เสียงนักเรียนไทยในออสฯ บอกเล่าสถานการณ์ค่าครองชีพแพง

Cost of living

Source: Pixabay / Pixabay/stevepb

นักเรียนไทยในออสเตรเลียเผยผลกระทบภาวะค่าครองชีพแพงกระทบต่อชีวิตพวกเขาอย่างไร พร้อมเล่าการใช้ชีวิตและการทำงานในออสเตรเลีย


ผลวิจัยล่าสุดชี้ว่านักเรียน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนท้องถิ่นหรือนักเรียนต่างชาติก็ล้วนได้รับผลกระทบจากภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในออสเตรเลีย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจ่ายค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร และค่าเดินทางที่ต่างขยับราคามากขึ้นกว่าเดิม

นักเรียนไทยในออสเตรเลียออกมาแสดงความคิดเห็นว่าพวกเขาได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะในเรื่องหลักๆ คือ การจ่ายค่าที่อยู่อาศัย คุณ เชอรี่ นักเรียนไทยที่ถือวีซ่านักเรียนต่างชาติ เปิดเผยว่าค่าเช่าบ้านในแต่ละสัปดาห์เพิ่มสูงมากกว่าเมื่อ 2-3 ปีก่อน และไม่เพียงแต่ค่าเช่าบ้านแต่รวมถึงค่าใช้จ่ายทุกอย่างในชีวิตประจำวันด้วย เธอเปิดเผยว่า

“หลังช่วงโควิด หนูไม่รู้ว่ามัน เป็นเพราะว่าภาวะเงินเฟ้อหรืออะไร แต่ค่าเช่าเพิ่มขึ้นพรวดๆ ถ้าเปรียบเทียบตอนปี 2019 ก่อนโควิด ทุกอย่างมันแพงขึ้นมาก ไม่ใช่แค่เฉพาะค่าเช่า แต่ค่าอาหาร ค่าเดินทางก็ขึ้นหมด”
แม้แต่ค่าของเล็กๆ น้อยๆ ก็ยังขึ้น เช่นเมื่อ 3 ปีก่อนซื้อไดร์เป่าผมอันละ 19 ดอลลาร์ ตอนนี้ขึ้นเป็น 25 ดอลลาร์ ค่าครองชีพมันแพงหมด ค่าอาหารก็เหมือนกัน เมื่อก่อนคุณอาจไปกินอะไรอร่อยๆ ได้ในราคา 15 ดอลลาร์ แต่ตอนนี้ เงินจำนวนเท่ากันแทบซื้ออาหารแบบเดิมไม่ได้ โดยเฉลี่ยต้องจ่ายประมาณ 20 ดอลลาร์ต่อจาน
ส่วนคุณกลองที่ถือวีซ่าานักเรียนต่างชาติ ก็เห็นด้วยว่า ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นกระทบกับการใช้ชีวิตของเขาเหมือนกัน โดยเฉพาะค่าเช่าและค่าอาหาร

“ ค่าเช่าตอนนี้ก็ประมาณ 350 ดอลลาร์ต่ออาทิตย์ในทำเลแถวใกล้ในเมือง ถ้าทำกับข้าวเองก็ตกมื้อละ 10 ดอลลาร์ หรือถ้าทานนอกบ้านก็ 15-20 ดอลลาร์ ต่อมื้อ”
supermarket
นักเรียนไทยในออสเตรเลียเผยว่าไม่เพียงแต่ค่าที่อยู่อาศัยที่ต้องจ่ายเพิ่มมากขึ้น แต่ของของใช้ประจำวันก็มีราคาเพิ่มขึ้นด้วย Credit: wikimedia commons
นักเรียนไทยต้องหางานพิเศษทำเพื่อพยุงและช่วยเหลือเรื่องรายจ่ายของตนเองแต่การที่รัฐบาลเปลี่ยนกฎชั่วโมงการทำงานของนักเรียนต่างชาติอาจส่งผลกระทบกับนักเรียนบางกลุ่มได้

คุณเชอรี่ ให้ความเห็นว่า ตอนช่วงโควิดรัฐบาลไม่มีกฎในเรื่องชั่วโมงทำงานของนักเรียนต่างชาติ แต่พอหลังโควิดรัฐบาลจะนำระเบียบจำกัดชั่วโมงทำงานของนักเรียนต่างชาติมาใช้อีกครั้ง ซึ่งมันอาจจะกระทบกับคนบางกลุ่ม

“ อยากแนะนำให้ใครก็ตามที่มาที่นี่ เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย เพราะค่าแรงที่นี่ค่อนข้างดี แต่ถ้ารัฐบาลนำกฏทำงาน 48 ชั่วโมงต่อ2 อาทิตย์มาใช้ก็อาจจะกระทบกับกลุ่มที่มาทำงานโดยตรง แต่สำหรับหนูต้องเรียนมากกว่าอยู่แล้วและไปทำงานไม่ถึง 48 ชั่วโมงก็ไม่น่าจะกระทบอะไร”

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand