หมอคนไทยอธิบายภาวะ ‘ลองโควิด’ หายป่วยแต่ไม่หายขาด

25 AUG 2022 LONG COVID INTV (Dr.Siraporn Tagerd_Engin Akyurt from Pixabay).jpg

พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิด อธิบายอาการลองโควิด (Long COVID) หายป่วยแต่ไม่หายขาด Source: Pixabay, Supplied / Engin Akyurt from Pixabay/ Siraporn Tagerd

พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิด แพทย์คนไทยในเมลเบิร์น อธิบายถึงภาวะลองโควิด (Long COVID) หรืออาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ลองโควิดเกิดขึ้นเพราะอะไร อาการลองโควิดแบบไหนที่พบบ่อย อาการไหนที่ควรปรึกษาแพทย์ด่วน ในออสเตรเลียมีแนวทางรักษาบรรเทาอาการลองโควิดอย่างไร พร้อมคำแนะนำวิธีหลีกเลี่ยงลองโควิด


เนื้อหาสำคัญในพอดคาสต์
  • มีผู้ติดเชื้อโควิดราว 10-35 เปอร์เซ็นต์ที่มีอาการป่วยหลงเหลือนานเกิน 12 อาทิตย์
  • เชื้อไวรัสโควิดส่งผลกระทบต่อหลายระบบในร่างกาย ไม่ใช่เฉพาะระบบทางเดินหายใจ
  • อาการลองโควิดส่วนใหญ่ที่พบเป็นอย่างไร
  • ในออสเตรเลียมีแนวทางรักษาภาวะลองโควิดอย่างไร
คลิก ▶ ด้านบนเพื่อฟังสัมภาษณ์ฉบับเต็ม

พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิด แพทย์ทั่วไป (GP) ในเมลเบิร์น กล่าวว่า ภาวะลองโควิด (Long COVID) หรืออาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 แล้ว เกิดขึ้นกับคนบางคนหลังติดเชื้อแล้ว

“คนไข้ส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อโควิดนั้นอาการจะค่อยๆ หายไปภายใน 2-3 อาทิตย์ โดยคนส่วนใหญ่จะรู้สึกเหมือนกลับมาเป็นปกติ แต่จะมีคนไข้กลุ่มหนึ่ง ซึ่งเปอร์เซ็นต์แตกต่างกันไปในแต่ละการวิจัย แต่อยู่ที่ประมาณ 10-35 เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ที่ติดเชื้อโควิด สามารถมีอาการนานเกิน 12 อาทิตย์ได้ ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่เราเรียกว่ามีอาการลองโควิด (Long COVID)” พญ.ศิราภรณ์ อธิบาย

แต่อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ ยังคงไม่มีความรู้ความเข้าใจที่แน่ชัดเกี่ยวกับภาวะลองโควิด

“ลองโควิด หรือที่เรียกว่า โพสต์โควิดซินโดรม (Post COVID Syndrome) ณ ปัจจุบัน ยังคงเป็นโรคอุบัติใหม่อยู่ ที่เรายังไม่มีความรู้เกี่ยวกับมันมากนัก เนื่องจากโควิดอยู่กับเรามาเพียงเกือบสามปี ข้อมูลต่างๆ ก็ยังคงมาจากข้อมูลในช่วงสามปีที่ผ่านมาเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อถามว่าลองโควิดมีจริงไหม มันมีจริง แต่เกิดขึ้นจากอะไรนั้น เรายังไม่ทราบแน่นอน แต่คาดว่ามาจากการที่ตัวเชื้อไวรัสโควิดสามารถส่งผลกระทบต่อหลายระบบในร่างกายของเรา ไม่ใช่เฉพาะแค่ระบบทางเดินหายใจเท่านั้น” คุณหมอศิราภรณ์ กล่าว
เมื่อถามว่าลองโควิดมีจริงไหม มันมีจริง แต่เกิดขึ้นจากอะไรนั้น เรายังไม่ทราบแน่นอน แต่คาดว่ามาจากการที่ตัวเชื้อไวรัสโควิดสามารถส่งผลกระทบต่อหลายระบบในร่างกายของเรา
พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิด
โดยทั่วไปมักมีความเข้าใจกันว่าคนที่เมื่อติดเชื้อโควิดแล้วป่วยมาก มีโอกาสมากกว่าที่จะมีอาการลองโควิดภายหลัง แต่ถ้าติดเชื้อแล้วป่วยน้อย ก็จะไม่มีอาการลองโควิด ซึ่งในประเด็นนี้ คุณหมอกล่าวว่า มีหลายกรณีที่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น

“(ความเข้าใจดังกล่าวนั้น) ต้องบอกว่าทั้งจริงและไม่จริง เพราะมีการศึกษาวิจัยหลายโครงการที่มีข้อมูลขัดแย้งกันพอสมควร ก่อนหน้านี้มีการศึกษาวิจัยบางโครงการที่บอกว่า คนที่มักจะเป็นลองโควิดคือคนที่มีโรคประจำตัวเก่าอยู่แล้ว หรือคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือคนที่มีอาการร้ายแรงในช่วงที่ติดโควิดใหม่ๆ แต่ในการศึกษาวิจัยใหม่ๆ บางโครงการเริ่มพบข้อมูลเพิ่มขึ้นว่า (การเกิดภาวะลองโควิด) ไม่ได้เกี่ยวว่าตอนที่ติดโควิดป่วยมากแค่ไหน หรือมีโรคประจำตัวยังไง ไม่ได้เกี่ยวว่าเป็นคนอายุน้อยหรืออายุมาก”

สำหรับอาการของลองโควิด ที่ผู้คนมักรายงานเข้ามานั้น ได้แก่ “อาการที่เห็นได้ชัดและพบบ่อย เช่น มีอาการเหนื่อยมาก อาจจะทำอะไรได้ครึ่งวันก็เหนื่อยแล้ว บางคนมีอาการไอยาวนานถึง 3 เดือน หรือมีลักษณะเหมือนมีเสมหะติดคอตลอดเวลา บางคนมีอาการหายใจไม่ทั่วท้อง คือหายใจถี่ๆ แล้วลมไม่เข้าเต็มปอด บางคนมีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัวอยู่ บางคนรู้สึกเจ็บหน้าอกเป็นพักๆ บางคนมีอาการปวดหัวอยู่ บางคนการรับรู้กลิ่นและรสหายไป โดยมีอาการเหล่านี้ยาวนานเกิน 3 เดือน บางคนมีอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการมีอาการทางกายเกิน 3 เดือนจึงส่งผลกระทบต่อจิตใจด้วย”
Dr Siraporn Tagerd close up 2.jpg
พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิด แพทย์จีพี ในเมลเบิร์น Source: Supplied / Siraporn Tagerd
คุณหมอย้ำว่า มีอาการลองโควิดบางอย่างที่ร้ายแรง ที่ผู้ป่วยต้องปรึกษาแพทย์โดยด่วนที่สุด

“อาการกลุ่มนี้ ที่ถ้าเรามี เราต้องไปพบแพทย์ทันที ได้แก่ คนที่มีอาการเจ็บอกรุนแรง เหมือนกับหายใจไม่ออกหรือรู้สึกแน่นในอกมากๆ ส่วนคนที่มีอาการไข้ใหม่ขึ้นมาซึ่งไม่เกี่ยวกับโควิดในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ก็ควรไปรับการตรวจเพิ่มเติม ถ้าเรามีลักษณะความจำเสื่อม หรือรู้สึกมึนงง หรือมีลักษณะบุคคลิกภาพแตกต่างจากที่เราเคยเป็น หรือมีอาการเดินลำบาก รู้สึกแขนขาอ่อนแรง ซึ่งถ้าเรามีอาการเหล่านี้ เราควรจะไปรับการตรวจเพิ่มทันที”

จากประสบการณ์ตรงที่เห็นจากคนไข้ที่มารับคำปรึกษานั้น คุณหมอศิราภรณ์ จึงได้ฝากคำเตือนถึงชุมชนคนไทยในออสเตรเลีย เกี่ยวกับลองโควิด

“ลองโควิดมีจริง หมอเห็นคนไข้ที่ติดเมื่อ 6-7 เดือนที่แล้วหรือปีที่แล้ว แต่ยังคงมีอาการแปลกๆ อยู่ เพราะฉะนั้น วิธีหลีกเลี่ยงลองโควิด คืออย่าติดโควิดตั้งแต่แรก ถ้าเราหลีกเลี่ยงได้ จะดีที่สุดค่ะ”

นอกจากนี้ คุณหมอศิราภรณ์ ทาเกิด ได้อธิบายถึงอาการหัวสมองตื้อ หรือที่เรียกกันว่า “Brain Fog” ถ้ามีอาการลองโควิดแล้วจะรักษาให้หายได้ไหม แนวทางรักษาเป็นอย่างไรสำหรับผู้ป่วยลองโควิดในออสเตรเลีย พร้อมแนะนำวิธีลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งจะนำลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะลองโควิดตามม

คลิก ▶ เพื่อฟังรายละเอียดในบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
กดฟังสัมภาษณ์
thai_240822_Long COVID Dr.Siraporn image

พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิด แพทย์คนไทยในเมลเบิร์น อธิบายถึงภาวะลองโควิด (Long COVID) หรืออาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 แล้ว

SBS Thai

26/08/202219:29
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand