ติดคุก เข้าโรงพยาบาล พาสปอร์ตหาย: นี่คือประเทศที่ชาวออสเตรเลียขอความช่วยเหลือมากที่สุด

กระทรวงการต่างประเทศและการค้าเผยข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไหนที่ชาวออสเตรเลียบังเอิญประสบปัญหามากที่สุดเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ

A woman's hand holding an Australian passport.

DFAT เผยข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไหนที่ชาวออสเตรเลียบังเอิญประสบปัญหามากที่สุดเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ Source: Getty / Patrick T Fallon

ประเด็นสำคัญ:
  • กระทรวงการต่างประเทศและการค้าได้เปิดเผย ประเทศที่ชาวออสเตรเลียบังเอิญประสบปัญหามากที่สุดเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ
  • จำนวนชาวออสเตรเลียที่ถูกทำร้ายในต่างประเทศเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับจำนวนชาวออสเตรเลียที่ถูกจับกุม
เคยสงสัยบ้างไหมว่า ประเทศใดที่ชาวออสเตรเลียที่เดินทางไปต่างประเทศแล้วบังเอิญประสบปัญหามากที่สุด?

ในขณะที่ชาวออสเตรเลียเริ่มเดินทางไปต่างประเทศในระดับเดียวกับช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 กระทรวงการต่างประเทศและการค้า (DFAT) เปิดเผยบางคำตอบในประเด็นนี้

รายงาน Consular State of Play ประจำปี 2022-23 แสดงให้เห็น ประเทศที่ชาวออสเตรเลียร้องขอความช่วยเหลือบ่อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเพราะพวกเขาทำหนังสือเดินทางหาย ตื่นขึ้นมาในโรงพยาบาล หรือประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ในปี 2022-23 ศูนย์ให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินด้านกงสุลของ DFAT รับโทรศัพท์ที่ติดต่อเข้ามามากกว่า 48,000 สาย หรือประมาณหนึ่งครั้งทุก ๆ 11 นาที และโดยรวมจำนวนกรณีที่ต้องการความช่วยเหลือด้านกงสุลก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับปี 2021-22

นี่คือบางประเด็นที่สำคัญ
A graphic with a picture of a passport and large text reading "9,200 cases" with a smaller text that says "17% increase in consular cases".
ในปี 2022-2023 DFAT ได้ความช่วยเหลือด้านกงสุลและเหตุฉุกเฉินแก่ชาวออสเตรเลียในต่างประเทศ 9,200 กรณี เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 17 เปอร์เซ็นต์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นฮอตสปอต

เอเชียติดอันดับภูมิภาคที่ชาวออสเตรเลียต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด โดยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นฮอตสปอต (hotspot)

ประเทศจุดหมายปลายทางเพื่อการท่องเที่ยวอย่าง ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ติดอันดับต้น ๆ โดย DFAT ได้ให้ความช่วยเหลือด้านกงสุล 778 กรณีในประเทศไทย 610 กรณีในฟิลิปปินส์ และ 512 กรณีในอินโดนีเซีย
A graphic showing a map of the world and numbers of consular cases in various countries.
จำนวนการขอความช่วยเหลือด้านกงสุลในประเทศ 10 อันดับแรก
อาจไม่น่าแปลกใจ ที่ประเทศจุดหมายปลายทางเพื่อการท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นประเทศที่พบชาวออสเตรเลียที่ป่วยหนักหรือจำเป็นต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล บ่อยที่สุดด้วย
A graphic showing the rates of serious illness and hospitalisations in Indonesia, Thailand and the Philippines.
จำนวนชาวออสเตรเลียที่ป่วยหนักหรือต้องเข้าโรงพยาบาล
และมีชาวออสเตรเลียเสียชีวิตในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเกือบสี่เท่า โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่พบชาวออสเตรเลียไปเสียชีวิตที่นั่นมากที่สุด
A table showing the numbers of Australian deaths in Thailand, the Philippines, Indonesia, Vietnam and the USA.
จำนวนชาวออสเตรเลียที่เสียชีวิตในต่างประเทศ

การถูกจับกุมเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ถึงระดับก่อนเกิดโควิดระบาด

จำนวนชาวออสเตรเลียที่ถูกจับกุมหรือกักกันตัวในสถานกักกันคนเข้าเมืองในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

มีการจับกุมชาวออสเตรเลียในต่างประเทศ 740 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 โดยแค่จีนประเทศเดียวก็มีชาวออสเตรเลียถูกจับกุมที่นั่น 66 ราย
A table showing the number of Australians arrested in China, Thailand, the USA, the Philippines and Singapore.
ชาวออสเตรเลียที่ถูกจับกุมและถูกกักกันตัวในต่างประเทศ
ชาวออสเตรเลีย 58 คนถูกกักกันตัวในสถานกักกันคนเข้าเมืองในสหรัฐอเมริกา มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว
A table showing the number of Australians put into immigration detention in the USA, Thailand, Indonesia, India and Turkiye.
จำนวนชาวออสเตรเลียที่ถูกกักกันตัวในสถานกักกันคนเข้าเมืองในต่างประเทศ
ไม่น่าแปลกใจที่จำนวนผู้ถูกจับกุมและผู้ถูกกักกันในสถานกักกันคนเข้าเมืองลดลงอย่างมากในช่วงโควิด-19 ซึ่งเป็นช่วงที่การเดินทางถูกจำกัดอย่างยิ่ง

ในขณะที่จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 969 ราย แต่ยังคงต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโควิดระบาดอย่างมาก
A line chart showing that the number of Australians arrested overseas has decreased since 2018-19
จำนวนชาวออสเตรเลียที่ถูกจับกุมในต่างประเทศ
จำนวนชาวออสเตรเลียที่ถูกคุมขังในต่างประเทศค่อนข้างคงที่ที่ 318 คน และคงอยู่ในระดับ 300 กว่าคนในช่วงห้าปีที่ผ่านมา

การถูกลักทรัพย์ ถูกทำร้ายร่างกาย และหนังสือเดินทางถูกขโมย

ชาวออสเตรเลียรายงานว่า ทรัพย์สินของตนถูกขโมยในบราซิลมากกว่าประเทศอื่น ๆ โดย DFAT ได้ช่วยเหลือในกรณีถูกลักทรัพย์ 49 กรณี

ตามมาด้วยในอิตาลี 41 กรณี ในฟิลิปปินส์ 9 กรณี ในเวียดนาม 6 กรณี และในแอฟริกาใต้ 6 กรณี
A table showing the number of thefts reported in Brazil, Italy, the Philippines, Vietnam and South Africa.
กรณีการถูกลักทรัพย์ที่ชาวออสเตรเลียในต่างประเทศแจ้งกับ DFAT
ในปีที่ครอบคลุมในรายงานฉบับนี้ DFAT ได้ออกหนังสือเดินทางฉุกเฉินมากกว่า 10,000 เล่ม โดยในจำนวนนั้นมีรายงานว่าสูญหายในต่างประเทศกว่า 2,000 เล่ม และมีรายงานว่าถูกขโมยกว่า 1,500 เล่ม

ประเทศที่มีการรายงานจากชาวออสเตรเลียว่าหนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมยมากที่สุด ได้แก่:
  • สหรัฐอเมริกา: 452
  • อิตาลี: 387
  • สหราชอาณาจักร: 315
  • ฝรั่งเศส: 230
  • สเปน: 203
ในขณะที่หน่วยงานท้องถิ่นดำเนินการสืบสวนทางคดีอาชญากรรม DFAT จะเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือเหยื่อชาวออสเตรเลียที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง

นั่นรวมถึงการช่วยให้พวกเขาแจ้งความคดีอาชญากรรมต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและบริการจิตเวช และเชื่อมโยงพวกเขากับบริการแปลภาษาและบริการทางกฎหมาย

ชาวออสเตรเลียที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรงในต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 54 เมื่อเทียบกับปีก่อน และเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิจิ กรีซ และเกาหลีใต้
A table showing the number of serious assaults on Australians in Thailand, Indonesia, Fiji, Greece and South Korea.
มีชาวออสเตรเลียจำนวนมากขึ้นที่รายงานว่าถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรงในต่างประเทศ
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 5 December 2023 1:56pm
By Finn McHugh
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand