ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรคืออะไร? ขอความช่วยเหลือได้อย่างไร?

Australia Explained - Postnatal Depression

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดไม่ได้เกิดกับแค่ผู้หญิงเท่านั้น Credit: PonyWang/Getty Images

คุณแม่มือใหม่ 4 ใน 5 คนประสบกับภาวะ ‘baby blues’ หลังคลอดบุตร สำหรับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดแตกต่างไปตามแต่ละบุคคล รวมถึงความรุนแรงของอาการและระยะเวลาด้วย และไม่ได้กระทบแค่กับผู้หญิงเท่านั้น


ประเด็นสำคัญ
  • ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะมีอาการนานกว่าภาวะ 'baby blues' และอาการจะรุนแรงกว่า
  • ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดกับ 1 ใน 5 ของคุณแม่มือใหม่และ 1 ใน 10 ของคุณพ่อมือใหม่
  • วิธีการรักษาได้แก่การบำบัดทางจิต การใช้ยาแก้ซึมเศร้า รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจ

กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมักทำให้มีอารมณ์ปรวนแปร เช่น หงุดหงิด วิตกกังวล ร้องไห้ง่าย และนอนไม่หลับ อาการเหล่านี้อาจหายไปโดยไม่ต้องรับการรักษา

แต่หากอาการไม่หายไปหรือกระทบกับการดำเนินชีวิตของคุณและลูก คุณอาจกำลังประสบกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postnatal depression)

คุณจูลี บอร์นนิงฮอฟ (Julie Borninkhof) นักจิตวิทยาและผู้บริหารของ หรือองค์กรเรื่องความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรแห่งออสเตรเลีย (Perinatal Anxiety & Depression Australia) กล่าวว่าภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรสามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอด

โดยผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า

“หลายคนรู้สึกถึงอารมณ์ที่ปั่นป่วน ไม่สามารถเข้าใจข้อมูลต่างๆ ได้ พวกเขามักรู้สึกเหมือนต้องการปิดกั้นตัวเองจากโลกภายนอกและกลับไปนอน การนอนอาจไม่ราบรื่น ไม่ว่าจะเป็นนอนหลับนานเกินไปหรือนอนไม่พอ ไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้เหมือนปกติ"
อาการต่าง ๆ ที่คุณมักเจอในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า
คุณบอร์นนิงฮอฟกล่าว
ฟังพอดคาสต์ที่เกี่ยวข้อง
Postnatal depression image

คุณแม่คนไทยเปิดใจคุยเรื่องภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตร

SBS Thai

25/03/202220:17
ผู้ที่เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อนมักมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด และยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นด้วย

“ผู้ที่มีครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงสูง และผู้ที่ประสบกับความบอบช้ำทางจิตใจอย่างรุนแรง (trauma) ก็มีแนวโน้มที่จะมีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวลหลังคลอดบุตร สำหรับหลายคน ภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้าไม่ได้เป็นช่วงเวลาที่แยกออกไปจากช่วงนี้ ดังนั้นหลายคนอาจเผชิญกับภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้าไปพร้อมๆ กัน”

คุณซาราห์ บารี (Sarah Bari) เล่าถึงการตั้งครรภ์ที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้นและการเตรียมพร้อม

แต่เมื่อลูกชายของเธอเกิด เธอกลับมีความรู้สึกกลัวเข้ามาแทนและความรู้สึกนั้นอยู่กับเธอนานหลายสัปดาห์ นานเกินกว่าช่วง bably blues
ฉันร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล 60 – 70% ของวัน
"ฉันกลัวที่จะทำอะไรให้ลูกชายของฉัน เช่น เรื่องธรรมดาอย่างการให้นมลูก อยู่กับลูก แม้แต่การเล่นกับลูกหรือการดูเขาเติบโต ฉันกลัวมากๆ กลัวแทบจะตลอดเวลา ฉันเข้าใจดีว่าการมีอาการนานขนาดนี้ไม่ใช่เรื่องปกติ”
Australia Explained - Postnatal Depression
ผู้ที่เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อนมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดมากกว่า Credit: SDI Productions/Getty Images
หลังพบแพทย์ GP (แพทย์รักษาโรคทั่วไป) แพทย์วินิจฉัยว่าคุณซาราห์มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

คุณซาราห์เกิดที่บังกลาเทศและอาศัยอยู่ที่ออสเตรเลียเป็นเวลา 20 ปี พ่อของเธอที่อยู่บังกลาเทศไปให้เธอขอความช่วยเหลือ โดยทั้งพ่อและแม่ของเธอเข้าใจถึงภาวะนี้เป็นอย่างดี แต่คุณซาราห์เชื่อว่าภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรยังคงนับเป็นเรื่องที่ถูกมองว่าไม่ดีในออสเตรเลีย ไม่ใช่เรื่องต้องห้ามเฉพาะกลุ่มบางเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมเท่านั้น

“100% เป็นเรื่องที่ถูกมองไม่ดีทางวัฒนธรรม แต่ฉันไม่คิดว่ามันเป็นประเด็นสำหรับคนบังกลาเทศเท่านั้น ฉันได้พูดคุยเรื่องภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของฉันกับคนออสเตรเลีย และเรื่องนี้ยังคงเป็นเรื่องต้องห้าม หลายคนไม่รู้ว่าจะโต้ตอบอย่างไร มันน่าสนใจมากจริงๆ ฉันทำงานกับบริษัทใหญ่ และฉันพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานเรื่องนี้ 1 ใน 4 ของเพื่อนร่วมงานของฉันไม่รู้จะสนทนาเรื่องนี้อย่างไร ฉันคิดว่าเรื่องนี้มีผลเป็นวงกว้างกว่าแค่ในแต่ละวัฒนธรรม”

แพทย์หญิงแจคกี้ บาร์นฟิล์ด (Jakqui Barnfield) ผู้บริหารฝ่ายให้บริการที่ บริการให้ความช่วยเหลือซึ่งให้คำปรึกษาแก่ผู้ชายทาง ด้วย ระบุว่าหนึ่งในความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดคือคิดว่ามีผลกับผู้หญิงเท่านั้น
ภาวะซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน
"จริงๆ แล้วสามีของฉันก็ประสบภาวะซึมเศร้าหลังคลอดด้วย สำหรับฉันที่ทำงานด้านสุขภาพจิต ฉันรู้ว่ามันเกิดขึ้นกับเขาก่อนที่เขาจะรู้ตัว มันเป็นประสบการณ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน ไม่ว่าคุณจะเป็นพ่อหรือแม่ ภาวะซึมเศร้ากระทบได้ทุกคน”
Australia Explained - Postnatal Depression
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเรื่องที่ยากที่จะพูดถึง ในทุกกลุ่มเชื้อชาติและวัฒนธรรม Credit: FatCamera/Getty Images
ผู้ชายเกือบ 1 ใน 10 เผชิญภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และปัจจัยกระตุ้นคล้ายคลึงกับผู้หญิง

“ฉันคิดว่าสิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงที่สร้างผลกระทบกับตัวคุณ หลายอย่างเกี่ยวกับความคาดหวังของตนเองและความคาดหวังจากผู้อื่น สิ่งต่างๆ ที่อยู่บนโซเชียลมีเดีย คุณเห็นภาพที่ดีเท่านั้น คุณไม่เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นเบื้องหลังภาพ หากคุณกำลังเปรียบเทียบตัวเองกับสิ่งที่ดูเหมือนเป็นครอบครัวในอุดมคติหรือความเป็นพ่อในอุดมคติ นั่นจะเพิ่มความกดดันให้คุณต้องพยายามทำให้เป็นแบบนั้น”

การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายที่กำลังเผชิญภาวะซึมเศร้าก็ตาม รวมถึงการให้คำแนะนำสำหรับผู้ชายในการให้ความสนับสนุนคู่ครองของเขา

“ฉันคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือพยายามสื่อสารกันไว้ สอบถามว่าเธอเป็นอย่างไร เมื่อคุณทำแบบนั้น มันจะช่วยให้คุณสามารถอธิบายความรู้สึกของคุณได้เช่นกัน และแม้ว่าคุณไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร บอกให้เธอรู้ว่าคุณก็สับสนหรือกลัวว่าคุณจะทำอะไรผิดพลาดไป"
หาทางออกร่วมกัน นั่นเป็นกุญแจสำคัญ
แพทย์หญิงบาร์นฟิล์ดกล่าว
Australia Explained - Postnatal Depression
"ภาวะซึมเศร้ากระทบได้ทุกคน" Source: Moment RF / Vera Vita/Getty Images
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนั้นรักษาให้หายได้ โดยแพทย์จะประเมินความต้องการของคุณและจะแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะกับคุณ

คุณซาราห์กล่าวจากประสบการณ์ตรงของเธอว่า สิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่มือใหม่คือการรู้ว่ามีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

สำหรับคุณซาราห์ กระบวนการรักษาของเธอได้แก่การให้ยาต้านอาการซึมเศร้า เขียนบันทึกกระบวนการรักษาของเธอ และการรักษาทำให้อารมณ์ของเธอดีขึ้นในที่สุด

“มันเหมือนสวิตช์ไฟ ในวันที่ 12 หรือ 13 ของการรักษา ฉันตื่นขึ้นมาและรู้สึกว่า ฉันต้องทำอาหาร ฉันต้องทำสิ่งนี้ให้ลูก และฉันก็รู้สึกว่า โอเค ฉันรู้สึกดีขึ้นแล้ว ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ฉันก็รู้สึกดีขึ้น ดีขึ้นเรื่อยๆ มันไม่ใช่กระบวนการฟื้นตัวแบบช้าๆ ฉันกลายเป็นแม่คนเต็มตัวตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา”

คุณซาราห์แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ดูแลสุขภาพจิตของคุณทุกวัน

ซึ่งคุณบอร์นนิงฮอฟจาก PANDA เห็นด้วย เธอกล่าวว่าผู้ใช้บริการสามารถโทรไปที่สายด่วนที่พร้อมรับฟังที่มีสภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตร
การเตรียมแผนการณ์ดูแลสุขภาพจิตเมื่อคุณกำลังจะคลอดบุตรนับเป็นแผนที่ควรทำพอๆ กับการเตรียมคลอด
"ไม่ว่าคุณจะเป็นพ่อแม่มือใหม่หรือเคยมีบุตรมาก่อน และเรายังสนับสนุนให้ผู้ที่มีสภาวะเปราะบางทางอารมณ์หรือมีภาวะด้านสุขภาพจิตให้เน้นถึงสิ่งที่เคยช่วยพวกเขาได้ในอดีต ให้ยึดจุดนั้นไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวเพื่อความมั่นคงในเวลานี้”
Australia Explained - Postnatal Depression
silhouette asian new parents couple are having conflict and argument nearby windows at home while woman holding their baby Credit: PonyWang/Getty Images
ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเรื่องภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตร ติดต่อ PANDA ที่เบอร์ 1300 726 306 หรือ



บริการให้ข้อมูลและให้ความช่วยเหลือเรื่องสุขภาพจิต 24 ชั่วโมง Beyond Blue 1300 224 636 หรือ

บริการสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาทางอารมณ์ 24 ชั่วโมง Lifeline โทร 13 11 14 หรือ 

บริการให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตสำหรับชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม Embrace Mental Health

ติดต่อบริการล่ามโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (TIS) โทร 131 450

อ่านหรือฟังเรื่องการตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียได้อีก


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

    Share
    Follow SBS Thai

    Download our apps
    SBS Audio
    SBS On Demand

    Listen to our podcasts
    Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
    Understand the quirky parts of Aussie life.
    Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

    Watch on SBS
    Thai News

    Thai News

    Watch in onDemand