รัฐผุดโครงการ Everybody's Home หวังแก้ปัญหาวิกฤติที่อยู่อาศัย

Renting

ผู้เชี่ยวชาญเผยหลายพันครัวเรือนทั่วประเทศเผชิญกับความเครียดเรื่องค่าเช่าขั้นรุนแรง และมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นคนไร้บ้าน Source: Getty / Getty Images

Everybody's Home เป็นแคมเปญที่อยู่อาศัยระดับชาติ กำลังมีโครงการใหม่ที่จะเก็บข้อมูลจากหลากความคิดเห็น โดยจะรับฟังเรื่องราวจากผู้เช่า ประชาชนที่เผชิญความยากลำบากในการจ่ายค่าดอกเบี้ยบ้าน และบริการให้ความช่วยเหลือคนไร้บ้าน



กด ▶️ ด้านบนเพื่อฟังรายงานข่าว


ออสเตรเลียกำลังตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤติที่อยู่อาศัยที่เลวร้ายที่สุดเป็นประวัติการณ์ ผู้เชี่ยวชาญเตือนหลายพันครัวเรือนทั่วประเทศเผชิญกับความเครียดเรื่องค่าเช่าขั้นรุนแรง และมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นคนไร้บ้าน

หลายคนต้องนอนบนโซฟาเป็นเวลาหลายเดือน หรือย้ายกลับเข้าไปอยู่กับพ่อแม่ของตนหรือต้องอาศัยในบ้านร่วมกับคนอื่นในวัยสี่สิบ

ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเพียงสถานการณ์บางส่วนที่ผู้คนหลายพันคนกำลังเผชิญในวิกฤตที่อยู่อาศัยที่เลวร้ายที่สุดเป็นประวัติการณ์ของออสเตรเลีย

Everybody's Home เป็นการรณรงค์ระดับชาติที่คิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์นี้โดยเฉพาะ และโครงการนี้กำลังเปิดตัวการไต่สวนครั้งใหม่ที่เรียกว่า คณะกรรมาธิการประชาชนเพื่อแก้ไขวิกฤติที่อยู่อาศัย (People's Commission into the Housing Crisis)

ซึ่งจะรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกในชุมชน ผู้เช่า รวมถึง ผู้ที่มีปัญหาเรื่องจ่ายสินเชื่อจำนองบ้าน และบริการให้ความช่วยเหลือคนไร้บ้าน

Rental
ค่าเช่าพุ่งที่อยู่อาศัยสูงขึ้น 75 เปอร์เซ็นต์นับตั้งแต่ช่วงโควิดเป็นต้นมา Source: SBS

โฆษกของโครงการ Everybody's Home ไมย์ อาซิซ กล่าวว่าจะมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการดังกล่าวขึ้นในเดือนพฤษภาคม ซึ่งใช้ระยะเวลาอย่างน้อยสองวัน การดำเนินงานดังกล่าวมีขึ้นในช่วงเวลาที่คับขันของออสเตรเลีย โฆษก อาซิซ กล่าวว่า

 "ออสเตรเลียอยู่ท่ามกลางวิกฤตที่อยู่อาศัยที่เลวร้ายที่สุดที่เราเคยมี หลายแสนครัวเรือนทั่วประเทศประสบปัญหาความเครียดในการจ่ายค่าเช่า ที่พุ่งสูงขึ้น 75 เปอร์เซ็นต์นับตั้งแต่ช่วงโควิดเป็นต้นมา นี่จึงถือเป็นวิกฤตอย่างแท้จริง"

ราว 640,000 ครัวเรือน มีความเครียดเรื่องนี้มากเพราะพวกเขาเสี่ยงต่อการเป็นคนไร้บ้าน ราคาบ้านเฉลี่ยในเมืองใหญ่ๆ เช่น ซิดนีย์ มีราคาแพงมากจนคุณต้องมีรายได้มากกว่า 200,000 ดอลลาร์จึงจะสามารถกู้ซื้อบ้านได้
โฆษกโครงการ Everybody's Home ไมย์ อาซิซ

การไต่สวนเรื่องวิกฤตที่อยู่อาศัย


 ในอดีตมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องนี้ ในรัฐสภาระดับรัฐ ในรัฐต่างๆ หลายครั้ง แต่คุณคุณ อซิเซ กล่าวว่าครั้งนี้มีสิ่งที่แตกต่างออกไปคือจะมีการนำเสนอประสบการณ์ของผู้คนในชีวิตประจำวันที่ได้รับความเสียหายจากวิกฤตครั้งนี้ คุณไมย์ อาซิซ ชี้ว่า

 "สิ่งที่เราเห็นคือเมื่อรัฐสภามีข้อซักถาม หรือเมื่อรัฐบาลของรัฐต่างๆมีข้อซักถาม พวกเขามุ่งไปที่องค์กรต่างๆ นักวิชาการ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ดีและสำคัญ แต่สิ่งที่ขาดไปคือการรับฟังเรื่องราวจากประชาชนทั่วไปที่ตกอยู่ในวิกฤตการณ์นี้"

"เราได้ฟังเรื่องราวจากหลายร้อยคนที่ส่งเรื่องเข้ามายังคณะกรรมาธิการประชาชน เพราะพวกเขาคือคนที่บอกเราได้ว่าสถานการณ์จริงที่พวกเขาต้องเผชิญเป็นอย่างไร"
โฆษกโครงการ Everybody's Home ไมย์ อาซิซ

อดีตวุฒิสมาชิกของพรรคแรงงานของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ดัก คาเมรอน จะทำหน้าที่เป็นกรรมาธิการร่วมในการไต่สวนร่วมกับศาสตราจารย์ นิโคล เกอรัน ผู้เชี่ยวชาญด้านที่อยู่อาศัยของมหาวิทยาลัยซิดนีย์

อดีตวุฒิสมาชิก คาเมรอนกล่าวว่าที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน

"ควรพิจารณาว่าที่อยู่อาศัยเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ไม่ใช่แค่เพียงพื้นที่สร้างความมั่งคั่งสำหรับผู้ที่สามารถเข้าสู่ตลาดที่อยู่อาศัยได้ และนี่คือปัญหาใหญ่ และถ้าเราไม่หาทางจัดการกับเรื่องนี้ เราจะมีคนที่พยายามเข้าสู่ตลาดที่อยู่อาศัยที่ล้มเหลว"


การสอบสวนโครงการ Everybody's Home เชิญรัฐมนตรีกระทรวงการเคหะและบริการสังคมให้มีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ด้วย โฆษกโครงการ ไมย์ อาซิซ กล่าวว่า พวกเขากำลังเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการนโยบายสำคัญ 2 ประการ

 "สิ่งแรกที่เราต้องการให้รัฐบาลทำคือการเข้ามาจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง และเริ่มจัดหาที่อยู่อาศัย ย้อนกลับไปในอดีตเมื่อครั้งที่อยู่อาศัยยังมีราคาไม่แพงในออสเตรเลีย ประมาณหนึ่งในสามของผู้เช่า เช่าจากรัฐบาล และที่อยู่อาศัยประมาณหนึ่งในสี่ของร่างกฎหมายใหม่ ถูกสร้างโดยรัฐบาล"

" ซึ่งจากการคำนวนณจะเห็นว่าคนส่วนใหญ่เช่าที่อาศัยจากเจ้าของบ้านเช่า ในขณะที่ที่อยู่อาศัยก็แพงขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลก็อยู่เฉยๆไปเรื่อยๆ ซึ่งมันต้องเปลี่ยน"

 

แล้วออสเตรเลียมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?


แห่งมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่า ชาวออสเตรเลียยังคงเผชิญกับความวุ่นวายครั้งใหญ่ในตลาดที่อยู่อาศัย ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ศาสตราจารย์ พอว์สัน อธิบายว่า

 "ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งราคาบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ซึ่งจริงๆ แล้ว ช่วงที่ออสเตรเลียอยู่ในภาวะอัตราเงินเฟ้อทำให้ราคาบ้านค่อนข้างสูงมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ที่น่าสังเกตคือค่าเช่าก็เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50 เช่นกันตั้งแต่เดือนมีนาคม 2520 หรือช่วงเริ่มต้นของโควิด และมันทำให้ผู้คนจำนวนมากตกอยู่ภายใต้แรงกดดันนี้"


ศาสตราจารย์พอว์สันกล่าวต่อไปอีกว่าเงื่อนไขการเช่าที่อยู่อาศัยในออสเตรเลียยังล้าหลังกว่าหลายประเทศทั่วโลก ศาสตราจารย์พอว์สัน กล่าวว่า

 "ไม่ใช่เพียงเพราะในขณะนี้ ผู้คนอาจเผชิญกับการขึ้นค่าเช่าที่สูงมาก แต่มันเป็นเรื่องพื้นฐานมากกว่านั้น เนื่องจากความมั่นคงในการเช่าในภาคเอกชนมีค่อนข้างจำกัดในออสเตรเลีย แม้ว่าจะมีการปรับปรุงในบางรัฐในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา"

เนื่องจากรัฐต่างๆ ตระหนักว่ามีความจำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายการเช่าที่อยู่อาศัย ปัจจัยหลักคือการป้องกันการสิ้นสุดการเช่าโดยไม่มีสาเหตุที่เหมาะสมของเจ้าของบ้าน
ศาสตราจารย์ฮัล พอว์สัน

การกระทำดังกล่าวเรียกว่าการขับไล่โดยไม่มีเหตุผล ซึ่งหมายถึงเมื่อเจ้าของบ้านตัดสินใจยุติการเช่าโดยไม่มีเหตุผล

หลายรัฐได้นำเสนอการปฏิรูปพระราชบัญญัติการเช่าที่อยู่อาศัย โดยกำหนดให้เจ้าของบ้านต้องระบุเหตุผลในการยุติการเช่า และจะสิ้นสุดการเช่าได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับได้

ศาสตราจารย์พอว์สันกล่าวว่าการลดโอกาสที่เจ้าของบ้านสามารถยกเลิกการเช่าได้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้เช่ามากขึ้น ศาสตราจารย์ฮัล พอว์สัน เปิดเผยว่า

 "รัฐต่างๆในออสเตรเลียต่างมีจุดยืนไปในทิศทางนั้น โดยเฉพาะรัฐวิกตอเรีย ในปี2021 พวกเขานำข้อบังคับใหม่มาใช้ ส่วนรัฐนิวเซาท์เวลส์มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในปี 2023 และรัฐบาลใหม่ก็มุ่งมั่นที่จะทำการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายกัน ถึงแม้ว่าตอนนี้ยังไม่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม แต่ก็เชื่อว่าน่าจะมีการปรับปรุงในเรื่องความมั่นคงในการเช่าที่อยู่อาศัยของผู้เช่า"


Renting
การลดโอกาสที่เจ้าของบ้านสามารถยกเลิกการเช่าได้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้เช่ามากขึ้น Credit: Wikimedia

แต่เนื่องจากชาวออสเตรเลียจำนวนมากยังคงต้องดิ้นรนในสถานการณ์นี้ ศาสตราจารย์พอว์สันกล่าวว่าสิ่งที่จำเป็นจริงๆ คือการเพิ่มอุปทานที่อยู่อาศัยให้เช่าราคาไม่แพงสำหรับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมันควรจะเกิดขึ้นตั้งนานแล้ว ศาสตราจารย์พอว์สัน ให้ความเห็นว่า

 "มันเป็นโครงการที่ตั้งต้นมากจาก the Housing Australia future fund ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อสังคมของรัฐบาลสหพันธรัฐ และโครงการริเริ่มการลงทุนด้านที่อยู่อาศัยเพื่อสังคมและราคาไม่แพง ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ มันเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาถึงจะเห็นผล แม้ว่าจะเห็นผลไม่มาก เราก็ต้องทำ ทั้งยืด ทั้งขยายเพื่อตอบโจทย์ของสถานการณ์ที่มันท้าทายในตอนนี้"

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 




Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand