5 วิธีช่วยคลายกังวลให้เด็กๆ เมื่อกลับไปเรียนหลังปิดเทอม

เด็กๆ จำนวนมากอาจรู้สึกกระสับกระส่ายเกี่ยวกับการเปิดเทอมใหม่ เด็กบางคนอาจรู้สึกตื่นเต้น แต่ไม่ว่าจะอย่างไร เรามีคำแนะนำที่พ่อแม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ เพื่อช่วยให้ลูกๆ คลายความกังวลในช่วงเปิดเทอม

Back to school

The holidays will likely disrupt usual school sleep and wake times. Source: Shutterstock

ไม่กี่วันนี้ เด็กจำนวนมากในออสเตรเลียจะกลับไปโรงเรียนอีกครั้ง เด็กๆ จะเกิดประสบการณ์ที่เรียกว่าความรู้สึกสับสนปนเปมื่อต้องกลับไปโรงเรียนหลังปิดเทอม

ความรู้สึกเมื่อต้องกลับไปโรงเรียน อาจมีทั้งความตื่นเต้นอย่างมากและกระตือรือร้น ไปจนถึงความกังวล  ความกลัว ความกระวนกระวาย ความรู้สึกตื่นเต้นจนท้องไส้ปั่นป่วน หรือรู้สึกกังวลทั่วไปในเกี่ยวกับการกลับไปโรงเรียนนั้นเป็นเรื่องธรรมดา

ความกังวลใจหลักของเด็กก่อนวัยเรียนคือรู้สึกว่า ตัวเองถูกเพิกเฉย ถูกล้อหรือถูกแกล้ง หรือการบอกลาพ่อแม่เมื่อไปส่งที่โรงเรียน ในขณะที่ความกังวลใจของเด็กวัยเรียนคือการสอบ (27%) การไม่อยากกลับไปโรงเรียน (13%) การมีปัญหากับครู (14%) บางคนอาจรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว

ความกังวลใจหลักของวัยรุ่นคือการรับมือกับความเครียดี (44.7%) ปัญหาเกี่ยวกับโรงเรียนหรือการเรียน (34.3%) และปัญหาด้านสุขภาพจิต (33.2%)

การไม่คิดถึงการกลับไปโรงเรียนเลยเป็นทางหนึ่งที่จะสนุกได้จนถึงสัปดาห์สุดท้ายของการปิดเทอม  แต่สำหรับบางคน นี่อาจทำให้การกลับไปเรียนยากขึ้น

การสนับสนุนให้พ่อแม่ผู้ปกครอง เด็กๆ และวัยรุ่น จัดการกับความท้าทายในการกลับไปโรงเรียนได้ อาจช่วยลดประสบการณ์แง่ลบเกี่ยวกับโรงเรียนได้ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

1. ตั้งแบบแผนกิจวัตรการกลับไปเรียน

สร้างโครงสร้างเพื่อรองรับการกลับไปโรงเรียนด้วยแบบแผนกิจวัตรเกี่ยวกับการเรียนและโรงเรียน ให้ใช้ความรู้และประสบการณ์ส่วนตัวของคุณ ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดในการสนับสนุนเด็กๆ เมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงหรือช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ

จัดตั้งแบบแผนที่ทำได้จริงเพื่อเตรียมความพร้อม ซึ่งควรรวมเรื่องต่อไปนี้:

  • อะไรที่ต้องทำให้เสร็จในแต่ละวันเพื่อไปโรงเรียน เช่น การตื่นนอน การรับประทานอาหารเช้า และการแต่งตัว
  • เด็กๆ ต้องการความช่วยเหลืออะไรจากคุณบ้าง เพื่อให้พร้อมไปโรงเรียนได้
  • พวกเขาสามารถทำอะไรด้วยตัวเองได้บ้าง (ตั้งแบบแผนเหล่านี้ขึ้นมาด้วยกัน)
ในการกลับไปเรียนสัปดาห์แรก สามารถก่อให้เกิดความปั่นป่วนได้ จากการที่ยังรู้สึกว่าอยู่ในช่วงวันหยุดอยู่ เพราะฉะนั้นอย่าลืมสุขนิสัยที่ดีในการนอนหลับ (ประมาณ 9-11 ชั่วโมง สำหรับเด็กอายุ 5-15 ปี และ 8-10 ชั่วโมงสำหรับเด็กอายุ 14 – 17 ปี) ออกกำลังกาย (ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับกิจกรรมที่เป็นการออกกำลังกายระดับปานกลางถึงหนัก (vigorous) 3 ครั้งต่อสัปดาห์) และใส่ใจอาหารที่รับประทาน

การเข้านอนและตื่นนอนที่มีเวลาเป็นกิจวัตรสามารถช่วยได้เช่นกัน องค์กรเพื่อการนอนหลับแห่งชาติ (The National Sleep Foundation) แนะนำว่าให้เริ่มต้นที่ 2 สัปดาห์ก่อนเริ่มเรียนวันแรก เพื่อสร้างนิสัยกิจวัตรการนอนหลับ แต่การเริ่มต้นทำหนึ่งสัปดาห์ล่วงหน้าจะช่วยให้เด็กของคุณไปสู่จุดหมาย
file-20200115-151867-11m6sdo.jpg?ixlib=rb-1.1.0&q=45&auto=format&w=754&fit=clip
อะไรที่ลูกๆ ต้องการให้คุณช่วย และอะไรที่พวกเขาสามารถทได้เอง ภาพจาก shutterstock.com

จะว่าไปแล้ว ก็ดูเหมือนว่าพ่อแม่ผู้ปกครองต้องปรับตัวเพื่อการเปิดเทอมไปพร้อมกับลูกๆ ด้วยเช่นกัน ให้พิจารณาปรับตารางเวลาของคุณเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงราบรื่นขึ้น ถ้าคุณไม่สามารถทำได้ในตอนเช้า ให้เตรียมการในช่วงเย็น เพื่อให้คุณมีเวลามากพอตามที่ลูกต้องการ โดยเฉพาะในระหว่างสัปดาห์แรก

2. ให้พูดคุยเกี่ยวกับการกลับไปเรียน

เด็กส่วนใหญ่ต้องรับมือกับความตึงเครียดหรือความวิตกกังวลในระดับหนึ่งเกี่ยวกับโรงเรียน พวกเขามีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ในโรงเรียนของตน ดังนั้น ให้คุณค้นหาว่าสิ่งที่สร้างความกังวลนั้นคืออะไรจากการสอบถามลูกๆ โดยตรง

คุณสามารถให้การสนับสนุนแก่ลูกๆ ได้โดยทำให้พวกเขาเข้าใจว่า ประสบการณ์ที่มีความกังวลและความเครียดกลายเป็นเรื่องปกติ สร้างความมั่นใจให้กับลูกๆ ว่าความรู้สึกที่พวกเขามีนั้นเป็นเรื่องธรรมดา และพวกเขาจะเอาชนะมันได้ เมื่อคุ้นชินกับการไปโรงเรียนแล้ว ความกังวลและความกล้าหาญสามารถไปด้วยกันได้

คุณสามารถลองทำสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้เพื่อช่วยเหลือลูกๆ ได้ โดยขึ้นอยู่กับช่วงอายุของเด็ก

  • วัยก่อนไปโรงเรียน – ให้เขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับการไปสถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียน และกิจวัตรประจำวันให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ล่วงหน้า
  • วัยประถมศึกษา – สร้างระบบเพื่อนคู่หู โดยเพื่อนหรือเด็กที่โตกว่าจะเจอลูกของคุณที่ประตูโรงเรียน หรือถ้ามีเพื่อนบ้าน เด็กๆ ก็สามารถไปโรงเรียนพร้อมกันได้
  • เด็กมัธยมศึกษา – สร้างกิจวัตรประจำวันที่ดีต่อสุขภาพด้วยกันเป็นครอบครัว สนับสนุนซึ่งกันและกันในการใช้เทคโนโลยี การนอนหลับ และการบ้าน

3. ช่วยสร้างความรู้สึกว่าลูกๆ เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน

ความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน (belonging) อาจส่งผลต่อความสำเร็จด้านวิชาการและความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียน ผู้ปกครองสามารถช่วยให้เกิดทัศนคติเชิงบวกต่อโรงเรียนได้ โดยพูดถึงโรงเรียนในแง่ที่ดี รวมไปถึงให้ความสนใจต่อชีวิตที่โรงเรียนของลูกๆ และการบ้าน และพร้อมให้การสนับสนุนแก่ลูกๆ ทั้งด้านวิชาการและด้านสังคม
file-20200115-151867-17dlpx3.jpg?ixlib=rb-1.1.0&q=45&auto=format&w=754&fit=clip
ใส่ใจเรื่องการบ้านของลูกๆ ภาพจาก shutterstock.com

ในการสำรวจโครงการหนึ่ง ผู้ปกครองกว่าครึ่งกล่าวว่า การบ้านเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ลูกๆ เกิดความเครียด เมื่อผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำการบ้านของลูกมากขึ้น พวกเขาจะสามารถช่วยเหลือเด็กๆ ให้ก้าวข้ามความท้าทายนี้ได้ดีขึ้น

4. มองหาสัญญาณของความเครียด

จากการวิจัยชี้ว่าผู้ปกครองอาจมองไม่เห็นความเครียดและความวิตกกังวลของลูกๆ แต่ความจริงแล้ว ผู้ปกครองสามารถมองเห็นความตึงเครียดในลูกของพวกเขา ได้ดังนี้ (ขึ้นอยู่กับอายุ):

  • ติดพ่อแม่มากกว่าปกติหรือพยายามหลบหนีออกจากห้องเรียน
  • ดูกระสับกระส่ายและเหลาะแหละ หรือร้องไห้
  • แสดงความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น ผ่านการต่อรอง และขอข้อตกลง
  • พยายามที่จะหาเหตุให้ไม่ต้องไปโรงเรียน
  • กลับไปดูดนิ้ว พูดจาแบบเด็กทารก หรืออาจจะติดตุ๊กตาตัวโปรดหรือของเล่นชิ้นโปรดมากขึ้น (สำหรับนักเรียนที่อายุน้อยๆ)
ถ้าพฤติกรรมเหล่านี้ยังคงมีอยู่ถึงราวๆ ครึ่งเทอม ให้ลองคุยกับครูประจำชั้น หรือผู้ประสานงานของโรงเรียนด้านสวัสดิภาพนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น ร่วมกันหากลยุทธ์ที่จะช่วยเหลือลูกๆ เพราะอาจจะมีบางอย่างเกิดขึ้นมากกว่าความกระวนกระวายเกี่ยวกับโรงเรียนตามปกติ เช่นอาจมีปัญหาของการถูกกลั่นแกล้ง

5. ส่งเสริมให้เด็กๆ ถามถึงสิ่งที่พวกเขาสงสัย

ส่งเสริมให้เด็กและวัยรุ่นตั้งคำถามเกี่ยวกับการเรียนในเทอมที่จะเปิดเทอม จะมีอะไรที่เหมือนเดิม? จะมีอะไรที่แตกต่างไป?

โรงเรียนส่วนใหญ่จะให้ข้อมูลของช่วงเปลี่ยนผ่าน ถ้าโรงเรียนไม่ได้ข้อมูลเหล่านี้ อาจเป็นการดีที่จะติดต่อโรงเรียนเพื่อดูว่าโรงเรียนจะสามารถให้ข้อมูลใดได้บ้าง

สิ่งสำคัญที่สุดคือ ให้ลูกของคุณทราบว่าไม่มีเกินขีดจำกัดที่จะคุยกับคุณได้ จัดเวลาสำหรับการพูดคุยกันตลอดภาคเรียน มันสามารถช่วยลดความกระวนกระวายในการกลับไปโรงเรียนได้

คริสติน โกรเว (Christine Grové) เป็นนักจิตวิทยาด้านการศึกษาและพัฒนาการ และเป็นอาจารย์ ของมหาวิทยาลัยโมนาช

เคลลี-แอน อัลเลน (Kelly-Ann Allen)เป็นนักจิตวิทยาด้านการศึกษาและพัฒนาการ และเป็นอาจารย์อาวุโส ของมหาวิทยาลัยโมนาช

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 24 January 2020 12:00pm
Updated 12 August 2022 3:24pm
By Christine Grové, Kelly-Ann Allen
Presented by Narissara Kaewvilai, Parisuth Sodsai
Source: The Conversation


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand