ชาวออสเตรเลียอาจต้องรออีกปีกว่าจะมีวัคซีนต้านโควิด

Australians may have to wait an extra year for COVID-19 vaccine

Prime Minister Scott Morrison speaks with an analytical chemist during a visit to AstraZeneca in Sydney, Wednesday, August 19, 2020 Source: AAP Image/Dan Himbrechts

รัฐมนตรีในรัฐบาลสหพันธรัฐกังวลกรณีการอนุมัติผลิต-จำหน่ายวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 หากผู้พัฒนาวัคซีนชั้นนำ 2 รายไม่ประสบผลสำเร็จ ร่างงบประมาณแผ่นดินคาดชาวออสเตรเลียมีวัคซีนในสิ้นปีหน้า ขณะที่มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมจะยังคงบังคับใช้ต่อไป จนกว่าจะมีวัคซีนที่ประสบผลสำเร็จ


เมื่อช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา การทดลองวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 โดย บริษัท แอสตราเซเนกา และมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในอังกฤษ ได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งในสหรัฐ ฯ หลังถูกระงับชั่วคราวเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ซึ่งหากการทดลองเป็นไปตามคาด วัคซีนต้านไวรัสโคโรนาจำนวน 3.8 ล้านโดส จะสามารถเข้าถึงได้ในช่วงต้นปี 2021
LISTEN TO
Australians may have to wait an extra year for COVID-19 vaccine image

ชาวออสเตรเลียอาจต้องรออีกปีกว่าจะมีวัคซีนต้านโควิด

SBS Thai

26/10/202006:14
นายเกร็ก ฮันท์ (Greg Hunt) รัฐมนตรีสาธารณสุขในรัฐบาลสหพันธรัฐ ได้มองในแง่ดีสำหรับการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสดังกล่าว

เราอยู่ในจุดที่โชคเข้าข้าง เรามีวัคซีนที่มีโปรตีนเป็นพื้นฐานในส่วนของแอสตราเซเนกา ซึ่งยังคงเป็นไปตามแผนในช่วงแรกของการเริ่มต้น” นายฮันท์ กล่าว

แต่ไม่มีสิ่งใดที่ประกันได้ว่า การพัฒนาวัคซีนจะประสบผลสำเร็จ ขณะที่ออสเตรเลียได้ทำข้อตกลงในการรักษาสิทธิ์ในการเข้าถึงและผลิตวัคซีนต้านไวรัสโคโรนา ที่วิจัยและพัฒนาโดยบริษัท CSL และมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ มีผู้ทดลองและพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาจำนวน 165 รายทั่วโลก   

ร่างประมาณแผ่นดินที่ได้มีการเปิดเผยเมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีการคาดการณ์ที่สรุปว่า ออสเตรเลียจะมีโครงการวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาทั่วประเทศ ในช่วงปลายปี 2021 ขณะที่มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมนั้นจะยังคงบังคับใช้ต่อไป จนกว่าการพัฒนาวัคซีนจะประสบผลสำเร็จ
Medical syringe with AstraZeneca company logo displayed
Medical syringe is seen with AstraZeneca company logo displayed on a screen in the background. Source: Sipa USA Rafael Henrique
ในขณะเดียวกัน มีผู้พัฒนาวัคซีนหลายรายทั่วโลกที่ได้เข้าสู่ระยะสุดท้ายของการทดลองแล้ว

รศ.สันจายา เซนานายาเค (Sanjaya Senanayake) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) กล่าวว่า ยังมีความไม่แน่นอนอีกมากรออยู่ข้างหน้า

“เราไม่รู้ว่าวัคซีนชนิดใดจะได้ผล แม้แต่ของบริษัท แอสตราเซเนกา ก็ตาม ตอนนี้การพัฒนาวัคซีนอยู่ในระยะที่ 3 แล้ว แต่เราไม่รู้ว่าในระยะที่ 3 จะแสดงให้เห็นว่าวัคซีนจะได้ผลในท้ายที่สุดหรือไม่” รศ.เซนานายาเค กล่าว

แต่ก็ยังมีวัคซีนอีกชนิดหนึ่งที่กำลังดูมีความหวัง นั่นก็คือ วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA

 "วัคซีน mRNA หรือเมสเซนเจอร์ RNA เป็นวัคซีนชนิดหนึ่ง ที่ไม่มีโปรตีนหรือเชื้อที่ถูกทำให้ตายเป็นส่วนประกอบ แต่เป็นพันธุกรรมโมเลกุลที่ฉีดเข้าไปเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน” รศ.เซนานายาเค กล่าว

แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหพันธรัฐได้เตือนว่า ถ้าวัคซีนชนิดดังกล่าวประสบผลสำเร็จ มันอาจต้องใช้เวลานานกว่าที่จะสามารถผลิตและจัดจำหน่ายได้

นางแคเรน แอนดรูส์ (Karen Andrews) รัฐมนตรีด้านอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กล่าวกับโทรทัศน์เอบีซีว่า อาจต้องใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้กว่าจะมีวัคซีนชนิดนี้ แต่ขั้นตอนต่าง ๆ จะดำเนินไปอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

“ดิฉันหวังว่าเราจะสามารถทำได้สำเร็จได้ในกรอบเวลาเวลาประมาณ 9 – 12 เดือน แต่ดิฉันคิดว่าเราต้องรอบคอบ เนื่องจากวัคซีนชนิดนี้มีตัวแปรหลายชนิด ดังนั้น มันจึงยังไม่ได้รับการรับรองในจุดนี้ เรายังไม่ทราบว่าวัคซีนดังกล่าวจะมีพื้นฐานมาจากอะไร ดังนั้น เราจึงต้องเตรียมความพร้อมในหลายด้าน” นางแอนดรูส์ กล่าว

ด้านพรรคแรงงานได้โต้แย้งว่า รัฐบาลสหพันธรัฐกำลังล้มเหลวในการพิจารณาผู้พัฒนาวัคซีนรายอื่น ๆ จากทั่วโลก 

นายฮันท์ รัฐมนตรีสาธารณสุขในรัฐบาลสหพันรัฐ กล่าวว่า เขากำลังได้รับการสนันสนุน จากการมีส่วนร่วมของออสเตรเลียกับโครงการผลิตวัคซีน COVAX ซึ่งเป็นความร่วมมือในการผลิตวัคซีนจากนานาประเทศ โดยออสเตรเลียได้ลงทุนในโครงการนี้เป็นจำนวนเงิน $120 ล้านดอลลาร์

“เรามีช่องทางในการเข้าถึงวัคซีน นอกจากนั้น เรายังมีโรงงานวัคซีนของ COVAX ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เราสามารถเข้าถึงวัคซีนใดก็ตามที่ประสบผลสำเร็จราว 25.5 ล้านโดส ดังนั้นเราจึงอยู่ในจุดที่มั่นคงในการเริ่มจำหน่ายวัคซีนในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า” นายฮันท์ กล่าว


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand