วิธีสังเกตสแกมเมอร์ช่วงยื่นภาษี

Tricked consumers lose record amount to purchase scams

ผู้ที่กำลังจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตทางออนไลน์ Credit: Tim Goode/PA

ช่วงเวลายื่นภาษีใกล้เข้ามา ผู้เชี่ยวชาญเตือนชาวออสเตรเลียระวังสแกมเมอร์ ข้อมูลจากธนาคารคอมมอนเวลท์เผย 24% กำลังตกเป็นเป้าของการหลอกลวงเกี่ยวกับภาษี ขณะที่ 31% ไม่ทราบถึงกลโกงการหลอกลวง


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

ขณะที่ช่วงเวลาของการยื่นภาษีใกล้เข้ามาถึง ผู้เชี่ยวชาญเตือนมิจฉาชีพกำลังใช้โอกาสนี้ฉวยข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงินของชาวออสเตรเลีย

ข้อมูลจากธนาคารคอมมอนเวลท์ (Commonwealth Bank) ชี้ว่า 24% ของชาวออสเตรเลียกำลังตกเป็นเป้าหมายของการหลอกลวงเกี่ยวกับภาษี

คุณเจมส์ โรเบิร์ตส (James Roberts) ผู้จัดการฝ่ายจัดการธุรกรรมฉ้อฉลจากธนาคารคอมมอนเวลท์เผยผลการวิจัยของธนาคารซึ่งระบุว่าหลายคนไม่เข้าใจวิธีระบุกลโกงของสแกมเมอร์
การวิจัยล่าสุดของธนาคารพบว่าประชากร 1 ใน 4 เคยถูกโกงเรื่องเกี่ยวกับภาษี
ขณะที่ชาวออสเตรเลียหลายคนกำลังรอการคืนภาษี สแกมเมอร์ฉวยโอกาสนี้เช่นกัน เราทดสอบผู้ที่ร่วมทดลองในการระบุกลโกงพบว่า 69% สามารถระบุกลโกงได้ แต่น่าเสียดายที่อีก 31% ระบุไม่ได้”
เราจะเตรียมตัวอย่างไร? และกลโกงมีกี่รูปแบบ?

คุณซาแมนทา ยอร์ก (Samantha Yorke) จากองค์กรเพื่อการสื่อสารและสื่อแห่งออสเตรเลีย (Australian Communications and Media Authority หรือ ACMA) กล่าวว่าสแกมเมอร์ช่ำชองมากและเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้สแกมเมอร์สามารถหลบหลีกได้ดี

“ทุกวันนี้นักต้มตุ๋นเป็นเครือข่ายอาชญากรรมที่ช่ำชองมาก คล่องตัวมากในการปรับวิธีที่จะหลบหลีกการปราบปรามตามแพลตฟอร์มต่างๆ พวกเขาใช้ประโยชน์จากช่วงเวลายื่นภาษีนี้เพื่อติดต่อเรา เพราะพวกเขารู้ว่าเราคาดหวังเงินคืนภาษีในเวลานี้”

ACMA ได้เริ่มใช้วิธีกำกับดูแลกับบริษัทโทรคมนาคมในการพยายามตรวจจับและบล็อกสแกมเมอร์ก่อนที่จะสามารถติดต่อกับเหยื่อได้

หากไม่ปฏิบัติตาม อาจต้องโทษปรับสูงถึง $250,000

คุณยอร์กกล่าวว่า สแกมเมอร์มีวิธีเข้าถึงเหยื่อมากมาย และมักพยายามเลียนแบบการติดต่อของหน่วยงานรัฐบาล เช่น myGov และกรมสรรพากรออสเตรเลีย (Australian Taxation Office หรือ ATO)
สิ่งที่เรามักพบคือ โรโบคอล (robocall) หรือสายจากคนที่แอบอ้างว่าโทรมาจากกรมสรรพากร
"โทรมาเพื่อแจ้งหนี้ที่ต้องจ่ายโดยด่วน หรือขอข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อดำเนินการยื่นภาษี การติดต่ออาจเป็นทางอีเมลหรือทางข้อความ ซึ่งมักจะมีลิงค์ให้กด ให้อัปเดตข้อมูลหรือแก้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อรับเงินที่ไม่มีอยู่จริง” 
Hands of anonymous hackers holding credit card
"ทุกวันนี้นักต้มตุ๋นเป็นเครือข่ายอาชญากรรมที่ช่ำชองมาก" Source: Moment RF / boonchai wedmakawand/Getty Images
วิธีการแอบอ้างว่าเป็นพนักงานจากหน่วยงานที่มีชื่อเสียงเพื่อหลอกเหยื่อให้บอกข้อมูลส่วนบุคคลนับเป็นวิธีหลอกลวงที่รู้จักกันดีในนาม ฟิชชิ่ง (phishing)

จากรายงานของศูนย์ต่อต้านการหลอกลวงแห่งชาติ (National Anti-Scam Centre) ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม 2024 ฟิชชิ่งเป็นกลโกงที่มีการรายงานมากที่สุดในออสเตรเลีย ตามด้วยกลโกงเรียกเก็บเงินและการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล

แล้วคุณจะแยกแยกความแตกต่างระหว่างฟิชชิ่งและการติดต่อจากกรมสรรพากรได้อย่างไร?

คุณร็อบ ทอมสัน (Rob Thomson) ผู้ช่วยผู้บัญชาการของกรมสรรพากรแนะนำว่า มีสัญญาณเตือนบางประการที่ควรระวัง

“ข้อแรกคือเราไม่เคยส่งอีเมลหรือข้อความที่มีคิวอาร์โค้ดหรือลิงก์ให้เข้าสู่ระบบทางออนไลน์หรือ myGov ข้อสองคือเราไม่เคยถามรหัสผ่าน (password) หมายเลขบัญชี หรือข้อมูลส่วนตัวของคุณทางอีเมลหรือข้อความหรือทางโทรศัพท์ อีกข้อหนึ่งคือเบอร์โทรศัพท์ของเอทีโอ (ATO) จะขึ้นเป็น no caller ID จะไม่ขึ้นเบอร์โทรศัพท์ และข้อสี่คือเราไม่เคยข่มขู่ว่าจะจับกุมหรือถือสายรอจนกว่าจะชำระเงิน”

รายงานล่าสุดของศูนย์ต่อต้านการหลอกลวงแห่งชาติเผยว่าประชากรออสเตรเลียสูญเงิน $2.74 พันล้านให้กับสแกมในปี 2023 และมีการรายงานกลโกงต่างๆ กว่า 601,000 รายการกับองค์กรตรวจสอบ

แม้จะลดลง 13.1% จากปี 2022 แต่คณะกรรมการการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย (Australian Competition and Consumer Commission หรือ ACCC) ระบุว่ากลุ่มประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปยังคงเสี่ยง และยังเป็นกลุ่มที่สูญเงินให้สแกมเมอร์มากที่สุดทุกปี

คุณแคทรีนา โลว์ (Catriona Lowe) รักษาการประธาน ACCC กล่าวว่ามีหลายสาเหตุ

“ผู้สูงอายุบางรายมีเงินออมจำนวนมาก พวกเขาจึงมักมองหาโอกาสในการออมหรือการลงทุน และพวกเขามักไม่ใช่ชาวดิจิทัล"
บางครั้งพวกเขาไม่คุ้นเคยกับอุบายและกับดักที่สแกมเมอร์ใช้ในการหลอกลวงเหยื่อ
คุณโลว์กล่าว
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันกลโกงแชร์ลูกโซ่

อย่างไรก็ตามคุณโลว์กล่าวว่า ใครก็ตกเป็นเหยื่อการสแกมได้ ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เพราะสแกมเมอร์ใช้จิตวิทยาในการโน้มน้าวเหยื่อ
เราเห็นว่าสแกมเมอร์ช่ำชองมากในการปั่นอารมณ์เหยื่อ ไม่ว่าจะวิธีใช้ความเร่งด่วน ความกลัว หรือความตื่นเต้น นั่นเป็นจุดที่ลืมคำเตือนต่างๆ ไป
คุณโลว์กล่าว
คำแนะนำคือ 3 คำที่ควรจำเพื่อรับมือกับสถานการณ์ หยุด คิด และป้องกัน

“หยุดก่อนที่จะคลิกลิงก์หรือก่อนที่จะโอนเงิน คิด ฉันรู้จริงๆ หรือไม่ว่ากำลังคุยอยู่กับใคร ค้นหาหมายเลขที่โทรมา หาเว็บไซต์และตรวจสอบว่าสิ่งที่ดูเหมือนเป็นโอกาสที่ดีนั้นถูกต้องตามกฎหมาย และป้องกัน เชื่อสัญชาตญาณของคุณ หากรู้สึกว่ามีบางอย่างไม่ถูกต้อง รายงานเรื่องไปยังสถาบันการเงินของคุณหรือ
Tired woman
ผู้หญิงนั่งเครียดหน้าคอมพิวเตอร์ Source: Getty / Getty Images
เมื่อมีใครตกเป็นเหยื่อของสแกมเมอร์ อาจรู้สึกสับสนและอับอาย

คุณโลว์กล่าวว่าไม่ควรโทษตัวเองเพราะเป็นการกระทำของเครือข่าวอาชญากรที่ช่ำชองมาก

“เรารู้ว่าหลายคนมักรู้สึกละอายหรืออับอาย สิ่งสำคัญที่ควรจำคือ หนึ่ง ไม่ได้มีคุณคนเดียว มีอีกหลายคนจากทุกสาขาอาชีพ ทุกวัย ทุกกลุ่มที่ถูกโกงจากสแกมเมอร์ สอง คุณเป็นเหยื่อของอาชญากรทางการเงิน มันเป็นกับดักที่ซับซ้อนและช่ำชอง เช่นเดียวกับอาชญากรรมแบบอื่น มันไม่ใช่ความผิดของเหยื่อ แต่เป็นความผิดของอาชญากร”  

คุณยอร์กจาก ACMA แนะนำว่าควรพูดคุยเรื่องถูกโกงกับคนที่คุณรัก หากกังวลหรือรู้สึกว่าอาจตกเป็นเหยื่อ
สิ่งสำคัญคือพูดถึงเรื่องถูกโกงกับครอบครัวและเพื่อนของคุณ
"หลายคนอาจอายหรือละอายใจที่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวง ยิ่งเราพูดถึงการถูกโกงมากเท่าไหร่ในสังคม เราจะสามารถลดการตีตราเรื่องนี้ได้”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand