การหลอกลวงโดยแสร้งทำเป็นรับสมัครงานกำลังเพิ่มขึ้น นี่คือสิ่งที่ควรระวัง

สแกมเมอร์ที่พุ่งเป้าไปยังผู้คนในออสเตรเลีย โดยแอบอ้างว่ามาจากบริษัทต่าง ๆ และบริษัทจัดหางาน กำลังเพิ่มมากขึ้น

Fingers on laptop keyboard

สแกมเมอร์กำลังแอบอ้างเป็นองค์กรและบริษัทจัดหางาน (recruiters) โดยติดต่อเหยื่อผ่าน WhatsApp และอ้างว่ามีงานให้ทำ หรือโฆษณารับสมัครงานบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Tik Tok และ Instagram Source: AAP / Elise Amendola/AP

ประเด็นสำคัญ
  • มีการหลอกลวงโดยแอบอ้างการจ้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 740 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้
  • ผู้คนในออสเตรเลียได้รับความเสียหายตั้งแต่เดือนมกราคมมีมูลค่ารวม 20 ล้านดอลลาร์
  • นักเรียนที่กำลังมองหางานพาร์ทไทม์และผู้ที่ต้องการหางานที่ยืดหยุ่นได้เพื่อหารายได้เพิ่ม ตกเป็นเป้าหมายหลัก
การหลอกลวงโดยแอบอ้างการจ้างงานกำลังพบมากขึ้น ผู้คนในออสเตรเลียได้รับคำเตือนให้ระวัง โดยความเสียหายจากการหลอกลวงประเภทนี้ตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้สูงถึง 20 ล้านดอลลาร์

สตีเฟน โจนส์ รัฐมนตรีด้านบริการทางการเงินของสหพันธรัฐ กล่าวว่า ศูนย์ต่อต้านการหลอกลวงแห่งชาติ (National Anti-scam Centre) รายงานว่า การหลอกลวงโดยแอบอ้างการจ้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 740 เปอร์เซ็นต์ในปี 2023

“เราเห็นการหลอกลวงเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยแอบอ้างเป็นองค์กรและบริษัทจัดหางาน (recruiters) และติดต่อเหยื่อผ่าน WhatsApp เพื่ออ้างว่ามีงานให้ทำ หรือโฆษณารับสมัครงานบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Tik Tok และ Instagram” รัฐมนตรีด้านบริการทางการเงิน สตีเฟน โจนส์ กล่าว เมื่อวันจันทร์

วิกฤตค่าครองชีพของออสเตรเลียกำลังทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องทำงานที่สองเพื่อพยายามหาเลี้ยงชีพ

แต่กำลังมีการโฆษณารับสมัครงานปลอม ๆ มากมายสำหรับตำแหน่งงานที่สามารถทำได้ที่บ้าน

รัฐมนตรีโจนส์กล่าวว่า สแกมเมอร์หรือนักต้มตุ๋นกำลังมุ่งเป้าไปที่ผู้หางาน ด้วยข้อเสนอที่จะให้ค่าตอบแทนอย่างงามหากทำงานสำเร็จ โดยหลอกเหยื่อที่ไม่ได้เฉลียวใจให้ส่งเงินที่หามาอย่างยากลำบากให้แก่มิจฉาชีพ

“พวกเขามักจะช่วยเหยื่อเปิดบัญชีบนแพลตฟอร์มคริปโทเคอร์เรนซี และให้เหยื่อรับการฝึกอบรมและให้ทำงานต่าง ๆ ก่อนที่จะขอให้เหยื่อลงเงิน โดยสัญญาว่าจะได้รับค่าคอมมิชชันหรือโบนัส” รัฐมนตรีโจนส์กล่าว

รัฐบาลกล่าวว่านักเรียนนักศึกษาที่กำลังมองหางานพาร์ทไทม์และผู้ที่ต้องการหางานที่ยืดหยุ่นได้ทำเพื่อหารายได้เพิ่มเป็นเป้าหมายหลักของนักต้มตุ๋น

วิธีสังเกตว่าเป็นการหลอกลวงหรือไม่

สัญญาณเตือน ได้แก่ การเสนองานผ่านแพลตฟอร์มส่งข้อความ เช่น WhatsApp หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, TikTok หรือ Instagram

สัญญาณเตือนอื่น ๆ ได้แก่ ข้อเสนอ "การรับประกันรายได้" หรืออัตราค่าจ้างที่ดีเกินจริงสำหรับการทำงานง่าย ๆ ทางออนไลน์

ตำแหน่งงานปลอม ๆ มักเป็นรูปแบบเหมือนการเล่นเกม ที่กระตุ้นผู้คนว่าพวกเขาจะมีรายได้มากขึ้นหากทำงานให้เสร็จสิ้น หรือแนะนำเพื่อนให้มาร่วมด้วย หรือลงเงินผ่านแอปพลิเคชัน

ผู้หญิงคนหนึ่งสูญเงินไปแล้ว 40,000 ดอลลาร์ หลังติดต่อโพสต์บนเฟซบุ๊กที่เสนองานพาร์ทไทม์ให้ทำจากที่บ้าน ในขณะที่อีกคนจ่ายเงิน 12,000 ดอลลาร์ให้แก่สแกมเมอร์ที่ล่อลวงเธอผ่านโซเชียลมีเดีย

ประชาชนควรติดต่อธนาคารทันทีหากคิดว่าตนถูกหลอกลวง และแจ้งเหตุหลอกลวงไปยัง ศูนย์ต่อต้านการหลอกลวงแห่งชาติ (National Anti-scam Centre)


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Published 24 October 2023 10:58am
By SBS News
Presented by Parisuth Sodsai
Source: AAP


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand