Analysis

เพิ่งติดโควิด แล้วระบบภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้นานแค่ไหน?

การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดช่วยป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้นานกว่าการป้องกันตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียว

A man on a tram in Melbourne

ขณะที่บางคนบอกว่าพวกเขาโชคดีไม่เคยติดโควิดสักครั้ง บางคนอาจจะติดเป็นครั้งที่สอง สาม สี่ แล้ว Source: Getty / Alexi Rosenfeld

เป็นเวลาราว ปีแล้วที่การระบาดของโควิด 19 ประเทศออสเตรเลียก็คงคล้ายๆ กับอีกหลายประเทศที่ยังพบจำนวนผู้ติดเชื้อสูง

ในปี 2023 ที่ผ่านมามีรายงานการติดเชื้อโควิด 19 ในออสเตรเลียถึง 860,221 ราย ขณะที่เข้าปี 2024 ไม่ถึงหนึ่งเดือน มีรายงานผู้ติดเชื้อไปแล้ว 30,283 ราย

สิ่งนี้ดูเหมือนว่าจะมีการประเมินที่ต่ำกว่าที่คาดไว้มาก เนื่องจากพบว่ามีผู้คนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับช่วงการระบาดใหญ่ที่มีการตรวจเช็กและรายงานผล แต่มีสัญญาณยางอย่างที่กำลังบอกว่าบางส่วนของออสเตรเลียกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิดอีกครั้ง
บางคนอาจจะโชคดีที่ไม่เคยติดเชื้อโควิดเลยสักครั้งครั้งหนึ่ง ขณะที่บางคนอาจเป็นมาแล้วสอง หรือสามครั้ง บางคนอาจมากถคงสี่ครั้ง แม้ว่าจะมีการฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม

คุณอาจจะสงสัยว่า ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราจะอยู่ได้นานแค่ไหน หากติดเชื้อหรือหลังจากรับวัคซีน

มาดูผลการวิจัยเรื่องนี้กัน

เซลล์ บี และ เซลล์ ที

การจะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องเข้าใจก่อนว่า ภูมิคุ้มกันของเชื้อโควิด (หรือ SARS-CoV-2) ทำงานอย่างไร

ภายหลังจากการติดเชื้อหรือได้รับวัคซีน ระบถูมิคุ้มกันในร่างกายของเราจะสร้างตัวคุ้มกัน แอนติบอดี จำเพาะที่สามารถจำกัดเชื้อไวรัส SARS -CoV-2 ซึ่งเซลล์บีจะจำไวรัสได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง

นอกจากนี้ ระบบภูมิคุ้มกันจะสร้างเซลล์หย่วยความจำ ที ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ และจะยังคงอยู่ในระบบเลือดไปอีกหลายเดือนหลังจากการกำจัดเชื้อหรือการได้รับวัคซีน
งานวิจัยในปี 2021 พบว่าผู้คน 98 เปอร์เซนต์ มีแอนติบอดีที่สามารถขัดขวางโปรตีนของเชื้อ SARS -CoV-2 (โปรตีนคือพื้นผิวที่เชื้อไวรัสใช้เพื่อเกาะติดกับเซลล์) หนึ่งเดือนหลังจากเริ่มมีอาการ หลังจากนั้นราว หก ถึงแปดเดือน ผู้คนจากการศึกษาครั้งนี้ราว 90 เปอร์เซนต์ยังคงมีแอนติบอดีในเลือดของพวกเขา

 นี่จึงหมายถึงว่าระบบภุมิคุ้มกันของเราสามารถจดจำและกำจัดเชื้อ SARS -CoV-2 ได้ หากมีการติดเชื้อในช่วง หก ถึง แปดเดือน (หากการติดเชื้อเกิดขึ้น จะแสดงอาการเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการเลย)

แต่กับเชื้อที่กลายพันธุ์จะเป็นอย่างไร ?

อย่างที่เราทราบกันว่าเชื้อโควิด 19 ได้มีการกลายพันธุ์ในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่สายพันธุ์ อัลฟ่า เบต้า เดลต้า และโอมิครอน แต่ละสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์ของเชื้อจะเป็นสิ่งใหม่สำหรับระบบภุมิคุ้มกัน แม้ว่าบุคคลนั้นจะเคยติดเชื้อจากสายพันธุ์ก่อนหน้านี้มาแล้วก็ตาม

ดังนั้น แม้ว่าตัวเซลล์หน่วยความจำ ทีหรือบีจะมีจดจำเชื้อจากการติดครั้งก่อนได้ แต่ระบบภูมิคุ้มกันก็จะไม่สามารถระบุได้ว่าเชื้อกลายพันธุ์ที่เข้ามาเป็นเชื้ออะไร นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมบางคนถึงติดเชื้อโควิดซ้ำ

การทบทวนการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์จนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2022 ซึ่งพิจารณาการสร้างระบบป้องกันการได้รับจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 จากการติดเชื้อครั้งก่อน
ผู้เขียนพบว่า การติดเชื้อครั้งก่อนร้อยละ 85.2 จะสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อปกป้องการติดเชื้อครั้งใหม่ด้วยเชื้อดั้งเดิม อัลฟา เบต้า และเดลต้า ในเวลาสี่สัปดาห์

การป้องกันต่อการติดเชื้อครั้งใหม่จากสายพันธุ์เหล่านี้ยังสูง (78.6 เปอร์เซ็นต์) ในช่วง 40 สัปดาห์ หรือมากกว่า 9 เดือน หลังจากการติดเชื้อ ระบบป้องกันนี้จะลดลงเหลือ 55.5 เปอร์เซนต์ ใน 80 สัปดาห์ ( 18 เดือน) แต่ผู้เขียนได้ระบุไว้ว่า ถึงขณะนี้ยังมีชุดข้อมูลที่จำกัดอยู่

โดยอย่างยิ่ง การติดเชื้อในช่วงแรกๆ จะสร้างภูมิคุ้มกันในการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ อย่าง โอมิครอน BA.1 ได้เพียงร้อยละ 36.1 ในช่วง 40 สัปดาห์ ซึ่งสายพันธุ์โอมิครอนขึ้นชื้อว่าเป็นสายพันธุ์ที่หลบหลีกระบบภูมิคุ้มกัน

การติดเชื้อครั้งก่อนแสดงให้เห็นว่าสามารถป้องกันโรคร้ายแรงได้ในระดับสูง (มากกว่า 88 เปอร์เซ็นต์) นานถึง 40 สัปดาห์ โดยไม่เกี่ยวว่าสายพันธุ์ที่ติดซ้ำนั้นคือสายพันธุ์อะไร

ระบบภูมิคุ้มกันเป็นอย่างไรหลังจากการฉีดวัคซีน

จนถึงขณะนี้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดไปแล้วราว 70 ล้านโดส ให้กับคนที่อาศัยในออสเตรเลียมากกว่า 22 ล้านคน นักวิทยาศาสตร์คาดว่าวัคซีนโควิดจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากการติดเชื้อได้ราว 14.4 ล้านคนใน 185 ประเทศ ในช่วงปีแรกนับตั้งแต่ที่มีการค้นพบวัคซีน

แต่กระนั้น เราต่างทราบดีว่าประสิทธิภาพของวัคซีนจะลดลงตามกาลเวลา

ผลการทบทวนในปี 2023 พบว่าวัคซีนดั้งเดิมมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเดลต้าได้ 79.6 เปอร์เซนต์ และ 49.7 เปอร์เซ็นต์ หลังการฉีดวัคซีนในเวลาหนึ่งและเก้าเดือนตามลำดับ พวกมันยังมีประสิทธิภาพที่ 60.4 เปอร์เซนต์ และ 13.3 เปอร์เซ็นต์ ต่อสายพันธุ์โอมิครอน ในเวลาเดียวกัน

นี่คือเหตุผลที่ว่าจำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนตัวกระตุ้น ซึ่งค่อนข้างสำคัญในการช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่มีความพร้อมในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่มีความเปราะบางในการติดเชื้อโควิด

นอกจากนี้ การฉัดวัคซีนกระตุ้นอยู่เป็นประจำจะช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในสามารถรับมือกับการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ วัคซีนโควิดนั้นได้รับการพัฒนู่ตลอดเพื่อให้มั่นใจว่าจะยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ โดยวัคซีนตัวล่าสุดที่มีอยู่ในขณะนี้ สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน XBB 1.5 ได้ สิ่งนี้จึงคล้ายกับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่นั่นเอง

งานศึกษาชิ้นล่าสุดเผยให้เห็นว่า วัคซีนนั้นช่วยสร้างระบบป้องกันได้นาวนานกว่าการสร้างระบบภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติ โดยระยะเวลาเฉลี่ยจากการติดเชื้อสู่การติดเชื้อครั้งใหม่สำหรับคนที่ไม่ฉีดวัคซีนคือ 6 เดือนเท่านั้น ขณะที่หากเทียบกับคนที่ฉีดวัคซีน1 ถึง 3 โดสที่จะมีระยะการติดเชื้อครั้งใหม่หลังจากการติดเชื้อครั้งแรกที่ 14 เดือน สิ่งนี้แรกว่าระบบภูมิคุ้มกันแบบไฮบริด และงานวิจัยชิ้นอื่นๆ ยังพบผลลัพธ์ที่คล้ายกันที่ว่าการฉีดวัคซีนป้องกันนั้นดีกว่าการรอให้เกิดระบบภูมิคุ้มกันจากธรรมชาติ

ทั้งนี้ยังดูเหมือนว่าระยะเวลาก็มีส่วนสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับวัคซีนหลังจากการติดเชื้อ (น้อยกว่า หกเดือน) พบว่ามีประสิทธิภาพน้อยกว่าการได้รับวัคซีนภายหลังจากนั้น

ทำอะไรได้บ้างในปัจจุบัน?

แต่ละคนต่างมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่างกันออกไป และเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ยังคงมีการกลายพันธุ์ ดังนั้นการจะสรุปว่าระบบภูมิคุ้มของเราจะอยู่ได้นานแค่ไหนนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อน

จากข้อมูลที่มีอยู่ช่วยให้เราเข้าใจว่าระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อนั้นจะอยู่ได้นานถึง 6 เดือน สำหรับกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี และจะนานยิ่งขึ้นสำหรับคนที่มีการรับวัคซีน แต่กระนั้นก็มีข้อแม้ว่า เชื้อไวรัสจะไม่มีการกลายพันธุ์ใหม่ที่สามารถหลบระบบภูมิคุ้มกันนี้ได้

แม้ว่าหลายคนจะรู้สึกว่าการระบาดนั้นได้จบลงไปแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่เราไม่ควรลืมคือบทเรียนที่ผ่านมา หลักการปฏิบัติ อาทิ การสวมหน้ากากอนามัย การอยู่บ้านหากไม่สบาย สามารถลดการแพร่เชื้อลงได้ ไม่เฉพาะแค่เชื้อโควิด

ถึงแม้การฉีดวัคซีนจะไม่จำเป็น แต่สำหรับผู้สูงวัยควรได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นตามคำแนะนำปัจจุบัน ก็เป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อย


Share
Published 31 January 2024 12:29pm
By Lara Herrero
Presented by Warich Noochouy
Source: The Conversation


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand