‘ไม่ฉีด ไม่จ่าย’ ‘ไม่ฉีด ไม่เล่น’ มาตรการการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กของออสเตรเลียมีอะไรบ้าง

Australia Explained - Child Immunisation

วัคซีนที่ฉีดให้แก่เด็กในออสเตรเลียได้รับการตรวจสอบจากองค์การบริหารผลิตภัณฑ์เพื่อการรักษาแล้ว Credit: Science Photo Library - IAN HOOT/Getty Images

วัคซีนสำหรับเด็กช่วยปกป้องเด็กและส่งผลดีกับคนรอบตัวเด็กด้วย รัฐบาลสหพันธรัฐของออสเตรเลียมีนโยบาย ‘ไม่ฉีด ไม่จ่าย’ และรัฐบาลมลรัฐมีนโนบาย ‘ไม่ฉีด ไม่เล่น’ เพื่อให้เด็กได้รับวัคซีนครบถ้วนตามโปรแกรมการฉีดวัคซีนแห่งชาติ


ประเด็นสำคัญ
  • ออสเตรเลียมีโปรแกรมการสร้างภูมิคุ้มกันแห่งชาติ โดยวัคซีนที่ให้แก่เด็กไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • นโยบาย 'ไม่ฉีด ไม่จ่าย' และ 'ไม่ฉีด ไม่เล่น' มุ่งให้เด็กได้รับวัคซีนครบถ้วน
  • หากคุณกังวลเรื่องภูมิคุ้มกันของเด็ก ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางแพทย์

กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

มีการประเมินว่าเด็ก 1 ใน 5 คนอาจเสียชีวิตจากโรคติดต่อ หากไม่ได้รับวัคซีนที่เหมาะสม

นโยบายการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กอาจแตกต่างไปตามแต่ละประเทศ แต่มีเหตุผลทางการแพทย์ที่คล้ายกัน นั่นคือ

รองศาสตราจารย์เคที แอตต์เวลล์ จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ออสเตรเลีย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนโยบายการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กอธิบายว่าทำไมการฉีดวัคซีนถึงเป็นนโยบายของรัฐบาล

“ฉันคิดว่าเหตุผลหลักที่การได้รับวัคซีนเป็นเรื่องสำคัญสำหรับรัฐบาล สำหรับชุมชน และเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะสถานะการฉีดวัคซีนของผู้คนมีผลต่อความเสี่ยงต่อโรค หากคุณมีอัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโรคสูง เช่น ประชากร 95% มีภูมิคุ้มกันโรคหัด ชุมชนก็จะไม่มีโอกาสติดโรคหัด แต่หากมีอัตราการฉีดต่ำ โรคหัดก็จะแพร่เชื้อได้ง่าย”
Australia Explained - Child Immunisation
โรคหัดเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายสำหรับเด็ก การฉีดวัคซีนสามารถช่วยให้เด็กมีภูมิคุ้มกันการติดเชื้อโรคหัดได้ Source: Moment RF / Witthaya Prasongsin/Getty Images
รองศาสตราจารย์แอตต์เวลล์เสริมว่า โปรแกรมการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กยังป้องกันโรคร้ายแรงให้แก่ผู้ที่อยู่กับเด็กได้ด้วย

ทั้งเด็กทารกแรกเกิด ผู้ใหญ่ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และเด็กที่กำลังรักษาโรคมะเร็ง

รองศาสตราจารย์ฟิลลิป บริตตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็กและเด็กวัยรุ่นจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์กล่าวว่า โปรแกรมการสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับเด็กของออสเตรเลียเป็นโปรแกรมดูแลสุขภาพที่ค่อนข้างครอบคลุม สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคที่เคยเป็นโรคร้ายแรงในอดีตหรืออาจเป็นโรคที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ในบางประเทศ
โรคอย่างเช่น โรคหัด คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน เมื่อ 20 ปีก่อนมีไวรัสที่ทำให้เด็กท้องเสียรุนแรงเรียกว่า โรตาไวรัส เรามีวัคซีนป้องกันโรคนี้ที่ออสเตรเลีย โรคอีสุกอีใสที่ติดต่อง่ายสำหรับเด็ก บางคนป่วยหนักจากการติดโรคนี้ เรามีวัคซีนป้องกันโรคเหล่านี้แล้ว
รศ.บริตตันกล่าว
ภายใต้โปรแกรมการฉีดวัคซีนแห่งชาติ กรมอนามัยมีกำหนดตารางเวลาการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กและผู้ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ด้วยนโยบาย ‘ไม่ฉีด ไม่จ่าย’ วัคซีนจากโปรแกรมจะเชื่อมโยงกับเงินสวัสดิการช่วยเหลือของรัฐบาลสหพันธรัฐ

ดังนั้นเพื่อสามารถขอรับเงินช่วยเหลือหรือเงินอุดหนุนค่าเลี้ยงดูบุตร ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดูแลบุตร 20-85% ผู้ปกครองต้องปฏิบัติตามตารางการฉีดวัคซีนของโปรแกรม

คุณจัสติน บอตต์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลชุมชนของเซอร์วิสส์ ออสเตรเลียอธิบาย

“เซอร์วิสส์ ออสเตรเลียไม่สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือหรือเงินอุดหนุนค่าเลี้ยงดูบุตรได้ หากเด็กไม่ได้รับวัคซีนตามที่กำหนด คุณอาจจะไม่ได้รับเงินในส่วนแรกที่คุณควรได้ เมื่อคุณยื่นขอรับเงินครั้งแรก หรือคุณอาจไม่ได้รับเงินช่วยเหลือตามกำหนด เพราะลูกของคุณไม่ได้รับวัคซีน”
Australia Explained - Child Immunisation
เด็กๆ และครูขณะรับประทานอาหารเที่ยง Credit: JohnnyGreig/Getty Images
คุณไม่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนของบุตรหลานกับเซอร์วิสส์ ออสเตรเลีย เพราะข้อมูลจะส่งถึงหน่วยงานเองโดยอัตโนมัติ

“วิธีที่เราใช้ติดตามเรื่องนี้คือ เมื่อคุณยื่นขอรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล เราจะขอรายละเอียดบัตรเมดิแคร์ของเด็ก ระบบเมดิแคร์เก็บรายละเอียดการฉีดวัคซีนของเด็ก เพื่อความแน่ใจว่าลูกของคุณได้รับวัคซีนตรงตามช่วงอายุที่ควร และเพื่อที่เราจะจ่ายเงินสวัสดิการได้ต่อเนื่อง”

สำนักทะเบียนการฉีดวัคซีนแห่งออสเตรเลียเป็นเป็นฐานข้อมูลที่เก็บบันทึกประวัติการฉีดวัคซีนทั้งหมดที่มีการขึ้นทะเบียนในออสเตรเลีย ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนที่ได้รับจากโปรแกรมการฉีดวัคซีนระดับประเทศ โปรแกรมที่โรงเรียน หรือการฉีดวัคซีนกับผู้ให้บริการเอกชน

ประวัติการฉีดวัคซีนจะเชื่อมโยงกับระบบเมดิแคร์โดยอัตโนมัติ และผู้ให้บริการฉีดวัคซีนที่ได้รับการรับรอง เช่น แพทย์จีพี (แพทย์ทั่วไป) หรือศูนย์สุขภาพชุมชน จะเป็นผู้อัปเดตข้อมูล

สำหรับกรณีที่เด็กได้รับวัคซีนที่ต่างประเทศ คุณบอตต์อธิบายว่า

“หากคุณมีหลักฐานหรือเอกสารการฉีดวัคซีน คุณควรนำหลักฐานนั้นไปแจ้งกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือที่เจ้าหน้าที่ทางแพทย์ที่คุณไปรับวัคซีนประจำ เจ้าหน้าที่จะอัปเดตข้อมูลในประวัติการฉีดวัคซีนที่ออสเตรเลียของลูกของคุณคุณ หากคุณไม่มีหลักฐาน ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำว่าควรทำอย่างไร”
Australia Explained - Child Immunisation
การฉีดวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อสำหรับเด็ก เด็กคนอื่น และผู้ปกครอง Source: Moment RF / Alan Rubio/Getty Images
หากเอกสารการฉีดวัคซีนของเด็กเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เซอร์วิสส์ ออสเตรเลียสามารถแปลเอกสารนั้นให้คุณได้

อย่างไรก็ตาม นโยบาย ‘ไม่ฉีด ไม่เล่น’ ยังเป็นอีกข้อกำหนดในระดับปฐมศึกษา ทั้งไชลด์แคร์ เดย์แคร์ และโรงเรียนอนุบาลด้วย

เนื่องจากข้อกำหนดแตกต่างไปตามแต่ละท้องถิ่น ผู้ปกครองควรตรวจสอบข้อกำหนดที่บังคับใช้ในรัฐหรือมณฑลที่อาศัยอยู่

รศ. แอตต์เวลล์สรุปข้อกำหนดที่ใช้ส่วนใหญ่

“รัฐที่บังคับใช้นโยบาย ‘ไม่ฉีด ไม่เล่น’ คือรัฐเวสเทิร์น ออสเตรเลีย รัฐวิกตอเรีย รัฐนิวเซาท์เวลส์ และรัฐเซาท์ ออสเตรเลีย ทั้ง 4 รัฐนี้มีระเบียบที่คล้ายกันในการลงทะเบียน คุณต้องแสดงประวัติการฉีดวัคซีน เพื่อแสดงว่าลูกของคุณได้รับวัคซีนครบถ้วนตามกำหนด หรือได้รับการยกเว้น หรือกำลังรอการฉีดวัคซีนกระตุ้น หรือมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ของการยกเว้นของรัฐ”

ยังคงมีบางกรณีที่เด็กไม่เหมาะจะรับวัคซีนด้วย

“มีเหตุผลสองประการ ประการแรกคือเด็กประวัติแพ้วัคซีนรุนแรง ประการที่สองคือ วัคซีนบางชนิดผลิตขึ้นจากสิ่งมีชีวิตหรือไวรัสเฉพาะ โดยไวรัสนั้นถูกทำให้อ่อนแอลงแต่ไม่ได้ถูกฆ่า เรียกว่าวัคซีนเชื้อตาย และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอไม่ควรได้รับวัคซีนเชื้อตาย เพราะจะไม่เป็นผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขา”
Australia Explained - Child Immunisation
หากบุตรหลานของคุณมีโรคประจำตัวหรือมีโรคที่ซับซ้อน คุณสามารถปรึกษาเรื่องการฉีดวัคซีนกับแพทย์ทั่วไปได้ Credit: The Good Brigade/Getty Images
การยกเว้นการรับวัคซีนมีข้อจำกัดที่เข้มงวด และผู้ให้บริการฉีควีคซีนที่ได้รับการรับรองเท่านั้นที่จะสามารถประเมินและรับรองว่าเด็กไม่ควรรับวัคซีน

รศ. แอตต์เวลล์กล่าวว่า ผู้ปกครองที่กังวลเรื่องการฉีควัคซีนสำหรับเด็กหรือมีข้อสงสัย ควรหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีหลักฐานอ้างอิง เช่น ซึ่งดำเนินการโดย
ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญทางแพทย์และขอคำปรึกษา พูดคุยกับแพทย์จีพี หรือหากผู้ปกครองยังลังเลและคิดว่าแพทย์จีพียังไม่สามารถให้คำตอบได้ สามารถขอส่งตัวไปที่คลินิกวัคซีนพิเศษของรัฐ แต่ต้องมีการส่งตัวไป ดังนั้นควรพยายามพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เสียก่อน
รศ. แอตต์เวลล์กล่าว
เมื่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทางแพทย์เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนสำหรับเด็ก ผู้ปกครองควรรู้สึกว่าสามารถถามคำถามได้โดยไม่ต้องกังวล ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตัดสิน หรือจะได้รับการดูถูก

“มันเป็นการหาผู้เชี่ยวชาญที่มีปฏิสัมพันธ์อันดีกับคุณ ที่คุณรู้สึกปลอดภัยที่จะถาม เพื่อหาคำตอบ และเพื่อให้การยืนยันกับคุณ”

อ่านหรือฟังเรื่องการตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียได้อีก


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand