เตือนคนมีรายได้เสริม ATO เพ่งเล็งการยื่นภาษี

FEDERAL BUDGET 2014

ป้ายกรมภาษีอากรออสเตรเลียในกรุงแคนเบอร์รา Source: AAP / LUKAS COCH

เพราะค่าครองชีพสูงลิ่ว ทำให้หลายคนในออสเตรเลียต้องทำงานเพิ่มเพื่อหารายได้เสริม แต่กรมภาษีอากรออสเตรเลียกำลังจับตาว่าทุกคนจ่ายภาษีตามที่ควรจ่ายหรือไม่


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

คุณนิโคลัส โอคลาดนิคอฟ (Nicholas Okladnikov) ทำงานพาร์ท-ไทม์ (part-time) ขณะศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยที่ซิดนีย์ และเขารับงานเสริมอีกด้วย

“เริ่มแรกผมทำจากในโรงรถที่บ้าน เพราะต้องการรายได้เสริม แค่คิดว่าผมจะทำความสะอาดรองเท้า 2-3 คู่ต่ออาทิตย์ให้ได้เงินเพิ่มสำหรับใช้ในวันหยุด เลยเปิดอินสตาแกรม (Instagram) และเริ่มโฆษณา จากนั้นก็ขยายไปเรื่อยๆ”
รายได้เสริมมีตั้งแต่การขับรถแบบไรด์-แชร์ (ride-share) ไปจนถึงการเป็นครูฝึกสอนออกกำลังกายส่วนตัว (personal training) และหลายคนสามารถหาเงินได้จากการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ (influencer) ทางโซเชียลมีเดีย (social media)

สำหรับคุณนิโคลัส การตัดสินใจหารายได้เสริมของเขาได้รับผลตอบแทนอย่างดี

เขามีธุรกิจ สนีกเกอร์ แคร์ (Sneaker Care) บริษัททำความสะอาดรองเท้าผ้าใบ รองเท้าใส่ออกงานและเครื่องหนังอื่นๆ ซึ่งสุดท้ายกลายเป็นรายได้หลักของเขา

แต่คุณนิโคลัสกล่าวว่าเขายังคงมีรายได้ไม่มากพอ

“ตอนนี้เราแค่ครอบคลุมต้นทุนการดำเนินการ เรามีกำไรเล็กๆ น้อยๆ แต่ละสัปดาห์ แต่ตอนนี้ผมกำลังมองหางานข้างนอกมาเสริมเพื่อให้มีรายได้ที่มั่นคงพอๆ กับรายได้ของธุรกิจ มันสลับกันไปมาระหว่างการทำงานและการทำธุรกิจเสริม”

ในขณะนี้ที่หลายคนในออสเตรเลียต้องกัดฟันต่อสู้กับค่าครองชีพที่สูงขึ้น การหารายได้เสริมจึงเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

คุณนิโคลัสกล่าวว่า เขาสังเกตเห็นว่าหลายคนเริ่มหาหนทางใหม่ๆ เพื่อมีรายได้มากขึ้น

“เกือบทุกสองหรือสามคนที่ผมคุยด้วย พวกเขามีงานทำ และพวกเขาเรียนเพิ่มหรือเรียนจบแล้วเพื่อทำในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าพวกเขาเก่งในด้านนั้นๆ เพื่อที่จะทำเป็นรายได้เสริม"
ผมมีเพื่อนบางคนที่เริ่มทำธุรกิจ เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เครื่องดื่มชูกำลัง และอีกหลายคนที่ลองทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อพยายามที่จะหารายได้เสริม ให้ได้เงินเพิ่มขึ้น
Twitter and Facebook
แอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียบนมือถือ Credit: EMPICS Entertainment
ตัวเลขจากสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลีย (Australian Bureau of Statistics) เผยว่า มีประชากรกว่า 9 แสนคนที่มีรายได้เสริม

ขณะที่ช่วงเวลาของการยื่นภาษีใกล้เข้ามา และ ATO (Australian Taxation Office หรือกรมภาษีอากร) เตือนผู้ที่มีรายได้เสริมทั้งหลาย
เราเห็นว่ามีอินฟลูเอนเซอร์และคนที่มีรายได้เสริมมากขึ้นเรื่อยๆ
"สถิติระบุว่ามีกว่า 9 แสนคนที่มีรายได้ที่สอง และเราอยากให้ทุกคนเข้าใจให้ถูกต้อง ผมจึงขอเตือนให้หลายคนแน่ใจว่าพวกเขายื่นภาษีเงินได้อย่างถูกต้อง เราไม่ได้หมายถึงคนที่ขายของมือสองต่างๆ เราหมายถึงคนที่มีรายได้ที่เข้ามาเป็นประจำ”

กรมภาษีอากรจะจับตาผู้ที่มีรายได้เสริมและรายงานรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริง

คุณโลห์ย้ำว่า ไม่คุ้มที่จะเสี่ยง เพราะเอทีโอมีหนทางที่จะตรวจพบได้

“เรามีระบบที่ดี มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อน เรามีนักวิเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยตรวจสอบการยื่นภาษีทุกรายการ และเรารวบรวมข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนทำสิ่งที่ถูกต้องและยื่นภาษีถูกตัอง”
ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม นี้เป็นต้นไป ระบบการรายงานใหม่ที่เรียกว่า Sharing Economy Reporting Regime จะเริ่มนำมาใช้เพื่อช่วยให้กรมภาษีอากรสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่จะนำมาใช้อ้างอิงเพื่อตรวจสอบรายได้

ATO แนะนำปัจจัยต่างๆ ในการพิจารณาว่ารายได้เสริมของคุณจัดว่าเป็นธุรกิจหรือไม่

ประการแรกคือมีการดำเนินการซ้ำๆ หรือไม่ อีกประการหนึ่งคือคุณทำกำไรจากธุรกิจเสริมหรือไม่ และคุณดำเนินการในเชิงธุรกิจหรือไม่

ในขณะนี้ที่หลายคนพัฒนาทักษะเสริมเพื่อหาเงินเสริม กรมภาษีอากรเตือนว่าอย่าลืมยื่นภาษีรายได้ทั้งหมดของคุณ รวมถึงของขวัญหรืออาหารฟรีด้วย

“ของขวัญต่างๆ ที่คุณได้รับ ไม่ว่าจะเป็นของฟรีจากแบรนด์ต่างๆ หรือของขวัญจากบริษัทของคุณหรือมื้ออาหารค่ำฟรี มูลค่าของสิ่งเหล่านี้ต้องรวมอยู่ในการยื่นภาษีของคุณด้วย ไม่ว่าจะมีมูลค่าเทียบเป็นเงินหรือสิ่งของ คุณต้องรวมทุกสิ่งไว้ในการยื่นภาษีของคุณในปีนี้


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand