กลยุทธ์ด้านโควิดของออสเตรเลียกำลังเปลี่ยนไปแต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนอย่าชะล่าใจ

อนาคตของการบริหารจัดการโควิด-19 ในออสเตรเลียกำลังเปลี่ยนไปสู่ระยะใหม่ ขณะที่มีการผ่อนคลายกฎระเบียบมากขึ้น แต่นักระบาดวิทยาเตือนว่าออสเตรเลียควรระมัดระวังเกี่ยวกับโควิด-19 ต่อไป

Australia's covid strategy is changing.

Source: SBS News

นักระบาดวิทยาเตือนว่า ขณะที่มีการยกเลิกกฎโควิด-19 รวมถึงการยกเลิกการกักตัวในโรงแรมในรัฐนิวเซาท์เวลส์และวิกตอเรีย ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดของออสเตรเลียนั้น  แต่ออสเตรเลียก็ควรให้ความสำคัญกับมาตรการอื่นๆ เพื่อรับมือกับการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ที่อันตรายยิ่งขึ้น

พวกเขากล่าวว่ามาตรการเหล่านั้นควรรวมถึงการเพิ่มอัตราการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในออสเตรเลีย และการให้สนับสนุนมากขึ้นแก่โครงการต่างๆ ด้านความเท่าเทียมด้านวัคซีนทั่วโลก เพื่อให้แน่ใจได้ว่าการฉีดวัคซีนเข็มแรกและเข็มที่สองนั้นเพิ่มขึ้นในประเทศยากจนต่างๆ

อัตราการฉีดวัคซีนเข็มที่สามของออสเตรเลียอยู่ที่ร้อยละ 69 ของประชากรที่มีสิทธิ์ ซึ่งเป็นระดับที่ศาสตราจารย์เอเดรียน เอสเทอร์แมน นักระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลียกล่าวว่า "เลวร้าย"

"ก็แค่ว่า เราไม่มีผู้คนมากพอไปรับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น”  ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมน กล่าว “มันค้างอยู่ที่ 65 เปอร์เซ็นต์ หรือ 67 เปอร์เซ็นต์มาหลายเดือนแล้ว และความจริงแล้วเป็นวัคซีนเข็มที่สามที่ปกป้องผู้คน แค่สองเข็มนั้นไม่เพียงพอ”
ความจริงแล้วเป็นวัคซีนเข็มที่สามที่ปกป้องผู้คน แค่สองเข็มนั้นไม่เพียงพอ
"วัคซีนสองเข็มแทบจะไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อเลย แต่ป้องกันอย่างดีไม่ให้เจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต แต่การปกป้องจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป"

"และจริงๆ แล้ว เป็นวัคซีนเข็มที่สามที่จะช่วยบรรเทาสถานการณ์ลง และทำให้แน่ใจได้ว่าระบบการดูแลสุขภาพของเราจะไม่มีคนไข้ล้นระบบ"
ในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ประกาศผ่อนคลายกฎข้อบังคับเกี่ยวกับโควิด-19 พญ.แคร์รี ชานต์ ประธานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐนิวเซาท์เวลส์ เตือนให้ประชาชนไปรับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นและวัคซีนไข้หวัดใหญ่หากมีสิทธิ์ และกล่าวต่อไปว่าทางการเชื่อว่าขณะนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะยกเลิกมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับโควิด-19

"เรากำลังเข้าสู่ระยะที่เราต้องการให้ชุมชนเข้าใจถึงความเสี่ยงได้ดีขึ้น เข้าใจมากขึ้นว่าจะประเมินความเสี่ยงได้อย่างไร และใช้วิธีการที่รอบคอบและเหมาะสมเพื่อปกป้องตนเองให้ปลอดภัย" พญ.แคร์รี ชานต์ กล่าว

“เราต้องการใช้แนวทางที่ระมัดระวังและสมน้ำสมเนื้อ ขณะที่เราก้าวเข้าสู่เดือนที่อากาศหนาวเย็น ซึ่งเรารู้ว่าอาจมีไข้หวัดใหญ่แพร่ระบาดในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งยังมีโควิดอยู่”

ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายนเป็นต้นมา ได้มี รวมถึงการยกเลิกข้อกำหนดการกักตัวสำหรับผู้พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ และกฎให้ต้องแสดงสถานะการฉีดวัคซีนก่อนเข้าสถานที่ต่างๆ

ได้มีการมาแล้ว และจะมีการผ่อนคลายกฎเพิ่มเติมสำหรับผู้โดยสารในเที่ยวบินที่เดินทางมายังออสเตรเลีย โดยตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ผู้เดินทางที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนในรัฐนิวเซาท์เวลส์และวิกตอเรียจะไม่ต้องกักตัวในโรงแรมอีกต่อไป ส่วนข้อกำหนดการตรวจเชื้อก่อนเดินทางสำหรับผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศนั้นได้ถูกยกเลิกไปแล้ว และจะขยายไปยังลูกเรือสายการบินที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนในรัฐวิกตอเรีย

เมื่อเดินทางมาถึง มีข้อกำหนดให้ผู้เดินทางจากต่างประเทศต้องตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจเชื้อด้วยตนเองแบบทราบผลรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมงในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ส่วนในรัฐวิกตอเรียผู้เดินทางจากต่างประเทศที่แม้จะไม่มีอาการป่วยใดๆ แต่จะได้รับคำแนะนำให้ตรวจเชื้อ แต่ไม่บังคับให้ต้องตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจเชื้อด้วยตนเองหรือตรวจเชื้อแบบพีซีอาร์ (PCR)

'ช่วงเปลี่ยนผ่าน'

ศาสตราจารย์แคทเทอรีน เบ็นเนตต์ นักระบาดวิทยา กล่าวว่า ออสเตรเลียกำลังเข้าสู่ "ช่วงเปลี่ยนผ่าน" ในการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และนั่นจะหมายถึงการทบทวนการกำหนดนโยบายต่างๆ

"เราจะไปถึงจุดที่เราเห็นว่าการระบาดระลอกต่างๆ ไม่ได้เป็นการมีผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอีกต่อไป จุดที่มีช่วงเวลาที่ยาวนานขึ้นที่เราไม่เห็นสายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวลสายพันธุ์ใหม่เอี่ยม ที่เราต้องทำความเข้าใจและรับมือ ด้วยการปรับปรุงวัคซีนและอื่นๆ นั่นจะก้าวเข้าสู่แผนระยะยาวยิ่งขึ้น” ศาสตราจารย์เบ็นเนตต์ กล่าว

"ดังนั้นเรากำลังจะไปถึงจุดนั้นในออสเตรเลีย ขณะนี้เรากำลังเปลี่ยนจากกฎข้อบังคับไปเป็นคำแนะนำด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยง เรายังคงมีกฎที่สำคัญบางอย่างบังคับใช้อยู่สำหรับสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่มีความเปราะบางกว่าคนกลุ่มอื่น”
ขณะนี้เรากำลังเปลี่ยนจากกฎข้อบังคับไปเป็นคำแนะนำด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยง
“แต่ในท้ายที่สุดแล้ว เรากำลังตั้งตารอเวลาที่จะมีจุลินทรีย์ก่อโรคชนิดใหม่เพิ่มเติมที่เราจำเป็นต้องบริหารจัดการ และนั่นจะอาศัยการเฝ้าระวังอย่างจริงจัง”

เธอกล่าวว่าออสเตรเลียจำเป็นต้องพัฒนาระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อตรวจจับการอุบัติขึ้นใหม่ของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ที่อันตรายยิ่งขึ้นในหมู่ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ
“นั่นเป็นหนึ่งในแง่มุมที่สำคัญของโรคติดเชื้อหรือจุลินทรีย์ก่อโรค ที่ได้รับการบริหารจัดการ คือการที่เรามีระบบเฝ้าระวังใช้การอยู่” ศ.เบ็นเนตต์ กล่าว

“สิ่งที่เราสามารถดำเนินการอย่างคล่องแคล่วได้ในบางครั้ง หากมีการแจ้งเตือนจากต่างประเทศ เช่น มีเชื้อสายพันธุ์ใหม่ หรือพวกเขามีข้อมูลภายใน หรือเรากำลังเห็นผู้คนมากขึ้นในโรงพยาบาล นั่นคือเวลาที่เราจะสั่งการและให้มีการเฝ้าระวังอย่างแข็งขันมากขึ้นเพื่อให้เห็นภาพที่ใกล้ขึ้นของสถานการณ์ ภาพที่ทันท่วงทียิ่งขึ้นของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในประชากรวงกว้าง

"นั่นเป็นส่วนหนึ่งของช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ และนั่นคือเหตุผลที่ฉันว่าเรายังไม่ถึงจุดนั้น เพราะเราไม่ได้มีมาตรการการเฝ้าระวังต่างๆ ใช้การอยู่เลย”

"และเราไม่มีความเข้าใจอย่างเต็มที่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเชื้อไวรัสนี้หลังคลื่นโอมิครอนผ่านไป ความเข้าใจของเรายังไม่มากพอที่จะสามารถพูดได้ว่าเราได้เตรียมตัวพร้อมแล้วและก้าวต่อไปได้"

การเปลี่ยนแปลงคำจำกัดความของ 'การฉีดวัคซีนครบสมบูรณ์'

ศาสตราจารย์เบนเน็ตต์กล่าวว่า จำเป็นต้องมีการพิจารณาทางเลือกต่างๆ ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ รวมถึง ควรหรือไม่ที่จะเปลี่ยนคำจำกัดความของ "การฉีดวัคซีนครบสมบูรณ์"  (fully vaccinated) จากการได้รับการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 สองเข็ม เป็นสามเข็ม สำหรับผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามายังออสเตรเลีย

“นั่นอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่พวกเขานำไปใช้ได้หากพบปัญหาในหมู่ผู้คนที่เดินทางเข้ามาและพวกเขาไม่สามารถทำงานที่เดินทางเข้ามาทำได้ หรือพวกเข้ามาในออสเตรเลียแต่ลงเอยในโรงพยาบาล ตอนนั้นเราอาจเห็นแนวโน้มที่ชัดเจนที่เราต้องบอกว่า เพื่อประโยชน์ของพวกเขาเอง เราจึงต้องปรับกฎให้รัดกุมขึ้น" ศาสตราจารย์เบนเน็ตต์ กล่าว

ได้มีการตรวจพบซากของเชื้อกลายพันธุ์ตัวใหม่ของโอมิครอน คือเชื้อ แต่ศาสตราจารย์เบนเน็ตต์กล่าวว่าเชื้อกลายพันธุ์เหล่านี้ไม่ได้แตกต่างจากเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนมากนัก และในขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับโควิด-19 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

แต่นั่นอาจเปลี่ยนแปลงได้หากมีการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 ที่แตกต่างออกไปอย่างมาก และเชื้อเหล่านี้มาเข้ามาสู่ออสเตรเลียจากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ

“ในสถานการณ์นั้น สิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกแล้วจะส่งผลกระทบต่อเรา หมายความว่าเรามีโอกาสไม่มากก็น้อย ที่จะเห็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่เดินทางมาถึงดินแดนของเรา ซึ่งอาจมาจากประเทศหนึ่งในต่างประเทศ ที่อาจมีการควบคุมการติดเชื้อน้อยกว่า หรือจากผู้คนที่กำลังเดินทางมายังประเทศของเราในฐานะผู้มาเยือน หรือในฐานะคนงาน หรือในฐานะนักเรียน ความเสี่ยงของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเราช่วยบริหารจัดการเรื่องนี้ในระดับโลก” ศ.เบ็นเนตต์ กล่าว

“ดังนั้น ในเรื่องโรคติดเชื้อแล้ว คุณไม่สามารถมองแค่ภายในสวนหลังบ้านของเราได้ แต่เราต้องมองไปที่โลกเพื่อบริหารจัดการกับโรคติดต่อ และเป็นเช่นนั้นอย่างแท้จริงสำหรับโควิด”

ทำไมผู้คนจึงไม่ไปรับการฉีดวัคซีนเข็มที่สาม?

แม้ว่าอัตราประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนสำหรับเข็มแรกและเข็มที่สองจะมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ แต่อัตราสำหรับเข็มที่สามนั้นต่ำกว่ามาก โดยอยู่ที่ 69 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่มีสิทธิ์

ชาวออสเตรเลียอย่างน้อย 215,070 คนได้รับวัคซีนแล้วสี่เข็ม เพิ่มขึ้น 52,590 คนในช่วงสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 18 เมษายน

ปัจจุบัน วัคซีนต้านโควิด-19 เข็มที่ 4 มีให้เฉพาะกับคนบางกลุ่มเท่านั้น รวมถึงกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

รองศาสตราจารย์ ฮอลลี ซีล เป็นนักวิจัยทางสังคมด้านโรคติดเชื้อที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่า มีความสับสนเกี่ยวกับความเร่งด่วนในการได้รับวัคซีนกระตุ้น ท่ามกลางนโยบายการเปิดเมือง เช่น การอนุญาตให้มีการเดินทางระหว่างประเทศอย่างเสรีอีกครั้ง และการกลับไปทำงานที่สำนักงาน

“สิ่งสำคัญคือเราจำเป็นต้องพูดให้ชัดเจนกับชุมชนเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องทำ และต้องอธิบายเหตุผลด้วยว่าทำไมถึงจำเป็น” รองศาสตราจารย์ซีลกล่าว

“ฉันคิดว่าเราจำเป็นต้องระลึกไว้เสมอว่าในระดับสากล เรายังคงเห็นรัฐบาลบางแห่งต้องมาตรการต่างๆ มาใช้บังคับใหม่อีกครั้ง และเป็นการส่งสัญญาณไปยังชุมชนว่าในขณะที่เรารู้สึกว่าเรากำลังอยู่ในช่วงขาลงของสถานการณ์ แต่สิ่งต่างๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้"

ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมนกล่าวว่ารัฐบาลกลางและรัฐบาลของรัฐจำเป็นต้องทำได้ดีกว่านี้ในการอธิบายว่าเหตุใดวัคซีนเข็มที่สามจึงสำคัญ

“มันขึ้นอยู่กับรัฐบาลต่างๆ ของเราที่จะส่งสารได้อย่างดีเยี่ยม เพื่ออธิบายว่าเหตุใดวัคซีนเข็มที่สามจึงจำเป็น เพราะมีความชะล่าใจอยู่มากมาย” ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมน กล่าว

“ผมคิดว่ากุญแจสำคัญที่นี่คือ เราต้องปกป้องกลุ่มคนที่เปราะบางต่างๆ ของเรา”

ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมนกล่าวต่อไปว่า การสวมหน้ากากอนามัยเป็นมาตรการที่สามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อได้มาก แต่ก็สารที่ขัดแย้งกันอีกจากทางการต่างๆ แม้ว่าจะ

"เจ้าหน้าที่รัฐบอกว่าเราไม่บังคับเรื่องพวกนี้แล้ว ดังนั้นคุณต้องรับผิดชอบด้านสุขภาพของตัวเอง ปัญหาในประเด็นนี้คือ คือไม่ใช่คนสูงอายุที่ไม่สวมหน้ากากอนามัย เรามีผู้สูงอายุที่สวมหน้ากากเข้าไปในซูเปอร์มาร์เก็ต และพวกเขาถูกรายล้อมไปด้วยผู้คนที่แพร่เชื้อได้ ที่ไม่สวมหน้ากากอนามัย”

ความวิตกเรื่องอาการ 'โควิดระยะยาว' (long COVID)

ออสเตรเลียมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในช่วงสี่เดือนแรกของปีนี้ คือจำนวน 3,542 ราย ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในปี 2020 และ 2021 รวมกัน ซึ่งมีจำนวน 3,300 ราย

ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมนกล่าวว่า ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการจำนวนมากและอัตราการตรวจเชื้อที่ลดต่ำลง จำนวนผู้ติดเชื้อจริงจึงสูงกว่าตัวเลขที่เป็นทางการมาก

“ดังนั้น หากเรามีผู้ติดเชื้อวันละ 50,000 รายที่ได้รับการวินิจฉัยยืนยัน จะมีคนจำนวนมากกว่านั้นหลายเท่าที่ติดเชื้อในแต่ละวัน ดังนั้นเราจึงมีผู้คนจำนวนมากที่ติดเชื้อและฟื้นตัว และโชคร้ายที่คนเหล่านั้นบางคนจะเสียชีวิต” ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมน กล่าว

"และเหตุผลที่เราเห็นจำนวนผู้เสียชีวิตสูงเช่นนี้ก็เพราะว่าเรามีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูง เรามีจำนวนประชากรเป็นเปอร์เซ็นส์สูงที่ติดเชื้อ ซึ่งเห็นได้ชัดว่านี่จะส่งผลกระทบต่อประเด็นนี้ และมันก็เป็นเช่นนั้นแล้ว"

"นั่นเป็นเหตุผลที่เราเห็นจำนวนผู้เสียชีวิตที่ค่อนข้างสูงในช่วงสี่เดือนที่ผ่านมา"

ชาวออสเตรเลียมากกว่า 5.5 ล้านคนติดเชื้อโควิด-19 ตลอดช่วงการระบาดใหญ่

ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมนกล่าวว่า มีข้อมูลเพิ่มเติมผุดขึ้นเกี่ยวกับอาการโควิดระยะยาว หรือ long COVID ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพยายามทำให้อัตราการแพร่ระบาดอยู่ในระดับต่ำ

“ในขณะนี้ ความกังวลหลักของผมคืออาการโควิดระยะยาว (long COVID) แพทย์ทั่วไปเริ่มเห็นผู้ป่วยที่มาหาเพราะปัญหาสุขภาพในระยะยาวเนื่องจากการติดเชื้อ และนั่นจะมีแต่จะเลวร้ายลง” ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมน กล่าว
ความกังวลหลักคืออาการ long COVID แพทย์ทั่วไปเริ่มเห็นผู้ป่วยที่มาหาเพราะปัญหาสุขภาพในระยะยาวเนื่องจากการติดเชื้อ
"ผลสำรวจล่าสุดในสหราชอาณาจักรพบว่า กว่าร้อยละ 2 ของประชากรทั้งหมดมีอาการโควิดระยะยาว (long COVID) ซึ่งระบบสุขภาพจะต้องรับมือ และเรายังไม่พร้อมรับมือ ดังนั้น ผมจึงคิดว่าสำหรับผมแล้ว นั่นสิ่งที่น่าวิตกมากที่สุด และเป็นเหตุผลหลักที่ว่าทำไมอย่างน้อยเราจึงจำเป็นต้องชะลอจำนวนผู้ติดเชื้อลง”

รายงานเพิ่มเติมโดย Mar Diaz




คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดต่อสอบถามบริการสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1800 020 080

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 25 April 2022 2:13pm
By Biwa Kwan
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand