โพลเผยคนออสซีต้องการอะไรจากชาวต่างชาติที่ย้ายมา

Exclusive: กว่าสามในสี่ของชาวออสเตรเลียกล่าวว่าการมีทักษะเพื่อหางานทำเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการพิจารณาว่าใครจะย้ายเข้าประเทศมาได้

You can view the full version of this story in English on SBS News .

โพลสำรวจความคิดเห็นล่าสุดเผยว่าชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่คำนึงถึงความสามารถของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานในการหางานทำ ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ยิ่งกว่าศาสนาหรือประเทศต้นทาง

เอสบีเอสนิวส์ ได้ว่าจ้างเอสเซนเชียลรีเสิร์ช ให้สอบถามความคิดเห็นเรื่องนี้โดยเฉพาะ และพบว่าสามในสี่ของผู้ตอบระบุว่า “การมีทักษะและคุณวุฒิซึ่งจะทำให้พวกเขาหางานทำได้” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาว่าใครควรจะได้รับอนุญาตให้ย้ายมายังประเทศออสเตรเลีย

ในผู้ตอบจำนวนดังกล่าว เกือบหนึ่งในสามจัดอันดับให้ปัจจัยนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดจากเกณฑ์ทั้งหมดแปดประการ
Q: Which of the following criteria do you think should be the most important for deciding whether a migrant should be allowed to move to Australia?
Q: Which of the following criteria do you think should be the most important for deciding whether a migrant should be allowed to move to Australia? Source: Essential Research


ความเข้าใจต่อค่านิยมแบบออสเตรเลียและความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษได้ดี เป็นตัวเลือกที่แพร่หลายรองลงมา โดยถูกระบุให้เป็นหนึ่งในความสำคัญสามประการแรก ที่ 65 เปอร์เซ็นต์ และ 51 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ในหมู่ผู้ตอบ

เกือบหนึ่งในห้าของผู้ถูกสำรวจเชื่อว่า ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานรายใหม่
มีผู้ถูกสอบถามจำนวน 1,079 คนในการทำสำรวจความคิดเห็นครั้งดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ศาสนาและประเทศต้นทางเป็นประเด็นซึ่งสำคัญน้อยที่สุด โดยมี 18 เปอร์เซ็นต์ที่ระบุว่าประเทศที่มาของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานรายใหม่ ถือว่าเป็นหนึ่งในสามประการแรก และ 11 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าศาสนานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ

ศาสนาไม่ใช่อุปสรรค

คุณอินาซ จานิฟ จากเครือข่ายต่อต้านการเกลียดชังอิสลาม (Islamophobia Network) รู้สึกประหลาดใจที่ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงว่าศาสนานั้นเป็นปัจจัยสำคัญ ในการประเมินว่าผู้ใดควรเข้ามาในประเทศออสเตรเลีย

“ฉันถูกบอกเมื่อฉันสมัครงานตำแหน่งแรกของฉัน ว่าฉันจะได้งานตราบใดที่ฉันหยุดสวมฮิญาบ... ในตอนนี้ฉันไม่เห็นว่าศาสนาจะเป็นอุปสรรคอย่างมากมายอะไร ดังนั้นมันก็ทำให้มีกำลังใจ” เธอกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์
ELEX ESSENTIAL POLL RNF
คุณอินาซ ชาริฟ กล่าวว่าเธอได้กำลังใจจากการที่ศาสนาไม่ได้ถูกมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับชาวออสเตรเลีย ในการประเมินว่าใครควรจะเข้าประเทศ (Image source: SBS News) Source: SBS
เธอยังผลักดันให้ชาวออสเตรเลียเปิดใจกว้างในเรื่องระดับคุณวุฒิของผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน

“ทักษะและคุณวุฒินั้นสำคัญ แต่ก็ต้องคำนึงด้วยว่าบางคนนั้นไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาขึ้นไปได้เลยจนกว่าสถานการณ์แวดล้อมของพวกเขานั้นเปลี่ยนแปลงเสียก่อน”

สส. พรรคลิเบอรัลของเขตเลือกตั้งเบนเนลอง (Bennelong) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ นายจอห์น อเล็กซานเดอร์ ก็รู้สึกคลายใจที่ชาวออสเตรเลียนั้นไม่ได้คำนึงว่าศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญ

“ผมหวังว่าเราจะไม่แบ่งแยกกันด้วยพื้นฐานทางศาสนา” คุณอเล็กซานเดอร์กล่าว

นักการเมืองจำนวนหนึ่งรวมถึงตัวเขาด้วย ได้ขึ้นเป็นองค์ปาฐกในการอภิปรายที่ย่านพารามัตตาซึ่งจัดโดยเอสบีเอสเมื่อวันอังคาร (7 พ.ค.) โดยรัฐมนตรีตรวจคนเข้าเมืองนายเดวิด โคลแมนก็เข้าร่วมการอภิปรายดังกล่าว แต่ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับเอสบีเอสนิวส์

ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเขตแบงส์ (Banks) จากพรรคแรงงาน นายคริส แกมเบียน กล่าวว่า จำเป็นจะต้องมีการ “ถกกันอย่างจริงจัง” เกี่ยวกับค่านิยมและระดับที่เหมาะสมของการรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศ

“เราจำเป็นต้องรับเข้ามาในจำนวนที่เหมาะสม ซึ่งควรถูกกำหนดโดยผู้คนที่มีสติปัญญาและอยู่บนพื้นฐานที่เป็นรูปธรรม ผู้ที่ทราบดีว่าอะไรคือการผสมผสานอย่างพอเหมาะ ณ เวลานั้นๆ” คุณแกมเบียนกล่าว

การอพยพย้ายถิ่นฐานและการปรับตัวทางสังคม

โพลสำรวจความคิดเห็นอีกโพลหนึ่งซึ่งจัดทำโดยเอสบีเอสนิวส์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วแสดงให้เห็นว่า

เมื่อเดือนกรกฎาคม นายมัลคอล์ม เทิร์นบูลล์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นกล่าวว่า รัฐบาลกำลังพิจารณาที่จะเริ่มให้มี “การทดสอบค่านิยม” สำหรับผู้ยื่นขอเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร เพื่อพยายามเพิ่มพูนการปรับตัวทางสังคมให้ดียิ่งขึ้น

“หนึ่งในเหตุผลที่เราทำเช่นนั้นเพราะที่ออสเตรเลียนี้เราทุ่มเทความพยายามอย่างมหาศาลให้กับการปรับตัวทางสังคม ทุ่มเทให้กับการพยายามเพื่อให้แน่ใจว่า(สังคม)พหุวัฒนธรรมในแบบของเรานั้นเป็นสังคมที่พวกเราทุกคนสามารถได้ประโยชน์จากความหลากหลายของวัฒนธรรม ศาสนา และพื้นเพชาติพันธุ์ของชาวออสเตรเลีย” เขากล่าวไว้ในขณะนั้น
Prime Minister Scott Morrison takes a selfie with newly-sworn citizens at an Australia Day Citizenship Ceremony
นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสันถ่ายภาพเซลฟีกับพลเมืองออสเตรเลียซึ่งเพิ่งสาบานตน ในพิธีมอบสัญชาติวันออสเตรเลียเดย์ (Image source: AAP) Source: AAP
มีการชงแนวคิดดังกล่าวหลังจากที่วุฒิสภาปัดตักข้อเสนอของรัฐบาลที่จะให้เกณฑ์การได้สัญชาตินั้นยากขึ้นกว่าเดิม โดยรัฐบาลต้องการจะให้ผู้ยื่นขอต้องอาศัยอยู่ในออสเตรเลียอย่างน้อยสี่ปีเสียก่อนและผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษระดับสูง

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ รัฐบาลยืนยันว่าจะลดเพดานการรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานรายปีลงจาก 190,000 รายเหลือ 160,000 ราย โดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “แก้ปัญหาความแออัด”

ฝ่ายค้านสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งก็สอดคล้องกับตัวเลขตามจริงของจำนวนผู้ที่ได้รับสถานะผู้อยู่อาศัยถาวรในปีการเงินนี้

ในขณะเดียวกัน จำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่ถือวีซ่าชั่วคราวกลับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ทักษะภาษาอังกฤษ

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ รัฐบาลยังเพ่งเล็งถึงประเด็นความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน ท่ามกลางการอภิปรายเรื่องการตรวจคนเข้าเมืองที่ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

สถิติต่างๆ นั้นไม่ชัดเจนเท่าไรนักเกี่ยวกับจำนวนของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานซึ่งมีทักษะภาษาอังกฤษอ่อนด้อย
Singh
ครอบครัวชาวอินเดียในพิธีมอบสัญชาติที่นครแอดิเลด (Supplied) Source: Supplied
เมื่อเดือนกรกฎาคม รัฐมนตรีด้านประชากร นายอลัน ทัดจ์ อ้างถึง “ความถดถอยลงอย่างน่าหนักใจ” ของทักษะภาษาอังกฤษ เมื่อเขาเผยแผนการทดสอบภาษาอังกฤษรายบุคคล สำหรับผู้ยื่นขอเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรด้วยเช่นกันมิใช่เฉพาะเพียงผู้ขอสัญชาติเท่านั้น

“เราวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องนั้น เรามีคนจำนวนหนึ่งล้านคนแล้วในตอนนี้ที่ไม่พูดภาษาอังกฤษในประเทศออสเตรเลีย” นายทัดจ์ชี้แจงกับเอสบีเอสนิวส์ในขณะนั้น

เขากล่าวว่า สัดส่วนของชาวออสเตรเลียซึ่งพูดภาษาอังกฤษไม่คล่องหรือไม่ได้เลยนั้น ได้เพิ่มสูงขึ้นจาก 18.6 เปอร์เซ็นต์ในหมู่ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานรายใหม่เมื่อปี 2006 ขึ้นเป็นกว่าหนึ่งในสี่ หลังเวลาผ่านไปหนึ่งทศวรรษ

แต่ศาสตราจารย์อิงกริด พิลเลอร์ นักภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมคควอรีโต้แย้งว่าตัวเลขดังกล่าวนั้นใกล้เคียงกับที่ 16.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปี ค.ศ. 2016

รัฐบาลมีข้อกำหนดด้านภาษาอังกฤษสำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานบางรายอยู่แล้ว ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่า โดยผู้ถือวีซ่าทักษะและวีซ่านักเรียนก็จำเป็นจะต้องแสดงทักษะทางภาษามาตลอด ในขณะที่คู่สมรสหรือครอบครัวนั้นไม่จำเป็น

ส่วนโครงการกลับมาอยู่ร่วมกันของครอบครัว (Family reunion scheme) และโครงการด้านมนุษยธรรม (Humanitarian scheme) สำหรับผู้ลี้ภัยนั้นไม่มีข้อกำหนดด้านภาษาอังกฤษ

รัฐบาลมีชั่วโมงเรียนให้ไม่เกิน 510 ชั่วโมงสำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานและผู้เข้าประเทศด้วยช่องทางมนุษยธรรมที่มีสิทธิเรียนภาษาอังกฤษฟรี เมื่อเดินทางมาถึงออสเตรเลียแต่ยังไม่เก่งภาษาอังกฤษ ทว่าผู้อพยพย้ายถิ่นเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่เลือกใช้ชั่วโมงเรียนเหล่านี้

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

การคิดแต้มคะแนนวีซ่าทักษะออสฯ แบบใหม่ ปี 2019


Share
Published 8 May 2019 1:57pm
Updated 8 May 2019 4:40pm
By Rosemary Bolger
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand