คะแนนโหวต No นำโผโพลการลงประชามติ Voice ในสัปดาห์สุดท้าย

Road to Referendum image (SBS).jpg

Source: SBS

ในสัปดาห์สุดท้ายของการรณรงค์ก่อนการลงประชามติ Indigenous Voice to Parliament ซึ่งจะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคมนี้ ประชากรออสเตรเลียจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้รับรองชนพื้นเมืองและจัดตั้งคณะกรรมการของชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสหรือไม่ โพลสำรวจความคิดเห็นเผยจำนวนผู้ที่จะโหวต No เพิ่มขึ้นมาก


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

การลงประชามติเสียงของชนพื้นเมืองสู่สภาหรือ Indigenous Voice to Parliament จะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคมนี้ ประชากรออสเตรเลียจะเป็นผู้ออกเสียงว่าจะสนับสนุน (Yes) หรือไม่สนับสนุน (No) ข้อเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อรับรองชนชาติแรกของออสเตรเลีย โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเสียงชนพื้นเมืองชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส

ในสัปดาห์สุดท้ายของการรณรงค์ โพลสำรวจความคิดเห็นระบุว่าจำนวนผู้สนับสนุนให้ออกเสียง No เพิ่มมากขึ้น

คุณแพท คัลลาแนน (Pat Callanan) จากคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งออสเตรเลีย (Australian Electoral Commission) กล่าวว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันเสาร์นี้เป็นสิ่งสำคัญ

“นี่คืองานใหญ่ของการขนส่งในออสเตรเลีย เป็นงานที่ใหญ่มาก เราเชี่ยวชาญเรื่องนี้ดีเพราะเรามีการเลือกตั้งทุกๆ 3 ปี และการลงประชามติเป็นการทำงานงานที่คล้ายกัน รวมถึงการจัดหาทรัพยากรให้แก่ศูนย์เลือกตั้งและคูหาลงคะแนนเสียงในบริเวณตัวเมืองและแถบภูมิภาค เรายังมีการออกเสียงทางไกลด้วย เราอยู่ทั่วประเทศและทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถออกเสียงได้ รวมถึงชุมชนที่อยู่ห่างไกล ซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างมาก บางครั้งเราต้องใช้เรือ เครื่องบินขนาดเล็ก หรือเฮลิคอปเตอร์เพื่อลำเลียง”
การนับคะแนนจะเริ่มต้นทันทีที่คูหาลงคะแนนปิด คุณคัลลาแนนกล่าวว่ามีโอกาสที่ผลการลงประชามติจะไม่เป็นเอกฉันท์ภายในคืนวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม เนื่องจากต้องรอการออกเสียงของประชาชนที่ลงทะเบียนออกเสียงทางไปรษณีย์อย่างน้อย 1.2 ล้านคน
มันเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาว่าจะเกิดอะไรขึ้น
"แต่ผมสามารถบอกกับผู้ที่รอผลว่าอาจจะยังไม่สามารถสรุปได้ในคืนนั้น เหตุผลเพราะการออกเสียงทางไปรษณีย์จะใช้เวลานานกว่าเล็กน้อย ตามกฎหมายแล้วเราต้องรอเอกสารการออกเสียงทางไปรษณีย์เป็นเวลา 13 วัน”

การลงประชามติที่จะประสบความสำเร็จต้องได้รับ “เสียงข้างมากสองระดับ” นั่นคือได้รับเสียงข้างมากของประชากรในระดับประเทศและเสียงข้างมากในระดับรัฐ

ศาสตราจารย์ แอน ทูมีย์ (Anne Twomey) จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์กล่าวว่าแม้การลงประชามติครั้งนี้จะได้รับเสียงข้างมากสองระดับ แต่ก็ยังคงใช้เวลาหลายปีกว่าที่โครงการว๊อยซ์ (Voice) จะกลายเป็นความจริง

“เรื่องนี้อาจต้องใช้เวลาสักหน่อย อาจจะเป็นปี หรือนานกว่านั้น ฉันคาดว่ารัฐบาลของนายอัลบานีซีจะต้องการที่จะทำให้สำเร็จในช่วงวาระที่เป็นรัฐบาลเพื่อให้แน่ใจว่าได้ดำเนินโครงการนี้ได้เสร็จสิ้น ในอดีตนั้นการจัดตั้งองค์กร เช่น ศาลสูงแห่งออสเตรเลีย ใช้เวลาหลายปีนับตั้งแต่จุดที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีองค์กรเหล่านี้”
Uluru
ธงของชนพื้นเมืองมีอูลูรูอยู่เบื้องหลัง Source: AAP / AAP Image/Lukas Coch
คุณคัลลาแนนกล่าวว่าประชากรออสเตรเลียหลายล้านคนไม่เคยออกเสียงในการลงประชามติมาก่อน และ AEC มีคำตอบเกี่ยวกับกระบวนการนี้
ผมคิดว่า ด้วยความจริงที่ว่าเราไม่มีการลงประชามติมาเป็นเวลานาน มันจึงมีความสับสนและมีคำถามมากมายว่าการลงประชามติแท้จริงแล้วคืออะไร
"หนึ่งในหลายสิ่งที่เราได้เห็นในปีนี้คือคำถามที่ว่าการลงประชามติเป็นเรื่องจำเป็นหรือไม่ คำตอบก็คือใช่ และผลลัพธ์ก็เช่นกัน คุณต้องลงประชามติอีกครั้งเพื่อเปลี่ยนแปลงผลของการลงประชามติก่อนหน้านี้ และการลงประชามติเป็นภาคบังคับด้วย ดังนั้นคุณต้องเข้าร่วมและออกเสียงด้วยวิธีใดก็ได้ มันไม่ได้แตกต่างจากการเลือกตั้งระดับสหพันธรัฐเท่าไหร่”

อย่างไรก็ตาม โพลผลการสำรวจขณะนี้ชี้ว่าฝ่ายที่สนับสนุนให้ออกเสียง No ได้รับเสียงสนับสนุนมากกว่า โพลอย่างเช่นของ Roy Morgan ซึ่งสอบถามประชาชนระหว่างวันที่ 25 – 30 กันยายนเผยผลสำรวจเมื่อวันที่ 5 ตุลาคมระบุว่า 46 เปอร์เซ็นต์จะโหวต No เทียบกับผู้ที่จะโหวต Yes ซึ่งมี 37 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่อีก 17 เปอร์เซ็นต์ยังคงไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะโหวตอย่างไร

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก หรือ


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand