นายกฯมอร์ริสันยันการลดรับผู้อพยพไม่เกี่ยวกับการเหยียดเชื้อชาติ

NEWS: นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน ประกาศจะลดจำนวนการรับผู้อพยพถาวรประจำปีของออสเตรเลีย โดยคาดว่าจะจำกัดอยู่ที่ 160,000 คน โดยน้อยกว่าเป้าหมายก่อนหน้านี้ 30,000 คน

You can read the full story in English

รัฐบาลสหพันธรัฐเตรียมจะลดจำนวนการรับผู้อพยพย้ายถิ่นถาวรประจำปี โดยนายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน ปฏิเสธว่าความวิตกเกี่ยวกับความคับคั่งของเมืองใหญ่ไม่ได้ถูกผลักดันจากการเหยียดเชื้อชาติ

คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการเปลี่ยนแปลงนี้แล้ว โดยจะตัดลดจำนวนการรับผู้อพยพย้ายถิ่นถาวรประจำปีลง 30,000 คน จากรายงานของ ดิ ออสเตรเลียน

เชื่อว่านายกรัฐมนตรีได้เลื่อนเวลาการประกาศเรื่องนี้ออกไปก่อน หลังเหตุการณ์การโจมตีก่อการร้ายที่เมืองไครเชิร์ช

นับตั้งแต่การโจมตีก่อการร้ายของผู้มีแนวคิดขวาจัดที่สังหารผู้คนไป 50 รายนั้น ผู้นำมุสลิมและพรรคกรีนส์กล่าวหานักการเมืองหัวอนุรักษ์นิยมบางคนว่า ส่งสารแบบมีความหมายแฝงไปยังคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ และโหมกระพือความหวาดกลัวเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพย้ายถิ่น

ในการกล่าวสุนทรพจน์ที่เมลเบิร์นเมื่อวันจันทร์ (18 มี.ค.) นายสกอตต์ มอร์ริสัน ประณามการใช้ความวิตกเรื่องการอพยพย้ายถิ่นมาเป็นข้ออ้างก่อเหตุก่อการร้าย ซึ่งเขากล่าวว่า “เป็นสิ่งที่ต่ำทราม”

“เช่นเดียวกันกับการสนับสนุนการลดจำนวนรับผู้อพยพ ซึ่งมีแรงผลักดันจากความเกลียดชังด้านเชื้อชาติ” นายมอร์ริสัน กล่าวในสุนทรพจน์เมื่อวันจันทร์

เขาเตือนเรื่อง “ความเชื่อเกี่ยวกับเผ่าพันธุ์ที่ไร้เหตุผล” และการปล่อยให้การอภิปรายเรื่องการปกป้องพรมแดนและการอพยพย้ายถิ่น ถูกคน “ฉวยโอกาส” นำไปใช้เป็นเครื่องมือสำหรับแบ่งแยกในสังคม

“เพียงเพราะชาวออสเตรเลียรู้สึกวิตกเกี่ยวกับการจราจรติดขัด และคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในเมืองที่กำลังขยายตัวอย่างเมลเบิร์น ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาต่อต้านการรับผู้อพยพย้ายถิ่น หรือเหยียดเชื้อชาติ” นายมอร์ริสัน กล่าว

แผน “สะกัดความคับคั่ง” ที่ว่านี้ยังจะบังคับให้ผู้อพยพย้ายถิ่นที่มีทักษะการทำงานจำนวนหนึ่งต้องอาศัยอยู่ในเมืองอื่นนอกเหนือจากซิดนีย์และเมลเบิร์นเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี

นอกจากนี้ รัฐบาลจะให้สิ่งจูงใจสำหรับนักเรียนต่างชาติให้ไปเรียนในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในซิดนีย์และเมลเบิร์น โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะลดความแออัดคับคั่งในเมืองใหญ่ทั้งสองแห่ง

รัฐมนตรีบางคนที่เชื่อมโยงผู้ลี้ภัยกับการก่อการร้าย

เมื่อถามว่าความหวาดกลัวคนอื่น ถูกใช้ไปเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือไม่ในรายการโทรทัศน์ คิวแอนด์เอ ของเอบีซี นางลินดา เรย์โนลส์ สมาชิกใหม่ล่าสุดของคณะรัฐมนตรี ดูเหมือนจะเชื่อมโยงเรื่องการขอมารับการรักษาทางการแพทย์ของผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยกับผู้ก่อการร้าย

“สถานการณ์ที่คุณพูดถึงเป็นสิ่งที่ฉันได้ประสบมา เมื่อเดือนที่แล้ว ฉันได้กล่าวสุนทรพจน์ที่อาจจะยากลำบากที่สุดและเป็นส่วนตัวที่สุดเท่าที่ฉันเคยกล่าวในรัฐสภา และนั่นเป็นสุนทรพจน์ตอบโต้ร่างแก้ไขกฎหมายที่พรรคแรงงานเสนอสำหรับกฎหมายด้านการส่งตัวผู้ขอลี้ภัยเข้ามารับการรักษาตัวในออสเตรเลีย หรือเมเดแวก” วุฒิสมาชิกเรย์โนลส์ ตอบ
Assistant Minister for Home Affairs Linda Reynolds at Senate Estimates hearings at Parliament House in Canberra, Tuesday, February 19, 2019. (AAP Image/Mick Tsikas) NO ARCHIVING
Liberal frontbencher Linda Reynolds linked refugees seeking medical treatment in Australia to the Bali bombings. Source: AAP
“ฉันรู้สึกป่วยทางกายอย่างแท้จริง เมื่อได้เห็นเพื่อนร่วมวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฏรในห้องประชุมสภาส่งเสียงโห่ร้องแสดงความยินดีกันกับการผ่านร่างกฎหมายเหล่านั้น เพราะฉันเป็นหนึ่งในไม่กี่คนในห้องประชุมสภาที่มีชีวิตรอดจากการก่อการร้ายและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากเหตุการณ์ระเบิดในบาหลี”

“ฉันอยู่ที่นั่น ฉันได้เห็น ฉันได้กลิ่น และฉันเกิดความเข้าใจในการมองมนุษย์เป็นสินค้า มีคนในชาติเรา และมีคนในต่างประเทศที่ต้องการทำร้ายพวกเรา พวกเขาไม่เคารพในความเห็นอกเห็นใจของเรา และแน่นอนพวกเขาไม่เคารพในวิถีการดำเนินชีวิตของพวกเรา”

เมื่อนายโทนี โจนส์ ผู้ดำเนินรายการ ถามวุฒิสมาชิกเรย์โนลส์ ว่าเธอกำลังชี้ว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างเหตุระเบิดบาหลีกับผู้ขอลี้ภัยที่นาอูรูและเกาะมานัสใช่หรือไม่ เธอกล่าวว่า “สิ่งที่ฉันกำลังพูดถึงคือการที่เพื่อนร่วมสภาส่งเสียงโห่ร้องสนับสนุนนโยบายนี้ ซึ่งในที่สุดแล้วจะนำไปสู่การค้าที่นำผู้ลี้ภัยลงเรือเข้ามาอีกครั้ง”

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ ที่นี่


Share
Published 19 March 2019 11:44am
Updated 19 March 2019 11:50am
By SBS News
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand