากการติดเชื้อ" ศ.ทูล กล่าว
จากข้อมูลในต่างประเทศว่าราว 25 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนจะลงเอยด้วยอาการ 'โควิดระยะยาว' (หรือ Long Covid)
จากการระบาดของเชื้อ BA.2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน ที่แพร่กระจายได้ง่ายกว่าเดิม หน่วยงานด้านสุขภาพต่างๆ จึงเรียกร้องให้ผู้คนในออสเตรเลียออกไปรับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

ในรัฐนิวเซาท์เวลส์นั้น มีผู้คนมากกว่าสองล้านคนที่ขณะนี้มีสิทธิ์รับวัคซีนเข็มกระตุ้นหรือวัคซีนต้านโควิดเข็มที่สามแล้ว แต่ยังไม่ได้ไปรับการฉีดเลย


คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand