เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเดินเคาะประตูบ้านเพื่อให้คำแนะนำที่จะช่วยชีวิตผู้คนในฤดูหนาว

หลังเหตุการณ์ไฟไหม้บ้านที่มีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นซ้ำๆ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงของออสเตรเลียขอร้องให้ชุมชนท้องถิ่นพยายามทำให้แน่ใจได้ว่าจะไม่มีการเสียชีวิตจากไฟไหม้บ้านเกิดขึ้นอีกในฤดูหนาวปีนี้

เจ้าหน้าที่ดับเพลิงในย่านเรดเฟิร์นไปเคาะประตูบ้านเพื่อให้ความรู้และตรวจสอบความปลอดภัยจากอัคคีภัยให้ประชาชนในฤดูหนาว

เจ้าหน้าที่ดับเพลิงในย่านเรดเฟิร์นไปเคาะประตูบ้านเพื่อให้ความรู้และตรวจสอบความปลอดภัยจากอัคคีภัยให้ประชาชนในฤดูหนาว Source: Supplied / NSW Fire and Rescue

ในพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกำลังเดินเคาะประตูบ้านไปตามถนนลาเคมบา (Lakemba Street) โดยเสนอให้เครื่องตรวจจับควันไฟที่ส่งสัญญาณเตือนก่อนเหตุไฟไหม้ (smoke alarms) และตรวจสอบความปลอดภัยจากเหตุไฟไหม้ให้ฟรีแก่ทุกคนที่ต้องการ

พวกเขามีเหตุผลที่ต้องทำเช่นนี้

เนื่องจากจนถึงขณะนี้ในฤดูหนาวปีนี้ มีผู้เสียชีวิต 13 รายจากเหตุไฟไหม้บ้านในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งคิดเป็น 3 เท่าของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากฤดูหนาวปีที่แล้ว
the team at Lakemba Fire Station are in-home safety checks.
เจ้าหน้าดับเพลิงในพื้นที่ซิดนีย์ตะวันตกไปให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยจากอัคคีภัย Source: Supplied / Fire and Rescue NSW
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้รับแจ้งให้ไปช่วยดับเพลิงในอีกหลายร้อยเหตุการณ์ตลอดทั้งฤดูหนาวนี้ รวมถึงเหตุการณ์หนึ่งที่ได้เดินขึ้นบนถนนลาเคมบาสายเดียวกันนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

“เด็กวัยหัดเดินผู้หนึ่งนำ มันเป็นเด็กวัยหัดเดินที่วางบีนแบ็ก (beanbag หรือ เก้าอี้เม็ดโฟม) บนฮีตเตอร์ (heater เครื่องทำความอบอุ่นในบ้าน) เราแนะนำให้ทุกคนวางทุกอย่างให้ห่างจากฮีตเตอร์หนึ่งเมตร” คุณ เบรนแดน ฟอร์ด เจ้าหน้าที่ดับเพลิงประจำสถานีดับเพลิงลาเคมบา กล่าว

“โชคร้ายที่ในเหตุการณ์นี้ บีนแบ็กลุกไหม้ แต่โชคดีที่พ่อแม่อยู่ที่นั่น และพวกเขามีเครื่องตรวจจับควันที่ไฟใช้งานได้ในบ้าน”

บ้านในรัฐนิวเซาท์เวลส์เกือบทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุไฟไหม้ในฤดูหนาวนี้ไม่มีเครื่องตรวจจับควันที่ไฟใช้งานได้

ขณะที่ทีมเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและกู้ภัยจากลาเคมบา เดินไปยังบ้านแต่ละหลังในพื้นที่ พวกเขาไม่แปลกใจเลยที่พบบ้านหลายหลังที่ไม่มีเครื่องตรวจจับควันไฟที่ส่งสัญญาณเตือนก่อนเหตุไฟไหม้ (smoke alarms) หรือไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์เหล่านั้นอย่างเหมาะสม

“ฉันสังเกตเห็นว่ามีเครื่องตรวจจับควันไฟเพียงเครื่องเดียวในห้องครัว และไม่มีในโถงทางเดินหน้าห้องนอน” คุณเดมิ-ลี วอร์ราร์ด เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกล่าว หลังจากตรวจสอบบ้านหลังหนึ่ง

“โดยทั่วไป เราจะไม่มีเครื่องตรวจจับควันไฟ (smoke alarm) ในครัว เพราะถ้าทำอะไรไหม้มันจะส่งเสียงเตือนขึ้นมาเสมอ แต่เราต้องมีไว้ใกล้ห้องนอน เพราะเราไม่สามารถได้กลิ่นขณะที่นอนหลับ และสิ่งเดียวที่จะปลุกเราให้ตื่นก็คือเสียงสัญญาณเตือนที่ดังขึ้นมา”
เราต้องมี smoke alarm ไว้ใกล้ห้องนอน เพราะเราไม่สามารถได้กลิ่นขณะที่นอนหลับ และสิ่งเดียวที่จะปลุกเราให้ตื่นก็คือเสียงสัญญาณเตือนที่ดังขึ้นมา

Image

การให้ความรู้เพื่อช่วยรักษาชีวิตผู้คน

ทีมเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเหล่านี้ไม่เพียงแต่มองหาเครื่องตรวจจับควันไฟที่ใช้งานได้

ทางตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดในประเทศ โดยมีผู้คนมาจากกว่า 129 ประเทศซึ่งพูดต่างๆ ราว 200 ภาษา ซึ่งอาศัยอยู่ในลาเคมบาและย่านอื่นๆ รอบๆ ลาเคมบา

ขณะที่พวกเขาเดินไปแวะที่บ้านแต่ละหลัง เจ้าหน้าที่ดับเพลิงก็พยายามให้ความรู้ผู้คนเกี่ยวกับอันตรายอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดไฟไหม้ซึ่งอาจคร่าชีวิตผู้คน ที่พวกเขาอาจไม่ตระหนักว่ามีอยู่ในบ้านของตน

“มีสิ่งที่อยู่ใกล้ฮีตเตอร์มากเกินไป การไม่ทำความสะอาดขุยผ้าหรือเศษผ้าจากเครื่องอบผ้า, นอนหลับไปขณะใช้ผ้าห่มไฟฟ้า, ใช้งานปลั๊กพ่วงเกินกำลังไฟฟ้าที่ปลั๊กจะรับได้, ผู้คนใช้อแดปเตอร์สองตัวบนปลั๊กพ่วง และหลายคนไม่รู้ว่าฮีตเตอร์นั้นควรเสียบปลั๊กบนเต้ารับที่อยู่บนผนังเสมอ เพราะมันใช้ไฟฟ้ามาก” คุณ เคท เฟธ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงอาวุโสกล่าว

“ควันไฟไม่ได้ทำให้คุณตื่นขึ้น แต่ทำให้คุณหลับไปเท่านั้น ไฟไหม้อาจใช้เวลาราว 3 นาทีจึงจะลุกไหม้ทั้งห้อง และนั่นอาจทำให้ผู้คนไม่สามารถรอดชีวิตได้ และการหายใจเอาควันพิษเข้าไปเพียงสองลมหายใจจะทำให้คุณหมดสติ”

“ดังนั้น การมีเครื่องตรวจจับควันไฟที่ใช้งานได้ และให้หมั่นตรวจสอบว่าใช้งานได้ทุกเดือนจึงสร้างแตกต่างอย่างมากกับผลลัพธ์ที่ออกมา หากคุณไม่มีการเตือนล่วงหน้า”

หลายเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ทำให้มีผู้คนเสียชีวิตในฤดูหนาวนี้เกิดขึ้นตอนกลางคืน
Lakemba fire station crew safety visit in Sydney
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกำลังตรวจสอบเครื่องตรวจจับควันไฟที่ส่งสัญญาณเตือนก่อนเหตุไฟไหม้ (smoke alarm) Source: Supplied / NSW Fire and Rescue
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ก่อน มีผู้คน 3 ราย รวมทั้งเด็กชายวัย 10 ขวบ เสียชีวิตจากเหตุไฟไหม้บ้านในย่านฮินชินบรูก (Hinchinbrook)

สัปดาห์ก่อน ชายวัย 60 ปีจากแบงค์สทาวน์ (Bankstown) เสียชีวิตในห้องนอนของเขา

“เราทราบดีว่าคนที่อายุมาก คนที่อายุน้อย คนที่มาจากพื้นที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่ต่ำกว่า และบางครั้งคนที่ไม่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ อาจเป็นอุปสรรคในการรับข้อมูลของเราเรื่องความปลอดภัยจากเหตุไฟไหม้” คุณ เทรนต์ เคอร์ทิน รองกรรมาธิการด้านความปลอดภัยชุมชนของหน่วยดับเพลิงและให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินของรัฐนิวเซาท์เวลส์ กล่าว

“มันไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมใดโดยเฉพาะ แต่โชคร้ายที่จากแรงกดดันต่อค่าใช้จ่ายของครอบครัว เราได้เห็นผู้คนนำเครื่องทำความอบอุ่นสำหรับนอกบ้านเข้ามาใช้ในบ้าน หรือผู้คนนำเตาบาร์บีคิวและอุปกรณ์ทำอาหารกลางแจ้งเข้ามาในบ้าน และโชคร้ายที่นั่นก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกับชุมชนของเรา”

นั่นนำไปสู่การเพิ่มขึ้นเช่นกันของเหตุการณ์คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ

เมื่อสัปดาห์ก่อน ผู้คน 6 คนจากบ้านหลังหนึ่งในพื้นที่แมร์ริแลนส์ (Merrylands) ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลกลางดึกเพื่อรับการรักษา หลังจากนำเตาถ่านมาในบ้านเพื่อทำความอบอุ่น

“เมื่อผู้คนนึกถึงเจ้าหน้าที่ดับเพลิงพวกเขาจะนึกถึงไฟป่า แต่เรารู้ว่ามีผู้คนเสียชีวิตจากไฟไหม้ในบ้านมากกว่าไฟไหม้ป่าหรือเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ” รองกรรมาธิการ เคอร์ทิน กล่าว
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงพูดคุยกับครอบครัวเรื่องการเตรียมแผนเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงพูดคุยกับครอบครัวเรื่องการเตรียมแผนเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ Source: Supplied / NSW Fire and Rescue

ปัญหาทั่วประเทศ

เจ้าหน้าที่ดับเพลิงต่างเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนไม่เพียงแต่ในพื้นที่ทางตะวันตกของซิดนีย์เท่านั้น แต่ยังกระจายไปทั่วนครซิดนีย์ และนิวเซาท์เวลส์ไม่ได้เป็นรัฐเดียวที่ประสบกับฤดูไฟไหม้ที่น่าสลดใจอย่างยิ่งในฤดูหนาวปีนี้

รัฐวิกตอเรียมีผู้เสียชีวิต 10 รายและรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย 5 รายในขณะที่แทสเมเนียและเซาท์ออสเตรเลียมีผู้เสียชีวิต 1 รายจากเหตุไฟไหม้บ้าน

หน่วยให้ความช่วยเหลือเหตุเพลิงไหม้แห่งรัฐวิกตอเรีย (Fire Rescue Victoria) ได้ริเริ่มโครงการเพื่อส่งสารไปยังชุมชนหลากวัฒนธรรม โดยดำเนินการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยจากอัคคีภัยสำหรับเด็กๆ ที่เพิ่งมาอยู่ใหม่ในออสเตรเลีย ซึ่งเรียกว่าโครงการ ‘Flames for Teens’

“ผู้อพยพย้ายถิ่นจำนวนมากไม่พูดภาษาอังกฤษ แต่เราพบว่าเด็กหรือคนรุ่นใหม่พูดได้สองภาษา ดังนั้น ไม่เพียงแต่พวกเขาสามารถซึมซับข้อมูลได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งต่อไปข้อมูลและนำไปใช้กับพ่อแม่และปู่ย่าตายายของพวกเขาได้อีกด้วย” คุณมิแชล ยัง รองกรรมาธิการด้านความปลอดภัยชุมชนของหน่วยดับเพลิงและให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินของรัฐวิกตอเรีย กล่าว
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงไปเคาะประตูบ้านของประชาชนเพื่อให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัยในฤดูหนาว
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงไปเคาะประตูบ้านของประชาชนเพื่อให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัยในฤดูหนาว Source: Supplied / NSW Fire and Rescue
รองกรรมาธิการ ยัง กล่าวต่อไปว่าควาสำเร็จของโครงการนี้นั้นเห็นได้จากสถานการณ์ที่ฉุกเฉินเกี่ยวกับความเป็นความตายหลายเหตุการณ์ เช่น เหตุการณ์เหตุไฟไหม้เมื่อเร็วๆ นี้ในเมลเบิร์น ที่เด็กๆ ได้ช่วยให้พ่อแม่หนีออกจากบ้านและโทรหา 000

“เรายังชอบที่จะสร้างสัมพันธ์กับผู้คน เพราะพวกเราอาจดูน่าเกรงขามในชุดเครื่องแบบสีดำ ที่เข้ามาในบ้านของผู้คนเมื่อมีเหตุไฟไหม้” รองกรรมาธิการ ยัง กล่าว

“ผู้ที่มาจากบางประเทศ เมื่อเห็นคนในเครื่องแบบและพวกเขาเกิดความกลัวอย่างฝังใจ ดังนั้น เราจึงต้องพยายามทำให้แน่ใจได้ว่าพวกเขาเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเป็นคนดีและเราพร้อมช่วยเหลือพวกเขาและช่วยชีวิตพวกเขา”

คุณสามารถไปที่เว็บไซต์ เพื่อนัดเวลาให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงไปตรวจสอบความปลอดภัยจากไฟไหม้ให้ฟรีที่บ้านของคุณ (สำหรับประชาชนในนิวเซาท์เวลส์)



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 1 August 2022 12:15pm
Updated 1 August 2022 3:56pm
By Claudia Farhart
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand