เด็กอายุเท่าไหร่ถึงควรเล่นโซเชียลมีเดีย?

โรงเรียนและรัฐบาลเริ่มออกคำสั่งห้ามใช้มือถือ และผู้ปกครองบางท่านพยายามยื้อไม่ให้บุตรหลานเล่นโซเชียลมีเดียให้นานที่สุด

ผู้สอนและผู้ออกกฎหมายชี้มือถือทำให้เด็กเสียสมาธิในโรงเรียน

ผู้สอนและผู้ออกกฎหมายชี้มือถือทำให้เด็กเสียสมาธิในโรงเรียน Source: AAP

ประเด็นสำคัญ
  • รัฐบาลมลรัฐทั่วออสเตรเลียเริ่มแบนการใช้มือถือ
  • ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียอนุญาตให้ผู้ที่มีอายุ 13 ปีลงทะเบียนได้ แต่ผู้ปกครองหลายท่านไม่เห็นด้วย
  • ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าผู้สอน การกีดกันและการสื่อสารเป็นกุญแจสำคัญในการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยในกลุ่มวัยรุ่น
โซเชียลมีเดีย (social media) และสมาร์ทโฟน (smart phone) ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตในยุคใหม่ แต่อายุเท่าไหร่ที่จะเหมาะสมกับการเริ่มใช้?

แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้งเฟสบุ๊ก (Facebook) อินสตาแกรม (Instagram) และติ๊กต็อก (TikTok) อนุญาตให้ผู้ที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปสมัครใช้บริการ หลายฝ่ายกล่าวว่าควรเพิ่มอายุ

ขณะนี้รัฐบาลระดับมลรัฐและมณฑลต่างๆ เริ่มใช้มาตรการแบนและจำกัดการใช้สมาร์ทโฟน ขณะที่ผู้ปกครองหลายท่านพยายามจำกัดการเข้าถึงและการเปิดรับโซเชียลมีเดียของเด็กๆ

คำถามคือ อายุเท่าไหร่คืออายุที่เหมาะสม? ทำไมโรงเรียนถึงห้าม

ใช้สมาร์ทโฟน? และกลุ่มวัยรุ่นจะสามารถใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยได้อย่างไร?

ข้อเสียเยอะกว่าข้อดี

คุณแดนนี เอลาชิ (Dany Elachi) คุณพ่อที่อาศัยอยู่ในซิดนีย์หวังที่จะให้ลูกๆ ของเขาที่มีอายุระหว่าง 5 – 13 ปี อยู่ห่างจากโซเชียลมีเดียให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

คุณเอลาชิและคุณซินเทีย (Cynthia) ภรรยาของเขาร่วมก่อตั้งสมาพันธ์ เฮดส์ อัป (Heads Up Alliance) ชุมชนของครอบครัวในออสเตรเลียที่ประสงค์จะชะลอการใช้โซเชียลมีเดียและการใช้สมาร์ทโฟนของลูกๆ ของพวกเขาจนกว่าจะจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 2 (Year 8)

ลูกๆ ของทั้งสองสามารถใช้เทคโนโลยี เล่นไอแพด (iPad) และมีแล็ปท็อป ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียน แต่ไม่มีสมาร์ทโฟนหรือบัญชีโซเชียลมีเดียของตนเอง
คุณแอนีและคุณซินเทีย เอลาชิ ผู้ก่อตั้งสมาพันธ์เฮดส์ อัป ชุมชนของครอบครัวที่ชะลอการใช้โซเชียลมีเดียและการใช้สมาร์ทโฟนของเด็กๆ
คุณแอนีและคุณซินเทีย เอลาชิ ผู้ก่อตั้งสมาพันธ์เฮดส์ อัป ชุมชนของครอบครัวที่ชะลอการใช้โซเชียลมีเดียและการใช้สมาร์ทโฟนของเด็กๆ Source: Supplied / Dany Elachi
เราไม่คิดว่าประโยชน์ของมันจะมีน้ำหนักมากกว่าข้อเสียที่มีมากมาย
คุณเอลาชิอธิบาย
“โซเชียลมีเดียถูกออกแบบมาให้เสพติดมัน เรารู้ว่ามีผู้ร้ายที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในโซเชียลมีเดีย เรารู้ว่าโซเชียลมีเดียและสมาร์ทโฟนทำให้เด็กๆ หลายคนนอนดึก และด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าเด็กๆ ต้องใช้เวลากับมันมาก เด็กๆ จะไม่ไปทำอย่างอื่น เช่น อ่านหนังสือ หรือสานสัมพันธ์กับครอบครัว”

คุณเอลาชิกล่าวว่า ควรมีการศึกษาเรื่องความปลอดภัยบนโซเชียลมีเดียและความเสี่ยงต่างๆ ในโรงเรียน รวมถึงข้อกำหนดเรื่องอายุที่มากขึ้นในการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ
“เราสนับสนุนเรื่องการศึกษา อันที่จริงเราคิดว่าควรมีการให้ความรู้ในประเด็นเหล่านี้มากขึ้น เพราะนี่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา และเราควรเตรียมพร้อมกับปัญหาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้” คุณเอลาชิกล่าว
เราคิดว่าอายุที่เหมาะสมน่าจะเป็น 15 หรือ 16 ยิ่งรอได้นานเท่าไหร่ ยิ่งดี

โรงเรียนควรแบนมือถือหรือไม่?

ไม่นานมานี้ รัฐบาลระดับมลรัฐทั่วออสเตรเลียเริ่มบังคับใช้การแบนและการจำกัดการใช้สมาร์ทโฟน

ในภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษานี้ รัฐบาลรัฐเซาท์ออสเตรเลียสั่งแบนการใช้โทรศัพท์มือถือในระดับมัธยมปลายทั่วรัฐ เพื่อปรับปรุงสมาธิในห้องเรียน ลดการกลั่นแกล้ง (bullying) และการละเมิด (harassment)

กฎระเบียบที่คล้ายคลึงกันนี้กังคับใช้ในโรงเรียนของรัฐบาล ในรัฐนอร์เทิร์นเทอร์ริทอรีเช่นกัน รัฐวิกตอเรีย รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย รัฐทาสแมเนียเริ่มใช้กฎนี้ตั้งแต่ปี 2020
ผู้สอนและผู้ออกกฎหมายอ้างว่าโทรศัพท์เป็นสิ่งรบกวนสมาธิและทำให้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งและสุขภาพจิตของเด็กนักเรียนแย่ลง

คุณแพทริก โทมัส (Patrick Thomas) ผู้จัดการหน่วยงานให้บริการความรู้เรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ วายเซฟ (ySafe) แห่งรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียกล่าวกับเอสบีเอส นิวส์ ว่าการแบนไม่ใช่กุญแจของการแก้ปัญหาเรื่องโซเชียลมีเดียเสมอไป

“ผมเข้าใจว่าการแบนเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่เราควรพิจารณาถึงบริบททุกครั้ง” คุณโทมัสกล่าว

“มันเป็นเรื่องยากมากในการแบนที่ครอบคลุม และนั่นคือเหตุผลที่ว่าการศึกษาเป็นเรื่องที่ดีมาก เราควรพิจารณาเรื่องการใช้โทรศัพท์ เกมส์ และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย เราควรพิจารณาเรื่องของเขตและการสื่อสารด้วย”
คุณเอลาชิและสมาพันธ์เฮดส์ อัป พยายามรณรงค์เรื่องการจำกัดใช้มือถือตามโรงเรียน โดยให้เด็กนักเรียนสามารถใช้อุปกรณ์เมื่อจำเป็นต่อการเรียน หรือเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องการแพทย์

“สิ่งแรกคือไม่ให้ใช้โทรศัพท์ แต่หากครูผู้สอนบอกว่าจำเป็นต่อการเรียน ไม่มีใครต่อต้านจุดนั้น แต่ในกรณีอื่นๆ เราคิดว่าควรให้อยู่ห่างจากโทรศัพท์และให้พ้นสายตา” คุณเอลาชิกล่าว

แนวคิดหัวรุนแรงและการสมรู้ร่วมคิดอยู่ในโลกโซเชียลมีเดีย

คุณไซมอน คอปแลนด์ (Simon Copland) เพิ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติของออสเตรเลีย (Australian National University) ภาควิชาสังคมวิทยา ที่มุ่งเน้นเรื่องกลุ่มขวาจัดและกลุ่มขวาจัดหัวรุนแรงในโซเชียลมีเดียกล่าวว่า

“โลกออนไลน์เป็นสถานที่ที่ผู้คนมารวมตัวกันและพบปะผู้คนที่พวกเขาอาจไม่พบเจอโดยทั่วไป ดังนั้นหากคุณเป็นวัยรุ่นที่ยังด้อยประสบการณ์ คุณอาจอยู่ในโลกออนไลน์และสามารถหากลุ่มต่างๆ ได้แทบทุกกลุ่ม และคำอธิบายต่างๆ ว่าทำไมคุณต้องเผชิญสิ่งที่คุณกำลังอาจเผชิญอยู่” คุณคอปแลนด์กล่าว

“กลุ่มขวาจัดจะให้ความรู้สึกเหมือนคุณอยู่ในพื้นที่ที่ยินดีต้อนรับคุณ และมีแนวโน้มว่าคุณอาจลงเอยในแหล่งออนไลน์เหล่านั้นมากกว่าที่คุณจะสามารถพบเจอได้ในชีวิตจริง”
ดร. คอปแลนด์กล่าวว่า มีกลุ่มหัวรุนแรงบางกลุ่มและผู้สร้างกลุ่มเหล่านี้ที่มีเด็กวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยที่กลุ่มเด็กวัยรุ่นจะยังไม่เอะใจกับเนื้อหาที่รุนแรง

“ผมคงไม่พูดว่ากลุ่มเด็กวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่เปราะบาง แต่มีกลุ่มหัวรุนแรงขวาจัดบางกลุ่มและกลุ่มอื่นๆ ที่จงใจตั้งเป้าหมายเป็นกลุ่มคนหนุ่มสาว และสามารถทำได้อย่างค่อนข้างฉลาด” ดร. คอปแลนด์อธิบาย

“สิ่งที่เราเห็นคือกระแสของผู้นำกลุ่มเหล่านี้พยายามและรณรงค์กลุ่มขวาจัดให้เป็นกลุ่มก้าวร้าว เป็นพังค์ยุคใหม่ และเป็นสิ่งที่ทันสมัยสิ่งใหม่ และนั่นเป็นสิ่งที่ดึงดูดกลุ่มคนวัยรุ่นได้”

การศึกษาและขอบเขตเป็นสิ่งสำคัญ

เมื่อพูดถึงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มใช้โซเชียลมีเดีย คุณโทมัสกล่าวว่าไม่มีการระบุอายุที่แน่นอน และขึ้นอยู่กับพัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ของเด็กแต่ละคน

“เด็กอายุระหว่าง 10 – 13 ปี บางคนอาจยังไม่สนใจ บางคนอาจมีพัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ที่สูงกว่า มันจึงเป็นพื้นที่เข้าสังคมสำหรับพวกเขา” คุณโทมัสกล่าว
ผมจะไม่แนะนำให้เด็กเล็กใช้มือถือ แต่ผมจะเริ่มให้พวกเขาใช้อุปกรณ์ของครอบครัว
คุณโทมัสกล่าวว่าการให้เด็กๆ ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม มีขอบเขตและมีการสื่อสารที่เหมาะสมตั้งแต่อายุยังน้อยสามารถส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียที่ดีได้

“ยิ่งเราสามารถพูดคุยปัญหาต่างๆ ได้อย่างอิสระที่บ้าน เรายิ่งสามารถลดความเสี่ยงของการอยู่ในโลกออนไลน์และพูดถึงการส่งข้อความเรื่องเพศสัมพันธ์ (sexting) การเปลือยกาย หรือการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (cyberbullying) หรือพฤติกรรมของผู้ร้าย ยิ่งเราพูดถึงเรื่องเหล่านี้อย่างเปิดเผยมากเท่าไหร่ คนวัยรุ่นยิ่งรู้สึกสบายใจมากเท่านั้น” คุณโทมัสอธิบาย

“ขอบเขตและการควบคุมการใช้ก็มีความสำคัญพอๆ กัน”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 2 February 2023 2:47pm
By Jessica Bahr
Presented by Chollada Kromyindee
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand