โอมิครอนพันธุ์ย่อยตัวใหม่ BA.2.75 ถึงออสฯ แล้ว น่ากังวลขนาดไหน

มีความเชื่อว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ BA.2.75 หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า “เซนทอรัส” จะแพร่กระจายได้มากกว่าตัวที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์สถานการณ์และอนาคตประเทศใต้เงาเชื้อโควิดตัวใหม่

The Omicron subvariant BA.2.75 has been detected in Australia.

The Omicron subvariant BA.2.75 has been detected in Australia. Source: AAP / DIEGO FEDELE/AAPIMAGE

สายพันธุ์ย่อยล่าสุดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่มีชื่อว่า BA.2.75 มาถึงออสเตรเลียแล้ว พร้อมกับการพูดคุยถึงความสามารถในการหลบหลีกระบบภูมิคุ้มกัน อัตราการแพร่กระจายเชื้อที่เพิ่มขึ้น และข้อมูลที่มีอยู่ของไวรัสโคโรนาที่ลดน้อยลง

ขณะที่รายงานในระยะแรกชี้ว่า การกลายพันธุ์ครั้งใหม่ของโควิด-19 นี้ดูเหมือนว่าจะมีความสามารถในการติดเชื้อในระดับสูง แต่จำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อยใหม่ BA.2.75 ยังคงปรากฏเพียงเล็กน้อยในออสเตรเลีย

ณ วันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา หน่วยงานสาธารณสุขออสเตรเลียได้บันทึกจำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ BA.2.75 ได้อย่างน้อย 10 ราย ด้านโฆษกกระทรวง ฯ ระบุว่า “ระหว่างที่มีคำแนะนำว่าเชื้อสายพันธุ์ย่อย B.2.75 มีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อมากกว่าสายพันธุ์ย่อยก่อนหน้าของเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน แต่ในขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าจะมีความรุนแรงมากกว่า”

มุมมองในระดับโลก

องค์การอนามัยโลกได้ประกาศเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า กำลังจับตาเชื้อไวรัสสายพันธุ์ย่อยใหม่นี้อย่างใกล้ชิด

หลังเชื้อได้อุบัติขึ้นในประเทศอินเดียเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เชื้อไวรัสสายพันธุ์ย่อยดังกล่าวได้ถูกพบในหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี และล่าสุดที่เนเธอร์แลนด์
A nurse prepares to give a COVID vaccine to a man at a clinic in India.
พยาบาลกำลังเตรียมวัคซีนโควิด-19 เพื่อฉีดให้กับชายคนหนึ่งในคลินิกที่อินเดีย Source: AAP / Anupam Nath/AP
เมื่อสัปดาห์ก่อน แพทย์หญิงมาเรีย แวน เคอร์คอฟ (Dr Maria Van Kerkhove) หัวหน้าฝ่ายเทคนิคโควิด-19 ขององค์การอนามัยโลก ระบุว่าเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ยังคงเป็นสายพันธุ์ย่อยที่มีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อมากที่สุดเท่าที่ได้พบเห็นมา เธอยอมรับว่าการติดตามและวิเคราะห์เชื้อสายพันธุ์ย่อยใหม่กำลังเป็นเรื่องยากขึ้นทุกที ซึ่งหมายความว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ย่อยใหม่ BA.2.75 ในจำนวนน้อยลง

พญ.เคอร์คอฟ กล่าวว่า ข้อมูลจากทั่วโลกในการระบุชี้ลักษณะเฉพาะต่าง ๆ กำลังถูกจำกัดมากขึ้น เธอกล่าวอีกว่า แม้จำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการรายงานจะเพิ่มขึ้นทั่วโลกเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา “แต่กิจกรรมการเฝ้าระวังได้ลดลงมาอย่างมากทั่วโลก ซึ่งรวมถึงการตรวจหาเชื้อ”

“ในปัจจุบัน เรามีลำดับเหตุการณ์ของเชื้อสายพันธุ์ย่อยตัวนี้ที่มีในสาธารณะน้อยมาก แต่เราก็กังวลเกี่ยวกับเชื้อสายพันธุ์ย่อยนี้ด้วยเช่นกัน” พญ.แวน เคอร์คอฟ กล่าว

เธอกล่าวอีกว่า เชื้อโควิด-19 ทุกสายพันธุ์สร้างความกังวลต่อองค์การอนามัยโลก “เนื่องจากไวรัสนี้แพร่กระจายไปทั่วโลกในระดับที่รุนแรง” และองค์การอนามัยโลกมองว่าเชื้อสายพันธุ์ย่อยทุกตัวของสายพันธุ์โอมิครอน “คือตัวแปรที่น่ากังวล”

ผังครอบครัวของโควิด-19

เช่นเดียวกับเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 เชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 คือการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนซึ่งพบครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021

ศาสตราจารย์ แคสแซนดรา เบอร์รี (Prof Cassandra Berry) ศาสตราจารย์ภาควิชาภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัยเมอร์ด็อก กล่าวว่าเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 มาหลังจาก BA.4 และ BA.5 ในแง่ของการเรียงลำดับเวลา

“มันสอดคล้องอย่างใกล้ชิดกับเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.2 มากกว่า มันเหมือนกิ่งก้านสาขาที่แตกออกมาจากตรงนั้น” ศาสตราจารย์เบอร์รี กล่าว

‘เซนทอรัส’ ชื่อนี้ได้แต่ใดมา

ขณะที่บางคนอาจเรียกสายพันธุ์ย่อยตัวนี้ว่า “เซนทอรัส (Centaurus)” ซึ่งเป็นทั้งชื่อของดาราจักรที่ห่างไกลออกไป และเป็นชื่อของตัวละครในตำนานกรีก องค์การอนามัยโลกกลับระบุเพียงชื่อ BA.2.75 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน

เซนทอรัส เป็นเหมือนชื่อเล่นของเชื้อสายพันธุ์ย่อยดังกล่าว ดูเหมือนว่าจะมีที่มาจากผู้ใช้งานทวิตเตอร์คนหนึ่งซึ่งโพสเนื้อหาเกี่ยวกับโควิด-19 อยู่บ่อยครั้ง และคนอื่น ๆ ก็นำชื่อนี้ไปใช้และเรียกต่อกันมา

การหลบหลีกจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ศาสตราจารย์เบอร์รี กล่าวว่า หนึ่งในความกังวลเกี่ยวกับเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 และสายพันธุ์ย่อยต่าง ๆ ที่จะอุบัติขึ้นในอนาคต นั่นคือความเป็นไปได้ที่ไวรัสสายพันธุ์ย่อยต่าง ๆ จะพัฒนาเพื่อหลบหลีกระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่มีอยู่

“ผู้คนจำนวนมากในตอนนี้ ... พวกเขาได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว หรืออาจจะเคยเป็นโควิดมาแล้วรอดชีวิตและฟื้นตัว เมื่อไวรัสเปลี่ยนไปในรูปแบบของการกลายพันธุ์ และภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่ทำงาน สิ่งนี้เราเรียกว่าการหลบหลีกระบบภูมิคุ้มกัน”

“ดังนั้น เมื่อแอนติบอดีของคุณถูกผลิตขึ้นจากพื้นที่เล็ก ๆ ตรงปลายแหลมของโปรตีนที่อยู่ด้านนอกเซลล์ไวรัส ซึ่งไม่อาจรับรู้การกลายพันธุ์ได้อีกต่อไป เชื้อสายพันธุ์ย่อยจะหลบหลีกจากแอนติบอดีนั้นไปได้ ดังนั้นแอนตี้บอดี้จึงไม่มีประโยชน์แม้จะมีมันอยู่มากมายในระบบเลือดของเรา มันจะหาไวรัสไม่พบ มันจะจับตัวกับไวรัสไม่ได้ มันจะไม่สามารถป้องกันไวรัสจากการขยายพันธุ์ได้”

ศาสตราจารย์เบอร์รี กล่าวอีกว่า นี่คือเหตุผลว่าเพราะเหตุใดบางคนจึงติดเชื้อโควิดซ้ำหลายครั้ง
Cassandra Berry is an Immunology Professor at Murdoch University.
แคสแซนดรา เบอร์รี เป็นศาสตราจารย์ภาควิชาภูมิคุ้มกันวิทยาที่มหาวิทยาลัยเมอร์ด็อก Source: Supplied / Cassandra Berry
เธอได้กระตุ้นให้ผู้คนไปรับการฉีดวัคซีนรวมถึงไปรับการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ ซึ่งเธอบอกว่าจะลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตและการเข้ารับการรักษาพยาบาล หากพวกเขาติดเชื้อโควิด-19

“หากเราไปรับการฉีดวัคซีนอีกโดสหนึ่ง มันจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของเรา เพื่อให้เซลล์บี (B cells) ของเราผลิตแอนติบอดีออกมามากขึ้น และถึงแม้แอนติบอดีเหล่านั้นจะไม่ตรงกับไวรัสที่กลายพันธุ์โดยเฉพาะ ซึ่งก็คือเชื้อ BA.2.75 มันก็จะยังมีแอนติบอดีบางส่วนซึ่งทำปฏิกิริยาข้ามกันที่อาจเหนี่ยวรั้งมันไว้ได้”

วัคซีนในรูปแบบที่แตกต่าง

ศาสตราจารย์เบอร์รีเชื่อว่า วัคซีนแบบ “ครอบจักรวาล” หรือ “เป็นกลาง” จะสามารถให้การปกป้องที่กว้างขวางและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อป้องกันผู้คนจากการได้รับเชื้อไวรัสโคโรนา

“สิ่งที่ฉันเชื่อว่าเป็นเรื่องฉลาดที่สุดก็คือ การได้รับแอนติเจนทั่วไปจากไวรัสทุกสายพันธุ์ที่มีร่วมกัน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของไวรัสทุกสายพันธุ์ที่จะไม่กลายพันธุ์” ศาสตราจารย์เบอร์รีกล่าว

“เพียงหากเราสามารถค้นหาพื้นที่ซึ่งมีเหมือนกันในส่วนแหลมของเซลล์ระหว่างไวรัสสายพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งตามปกติจะอยู่ตรงส่วนโคนมากกว่าส่วนปลายแหลมได้ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องยากในการผลิตวัคซีนและการตอบสนองของแอนติบอดีที่แข็งแรงต่อพื้นที่ที่มีร่วมกันของส่วยปลายแหลมของเซลล์ไวรัส” ศาสตราจารย์เบอร์รีกล่าว

สายพันธุ์ย่อยอื่น ๆ ในอนาคต

ศาสตราจารย์เบอร์รีกล่าวว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะคาดการณ์ว่าเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 จะกลายเป็นเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ที่โดดเด่นในออสเตรเลียหรือไม่

“เชื้อไวรัสที่มีเหมาะสมที่สุดจะเป็นเชื้อที่เข้าถึงผู้คนได้มากและขยายพันธุ์ได้ในระดับสูงขึ้น โดยค่อนข้างปริยายก็คือการพัฒนาเป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายเชื้อได้ในระดับสูงมากและมีความโดดเด่น” ศาสตราจารย์เบอร์รีกล่าว

“หากมันคร่าชีวิตผู้คนได้มากขึ้นและส่งผลให้เกิดอาการของโรคที่รุนแรงขึ้น นั่นไม่ใช่ไวรัสที่ฉลาดนัก เพราะพวกมันก็อาจจะหายไปได้เหมือนกับไวรัสอีโบลาบางชนิดที่เราเคยมี”
ศาสตราจารย์เบอร์รีกล่าวอีกว่า แม้เธอไม่แน่ใจว่าเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ต่าง ๆ จะเกิดขึ้นจนใช้ตัวอักษรกรีกครบทุกตัวหรือไม่ แต่ก็กล่าวอีกว่าไวรัสนี้จะยังไม่หายไปในเร็ววัน

“ฉันไม่คิดว่าเราจะมีสายพันธุ์โควิดมากไปจนถึงโอเมกา แต่ฉันคิดว่าเราจะต้องอยู่กับโควิดทุกปีจนกระทั่งเรามีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจริง ๆ และมีภูมิคุ้มกันที่มีปฏิกิริยาข้ามกันอย่างกว้างขวางจากวัคซีนรุ่นใหม่ๆ” ศาสตราจารย์เบอร์รีกล่าว

พร้อมกันนี้ ศาสตราจารย์เบอร์รียังได้กระตุ้นให้ผู้คนสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกจากบ้าน เพื่อเป็นหนทางในการลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19

“ฉันคิดว่าการสวมหน้ากากอนามัยจะช่วยลดความเสี่ยงที่มันจะแพร่กระจายได้จริง ๆ และควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อเอาไว้ได้” ศาสตราจารย์เบอร์รีกล่าวทิ้งทาย


 

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

คุณมีสิทธิ์รับวัคซีนบูสเตอร์ และยาต้านโควิด-19 หรือไม่


Share
Published 28 July 2022 2:07pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand