เหตุผลที่วัคซีนโควิดเข็มที่ 4 อาจจำเป็นรับฤดูหนาว

คาดสายพันธุ์ย่อยใหม่ของเชื้อโอมิครอนอาจกลายเป็นสายพันธุ์ระบาดหลักในออสเตรเลียในไม่ช้า นี่คือเหตุผลที่คุณอาจจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกันอีกโดส

A woman receives a COVID-19 vaccine at a pop-up vaccination clinic at the National Centre of Indigenous Excellence in Redfern, Sydney, on 4 September 2021

A woman receives a COVID-19 vaccine at a pop-up vaccination clinic at the National Centre of Indigenous Excellence in Redfern, Sydney, on 4 September, 2021. Source: AAP/Dan Himbrechts

งานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ชี้ว่า วัคซีนต้านโควิด-19 โดสที่ 4  ขณะนั้นดูเหมือนว่าอาจไม่จำเป็นต้องให้ชาวออสเตรเลียทั้งหมดฉีดวัคซีนเข็มที่ 4

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้สถานการณ์กลับเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เช่นเดียวกับความเสี่ยงที่ผันแปรตามไปด้วย

นายแบรด แฮซซาร์ด รัฐมนตรีสาธารณสุขรัฐนิวเซาท์เวลส์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า พบสายพันธุ์ย่อยของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนที่มีชื่อว่า BA.2 ระบาดเพิ่มขึ้นในออสเตรเลีย โดยคาดว่าสายพันธุ์ย่อย BA.2 จะระบาดหนักแซงหน้าเชื้อโอมิครอนในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และจำนวนผู้ติดเชื้ออาจในอีกหกสัปดาห์ข้างหน้า

ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าสายพันธุ์ย่อย BA.2 จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในออสเตรเลียในอีกไม่กี่เดือน

ประมาณการณ์เบื้องต้นชี้ว่า สายพันธุ์ย่อย BA.2 มีอัตราการแพร่เชื้อสูงกว่าโอมิครอน (BA.1) ราวร้อยละ 25-40 และเริ่มระบาดแล้วในบางประเทศ เช่น เดนมาร์ก สวีเดน และสหราชอาณาจักร
กลุ่มที่ปรึกษาด้านเทคนิคเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคแห่งออสเตรเลีย (Australian Technical Advisory Group on Immunisation หรือ ATAGI) ยังไม่มีการออกคำแนะนำให้ประชากรทุกคนฉีดวัคซีนเข็มที่ 4 แต่กลุ่มผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง (severely immunocompromised)

เมื่อพิจารณาประกอบกับงานวิจัยชิ้นใหม่ที่ให้ข้อมูลว่า เราจึงอาจต้องฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่ 4 เพื่อรับมือกับยอดผู้ติดเชื้อที่มีแนวโน้มกลับมาเพิ่มสูงอีกครั้งเมื่อย่างเข้าฤดูหนาว

นี่คือเหตุผลที่วัคซีนเข็มที่ 4 อาจเป็นสิ่งจำเป็น

ภูมิคุ้มกันจากบูสเตอร์เสื่อมลงรวดเร็ว

แม้จะชัดเจนว่าวัคซีนเข็มที่ 3 แต่ที่เพิ่งตีพิมพ์เดือนนี้ในวารสารนิวอิงแลนด์ เจอร์นัล ออฟ เมดิซีน (New England Journal of Medicine) แสดงให้เห็นว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนเข็มที่ 3 เสื่อมลงรวดเร็ว ประสิทธิผลของวัคซีนต่อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนลดลงเหลือประมาณร้อยละ 45 หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 3 ราว 10 สัปดาห์

สาเหตุหลักคือ เชื้อโอมิครอนกลายพันธุ์หลายรูปแบบจนดูแตกต่างจากสายพันธุ์ดั้งเดิมที่เราพัฒนาวัคซีนมารับมือ

เซลล์ภูมิคุ้มกันที่วัคซีนผลิตขึ้นเพียงบางส่วนเท่านั้นที่จัดการโอมิครอนได้อย่างมีประสิทธิผล ดังนั้น ภูมิคุ้มกันของเราจึงเสื่อมไว กล่าวคือ เราสร้างแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ (neutralising antibodies) เพื่อต้านโอมิครอนได้น้อยลง แอนติบอดีชนิดนี้สำคัญต่อการสร้างความคุ้มครองจากการติดเชื้อ

สายพันธุ์ย่อย BA.2 เองก็ไม่ต่างกันเนื่องจากมีการกลายพันธุ์ทั้งที่เหมือนและต่างจากโอมิครอน การศึกษาวิจัย BA.2 อยู่ในช่วงเริ่มต้น เราจึงยังไม่ทราบว่าวัคซีนของเรามีประสิทธิภาพแค่ไหนกับสายพันธุ์ย่อยนี้ แต่เป็นไปได้ว่าประสิทธิผลอาจลดลงเช่นเดียวกับกรณีโอมิครอน BA.1

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเน้นย้ำว่าขณะนี้วัคซีนโควิดสามโดส

ทว่า เมื่อออสเตรเลียเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งปกติเป็นช่วงที่หวัดและไข้หวัดใหญ่ระบาดมากอยู่แล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 มานานเกินสี่เดือนแล้วทำให้ยิ่งเสี่ยงติดเชื้อโควิด การเสริมภูมิคุ้มกันอีกครั้งจึงเป็นเรื่องสมเหตุสมผล

ตอบยากว่าเราเสี่ยงแค่ไหน

เมื่อปี 2021 หน่วยงานด้านสุขภาพประมาณได้ว่าภูมิคุ้มกันของประชากรต่อโควิด-19 อยู่ในระดับไหน มีข้อมูลจำนวนผู้ฉีดวัคซีนครบสองโดสในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ รู้ว่าวัคซีนต้านเชื้อเดลตาได้ดีแค่ไหน และอัตราการติดเชื้อยังต่ำมาก

แต่ตอนนี้ประชาชนนับล้านติดเชื้อในช่วงเวลาต่างกัน บางคนฉีดเข็มที่ 3 แล้ว บางคนยังไม่ได้ฉีด หลายคนอาจเคยติดโควิดแล้วโดยไม่รู้ตัว

การประเมินระดับภูมิคุ้มกันของประชากรจึงเป็นเรื่องยากมาก เช่นเดียวกับประมาณการณ์ว่าออสเตรเลียเสี่ยงแค่ไหนต่อ BA.2 และสายพันธุ์อื่นในอนาคต

ท่ามกลางสภาวะอันไม่แน่นอนนี้ หากให้ชาวออสเตรเลียรับวัคซีนเข็มที่ 4 ย่อมช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ พร้อมทั้งช่วยออสเตรเลียอยู่รอดผ่านพ้นการระบาดของเชื้อ BA.2 ในช่วงฤดูหนาวที่คาดว่าไวรัสหวัดและไข้หวัดใหญ่อื่น ๆ จะกลับมาอีกครั้ง
Omecron
Sub variant, of the Omicron Source: The Guardian

อาจสายเกินรอวัคซีนเฉพาะต้านโอมิครอน

มีหลักฐานสนับสนุนว่า เชื้อสายพันธุ์โอมิครอนจากวัคซีนโควิดในปัจจุบันได้ดี เนื่องจากเชื้อโอมิครอนกลายพันธุ์หลายรูปแบบจนดูแตกต่างจากสายพันธุ์ดั้งเดิมที่เราพัฒนาวัคซีนขึ้นมา

โดยทฤษฎีแล้ว วัคซีนจำเพาะเจาะจงโอมิครอนควรให้ความคุ้มครองได้ดีขึ้น แต่คำถามคือ เทียบกับเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนที่มีในปัจจุบัน วัคซีนเฉพาะโอมิครอนคุ้มครองได้ดีกว่ามากไหม

ไม่มากนัก อีกทั้งกว่าวัคซีนเฉพาะโอมิครอนจะพัฒนาเสร็จพร้อมลงตลาด สายพันธุ์ย่อย BA.2 คงกลายเป็นสายพันธุ์ระบาดหลักแล้ว

แล้วเราจะรับมือไวรัสที่มีความสามารถในการกลายพันธุ์และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้อย่างไร อาจเป็นวัคซีนโควิดที่ครอบคลุมใช้ได้กับทุกสายพันธุ์

วัคซีนเหล่านี้มุ่งเป้าองค์ประกอบของไวรัสที่จำเป็นต่อการติดเชื้อแต่ไม่เปลี่ยนแปลงง่าย (นักวิทยาศาสตร์เรียกองค์ประกอบนี้ว่า “conserved”) เท่ากับว่าวัคซีนนี้น่าจะใช้ได้กับหลากหลายสายพันธุ์ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างพัฒนา

เป็นไปได้ว่าเราอาจได้เห็นรุ่นต้นแบบของวัคซีนเช่นนี้ในอีกสองสามปีข้างหน้า

หนทางต่อจากนี้

ทุกวันนี้ การจัดการโควิด-19 ทวีความซับซ้อนมากขึ้น สถานการณ์ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้าแทบพยากรณ์ไม่ได้ สายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นต่อเนื่องจนประเมินยากว่าเรามีภูมิคุ้มกันโรคนี้ขนาดไหนแล้ว

การติดตามตรวจจับและศึกษาลักษณะของไวรัสสายพันธุ์ใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น เราต้องเข้าใจว่าเชื้อนั้นแพร่กระจายง่ายแค่ไหน มีอาการรุนแรงเพียงใด แล้วปรับยุทธศาสตร์วัคซีนของเราให้สอดคล้องที่สุด เช่นเดียวกับที่เรารับมือไข้หวัดใหญ่อยู่ทุกป

อาจใช้เวลาอีกหลายปี แต่เมื่อเวลาผ่านไปและภูมิคุ้มกันของเราเข้มแข็งขึ้น หวังว่าโควิด-19 จะสงบลงกลายเป็นโรคที่รุนแรงน้อยลง พยากรณ์ได้มากขึ้น เสถียรขึ้นกว่านี้ และบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิผลด้วยวัคซีนและวิธีรักษาใหม่ ๆ ที่ครอบคลุมใช้ได้ทุกสายพันธุ์

เกี่ยวกับผู้เขียน

รศ.ดร.นาธาน บาร์ตเล็ตต์ (Nathan Bartlett) จากคณะชีวเวชศาสตร์และเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล (University of Newcastle's School of Biomedical Sciences and Pharmacy) ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาและรับทุนจากบริษัท ENA Respiratory

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด

หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 17 March 2022 12:55pm
Presented by Phantida Sakulratanacharoen
Source: The Conversation

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand